งานวิจัยเผยเว็บไซต์เผยแพร่เนื้อหาเถื่อนมักมีโฆษณาซ่อนมัลแวร์เอาไว้

Loading

  งานวิจัยใหม่ของ Digital Citizens Alliance, White Bullet และ Unit 221B พบว่าเว็บไซต์เผยแพร่เนื้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ (Piracy Sites) เต็มไปด้วยโฆษณาออนไลน์ที่จะนำมัลแวร์เข้าสู่อุปกรณ์ของผู้ใช้ (Malvertising)   โฆษณาออนไลน์เหล่านี้จะใช้เนื้อหาที่ทำให้ผู้ใช้กลัวหรือล่อลวงผู้ใช้เพื่อให้กดลิงก์ที่มีมัลแวร์ซ่อนอยู่ อาทิ โฆษณาที่ทำให้ดูเหมือนเป็นโปรแกรม Antivirus ที่อ้างว่าอุปกรณ์ของผู้ใช้ติดไวรัสเข้าซะแล้ว หากกดที่ลิงก์ก็จะมีวิธีการแก้ไข แต่จริง ๆ เมื่อกดแล้วจะนำพามัลแวร์เข้าสู่เครื่องแทน ในบางกรณีโฆษณาเหล่านี้ซ่อนมัลแวร์เรียกค่าไถ่เอาไว้ด้วย   มัลแวร์ที่ซ่อนอยู่ในโฆษณาเหล่านี้มีบางชนิดที่สามารถขโมยข้อมูลธนาคารของเหยื่อ บางส่วนก็ติดตั้งสปายแวร์ไว้ในเครื่อง บางตัวก็อาจชี้เป้าอุปกรณ์ให้เป็นเป้าหมายของการโจมตีในอนาคต   งานวิจัยฉบับนี้ยังพบว่าโฆษณาออนไลน์ในรูปแบบนี้กลายเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เจ้าของเว็บไซต์ที่มีโฆษณาประเภทนี้แสดงอยู่สามารถทำเงินได้มากถึง 121 ล้านเหรียญ (ราว 4,500 ล้านบาท)   ในบางเว็บไซต์มีโฆษณาประเภทนี้อยู่ที่ร้อยละ 12 ของโฆษณาทั้งหมด ในขณะที่มีเว็บไซต์เผยแพร่เนื้อหาละเมิดลิขสิทธิ์มากถึงร้อยละ 80 ที่มีการโฆษณารูปแบบนี้ จำนวนโฆษณายังมีมากถึง 321 ล้านตัว   พีเทอร์ ซิสซ์โก (Peter Szyszko) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง White…

รู้จัก “RAT” โจมตีสมาร์ตโฟน-แอปฯ ปลอมหน่วยงานรัฐดูดเงิน

Loading

  รู้จัก “RAT” โจมตีสมาร์ตโฟนทำผู้สูญเงินรวมกันหลายล้านบาท หลังดาวน์โหลดแอปพลิเคชันกรมสรรพากรติดตั้งในสมาร์ตโฟนของตัวเอง ด้านศูนย์ประสานงานรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์ด้านโทรคมนาคม ตรวจพบ มัลแวร์ตัวนี้ตั้งแต่เดือน ส.ค. ระหว่างวิเคราะห์ภัยคุกคามทาง   ทันทีที่เป้าหมายหลงเชื่อ และดาวน์โหลดแอปพลิเคชันที่ชื่อว่า REVENUE.apk จากเว็บไซต์ปลอมของกรมสรรพากรที่ผู้ไม่หวังดีส่งลิงก์มาให้ ลงในโทรศัพท์สมาร์ตโฟนที่เป็นระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ของตัวเอง RAT หรือ Android Remote Access Trojan จะเริ่มขโมยข้อมูลต่าง ๆ ในโทรศัพท์ ทั้งชื่อนามสกุล ข้อมูลหมายเลขบัตรประชาชน หมายเลขโทรศัพท์มือถือ ข้อมูลแอปพลิเคชันเกี่ยวกับธนาคารที่ใช้ในอุปกรณ์เป้าหมาย และรหัสผ่านต่าง ๆ แต่เงินจะหายไปจากบัญชีได้ก็ต่อเมื่อมิจฉาชีพรู้รหัสผ่านจากประวัติการใช้งาน   “พิศุทธิ์ ม่วงสมัย” หัวหน้าฝ่ายเทคนิคศูนย์ประสานงานรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์ด้านโทรคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อเปรียบเทียบหน้าเว็บไซต์ของกรมสรรพากรปลอม กับ เว็บไซต์จริง สิ่งที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด นอกจาก URL หรือ ที่อยู่ คือเว็บไซต์ปลอมจะแนบลิงก์ “คลิกเพื่อดาวน์โหลด” ไว้ที่หน้าแรกให้เป้าหมายดาวน์โหลดแอปฯ ที่เป็นอันตราย โดยแอปฯ จะถูกตั้งชื่อ และ ไอคอน ให้ดูเหมือนเป็นของกรมสรรพากรเช่นกัน  …

