‘เว็บเบราว์เซอร์’ ช่องโหว่อันตราย ท้าทาย ‘ไซเบอร์ซิเคียวริตี้’ องค์กร

Loading

รายงานวิจัยเรื่อง สถานะความปลอดภัยด้านพนักงาน: ข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญสำหรับผู้นำด้านไอทีและความปลอดภัย โดยพาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์ ร่วมกับ ออมเดีย (Omdia) ระบุว่า ปัจจุบัน 85% ของการทำงานในองค์กรเกิดขึ้นผ่านเว็บเบราว์เซอร์ และองค์กรมากถึง 95% เคยประสบกับการถูกโจมตีผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์

เดนมาร์กคุมเข้ม ปฏิเสธนักวิจัยต่างชาติ หวั่นข้อมูลวิจัยรั่วไหล เสี่ยงถูกจารกรรม

Loading

มหาวิทยาลัยในเดนมาร์ก โดยเฉพาะอารฮุส ซึ่งเป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศ ระบุว่าเหตุผลหลักที่ปฏิเสธนักวิจัยต่างชาติคือ “ความเสี่ยงที่ข้อมูลอ่อนไหวจะรั่วไหลไปยังรัฐบาลต่างชาติ” โดยศาสตราจารย์ Brian Vinter รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ของอารฮุสกล่าวว่า “บางคนอาจไม่มีเจตนาร้าย แต่เมื่อประเมินจากภาพรวมแล้ว เราต้องเลือกป้องกันไว้ก่อน”

Louis Vuitton ในเกาหลีใต้ ข้อมูลลูกค้ารั่ว จากเหตุแฮกเมื่อเดือนมิถุนายน

Loading

เหตุระบบข้อมูลรั่วใน Louis Vuitton แบรนด์หรูในเซิร์ฟเวอร์ที่เกาหลีใต้เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา นำไปสู่การหลุดรั่วของข้อมูลลูกค้าจำนวนมาก ซึ่งมีข้อมูลการติดต่อรวมอยู่ด้วย แต่ทางบริษัทชี้ว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับข้อมูลทางการเงิน

OpenAI แบนบัญชี ChatGPT ที่เชื่อมโยงกับกลุ่มภัยคุกคามไซเบอร์

Loading

OpenAI ได้ประกาศดำเนินการระงับบัญชีผู้ใช้งาน ChatGPT จำนวนมากที่ถูกตรวจพบว่าเชื่อมโยงกับกลุ่มภัยคุกคามที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากรัสเซียและจีน การดำเนินการครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากทีมสืบสวนของ OpenAI ค้นพบว่าบัญชีเหล่านี้ถูกนำไปใช้ในกิจกรรมที่เป็นอันตรายทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นการหลอกลวงด้านการจ้างงาน (employment schemes), การทำ Social Engineering, และการจารกรรมข้อมูลทางไซเบอร์

ออสเตรเลียออกกฎใหม่ องค์กรต้องรายงานการจ่ายค่าไถ่ที่เกิดจากกลุ่มแรนซัมแวร์

Loading

ประเทศออสเตรเลียได้ริเริ่มกฎระเบียบใหม่ว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลการจ่ายค่าไถ่จากแรนซัมแวร์ (ransomware) ซึ่งจะบังคับใช้กับองค์กรที่มีรายได้ต่อปีตั้งแต่ 3 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (ประมาณ 64 ล้านบาท) ขึ้นไป โดยกำหนดให้องค์กรเหล่านี้ต้องรายงานเกี่ยวกับการจ่ายเงินค่าไถ่ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารกับกลุ่มแรนซัมแวร์ ภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากเกิดเหตุการณ์ขึ้น หากฝ่าฝืนอาจต้องรับโทษทางแพ่ง

พบภูมิภาคเอเชียเป็นแหล่งผลิตกลุ่ม APT เพิ่มมากขึ้น และขยายเป้าหมายโจมตีไซเบอร์ไปทั่วโลก

Loading

รายงานกิจกรรมภัยคุกคามไซเบอร์ล่าสุดจากบริษัท ESET เปิดเผยว่ากลุ่มแฮกเกอร์ระดับสูงหรือ APT (Advanced Persistent Threat) ที่มีความเชื่อมโยงกับรัฐบาลจีนและเกาหลีเหนือ มีบทบาทมากขึ้นในเวทีโลก โดยคิดเป็นกว่า 55% ของการโจมตีทั้งหมดในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2024 จนถึงไตรมาสแรกของปี 2025 โดยเป้าหมายหลักยังคงอยู่ที่ยุโรป