โผล่ YouTube แฮ็กเกอร์แอบติดมัลแวร์ ซ่อนลิงก์แจกโปรแกรมโกงเกม

Loading

  เกมในเกมกันเลย หลังมีการพบช่อง YouTube ที่ชอบทำคลิปสอนวิธีใช้โปรแกรมโกงเกม แล้วแจกลิงก์โหลดโปรแกรมดังกล่าวไว้ใต้คลิป (ที่อาจฝังโฆษณาในลิงก์แบบจัดเต็ม) ล่าสุดช่องเหล่านั้น แอบมีแฮ็กเกอร์ปลอมตัวมา เนียนแจกลิงก์โหลดโปรแกรมโกง แต่แท้จริงแล้วคือมัลแวร์ !!   รายงานจาก Kaspersky เผยกลวิธีเผยแพร่มัลแวร์ใหม่ ที่มุ่งเป้าไปที่เกมเมอร์ที่ชอบโหลดโปรแกรมโกงมาใช้ ซึ่งหาได้จากคลิปแนะนำใน YouTube บางช่องนี้เอง ซึ่งมีการกล่าวถึงเกมต่าง ๆ เช่น Final Fantasy XIV, Forza, Lego Star Wars, Rust, Spider-Man, Stray, VRChat, DayZ, F1 22, Farming Simulator และอีกมากมาย   ส่วนกลวิธีนั้น แฮ็กเกอร์จะทำเนียน เปิดช่องทำคลิปแนะนำวิธีใช้โปรแกรมโกงเกม หรือไม่ก็ไปแฮ็กช่องนั้นมาเลย จากนั้นก็ทำการใส่ลิงก์โหลดโปรแกรมดังกล่าวในช่อง Description หรือใต้คลิป YouTube แน่นอนว่าลิงก์โหลดนั้นไม่ใช้โปรแกรมโกงเกม หากแต่เป็น ‘RedLine’ มัลแวร์สุดอันตราย    …

คู่รักเวียดนามแสบ ลบข้อมูลเครือโรงแรมอินเตอร์คอนฯ เอาสนุก

Loading

REUTERS/Evgenia Novozhenina/File Photo   คู่รักเวียดนามแสบ ลบข้อมูลเครือโรงแรมอินเตอร์คอนฯ เอาสนุก   เมื่อวันที่ 17 กันยายน สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า แฮ็กเกอร์ที่ใช้ชื่อว่าทีพี (TeaPea) ซึ่งอ้างว่าเป็นคู่สามี-ภรรยาชาวเวียดนาม ได้ออกมาเปิดเผยกับสำนักข่าวบีบีซีว่า พวกเขาได้ทำการโจมตีทางไซเบอร์ใส่เครือโรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล ซึ่งมีโรงแรมในเครือ เช่น โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์, โรงแรมคราวน์พลาซ่า และโรงแรมรีเจนท์ เหตุเพราะทำเอาสนุก   ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 6 กันยายนที่ผ่านมา บีบีซีรายงานว่า บรรดาลูกค้าของเครือโรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัลพบปัญหาว่าไม่สามารถจองโรงแรม หรือเข้าเช็กอินกับทางโรงแรมในเครือได้ ซึ่งแต่เดิมเครือโรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัลออกมาประกาศผ่านทางสื่อโซเชียลว่า ตอนนี้ระบบคอมพิวเตอร์ของโรงแรมกำลังปิดปรับปรุง แต่ในวันต่อมา โรงแรมได้ออกมายอมรับกับบรรดานักลงทุน ผู้ถือหุ้นโรงแรม ว่าขณะนี้เครือข่ายไซเบอร์ของโรงแรมกำลังถูกแฮก   โดยคู่สามี-ภรรยาชาวเวียดนาม ผู้ก่อเหตุ ได้บอกกับบีบีซีว่า “การโจมตีของเรามีเจตนาเดิมคือต้องการเรียกค่าไถ่ข้อมูล แต่ทีมแอดมินของเครือโรงแรมสามารถปิดเซิร์ฟเวอร์ได้ก่อนที่เราจะทำสำเร็จ เราเลยคิดหาอะไรสนุก ๆ ทำ โดยการลบข้อมูลภายในระบบโรงแรมแทน” โดยผู้ก่อเหตุสามารถเข้าถึงอีเมล์ Outlook, Microsoft Team และเซิร์ฟเวอร์ภายในอื่น ๆ ของทางเครือโรงแรม…

กลโกงใหม่ ส่ง โปรแกรม Office ฟรี แต่ USB ที่ติดตั้ง มีมัลแวร์แถมมาให้

Loading

  สำหรับใครที่รู้ทันกลโกง พวกเขาจะไม่ตกเป็นเป้าหมายของพวก Scammer แต่หากเป็นคนบางกลุ่มอย่างเช่น ผู้สูงอายุ พวกเขาจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะอาจรู้ไม่เท่าทันกลโกงเหล่านี้   กลโกงใหม่นี้เกิดขึ้นในต่างประเทศ โดยมีกลุ่ม Scammer ที่แกล้งทำทีส่งตัวติดตั้ง โปรแกรม Office ฟรี ที่เป็นแท่ง USB ให้กับเหยื่อทางไปรษณีย์ ซึ่งจะพร้อมกล่องที่เหมือนกับ Microsoft Office จริง ๆ รวมทั้งยัง มี Product Key ปลอมเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ   เมื่อทำการเสียบ USB เข้ากับคอมพิวเตอร์ มันจะทำการติดตั้งโปรแกรมควมคุมเครื่องระยะไกลแบบอัตโนมัติ และจะขึ้นแจ้งเตือนว่า เครื่องเหยื่อติดไวรัส และพยายามให้เราติดต่อทีมซัพพอร์ทปลอมของ Microsoft จากเบอร์ที่ขึ้นบนหน้าจอ ซึ่ง ณ จุดนี้ พวกเขาได้เข้าควบคุมเครื่องของเหยื่อเป็นที่เรียบร้อยแล้ว   หากเหยื่อทำการโทรตามเบอร์ที่ขึ้นมา มันจะติดต่อไปยังช่างเทคนิค (ปลอม) ซึ่งจะสอนวิธีแก้ปัญหาให้พวกเขา แต่ก็มีการเรียกเก็บเงินจากการใช้บริการช่วยเหลือเช่นกัน ซึ่งหากจ่ายเงินเสร็จ พวก Scammer ก็แค่ปิดการแจ้งเตือนไวรัสให้ เป็นอันเสร็จ  …

ระวังของปลอม แอป Google Translate ซ่อนมัลแวร์ขุดเหมืองคริปโต

Loading

  คิดว่าหลายคนน่าจะเคยใช้ Google Translate อยู่แล้วเนอะ ซึ่งใน PC เนี่ยมันจะไม่มีแอปที่ไว้โหลดใช้งานในเครื่องได้เหมือนกับ iOS และ Android ครับ หากใครโหลดมาใช้งาน โปรดจงรู้ไว้ว่าแอปนั้นไม่ได้มาจาก Google นะ   ตอนนี้มีข่าวว่า มีเว็บไซต์บางแห่งให้เราสามารถโหลดแอป Google Translate มาติดตั้งในเครื่องได้ฟรี แต่นั่นเป็นส่วนหนึ่งของกลโกงที่ออกแบบมาเพื่อที่จะส่งมัลแวร์มาติดตั้งในเครื่องเรา ทั้งหมดใช้ขั้นตอนมากมายในการซ่อนตัวเองจากโปรโตคอลความปลอดภัยหลายตัวครับ   เรื่องนี้ถูกค้นพบโดยบริษัทด้านความปลอดภัย Checkpoint Research (CRP) ซึ่งได้เผยแพร่รายงานเกี่ยวกับการค้นพบแคมเปญมัลแวร์ขุดเหมือง Crypto ที่ซ่อนอยู่หลังแอปที่ดูถูกไม่เป็นพิษเป็นภัยอย่าง Google Translate โดยโปรแกรมจะดาวน์โหลดมัลแวร์เพิ่มเติมในขณะผู้ใช้ติดตั้งเสร็จครับ   นักวิจัยตรวจพบมัลแวร์จากแฮกเกอร์ชื่อว่า Nitrokod ซึ่งนักพัฒนาชาวตุรกี ที่เขาได้นำโปรแกรมอันตรายเหล่านี้มาปล่อยนบนเว็บไซต์ดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ยอดนิยม เช่น Softpedia และ Uptodown ซึ่งมีการทำเครื่องหมายว่าปลอดภัยเสียด้วย …   โปรแกรมที่แอบซ่อนมัลแวร์ไว้มีมากมายรวมถึง Google Translate เวอร์ชันเดสก์ท็อป, Yandex Translate, Microsoft Translator,…