ถกจริยธรรมสื่อยุคไซเบอร์ แนะกำหนดมาตรฐาน ควบคุมเนื้อหาล้ำเส้น ‘PDPA’

Loading

  สำนักข่าว The Reporters ร่วมกับ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดเสวนาเครือข่ายความปลอดภัยดิจิทัลป้องกันภัยไซเบอร์ ครั้งที่ 3 ในหัวข้อ ‘ข่าว…สิทธิใคร สื่อกับจริยธรรมในโลก PDPA และไซเบอร์’ โดยมี ดร.ชำนาญ งามมณีอุดม รองผู้จัดการกองทุนฯ, น.ส.มณีรัตน์ กำจรกิจการ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และนายวิรัช หวังปิติพาณิชย์ ทนายความ ร่วมแลกเปลี่ยนประเด็นการรายงานข่าวที่อาจกระทบสิทธิส่วนบุคคลในยุคดิจิทัล     ดร.ชำนาญ กล่าวว่า หลักการของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) คือการปกป้องสิทธิส่วนตัว ซึ่งบางครั้งขัดแย้งกับการทำหน้าที่สื่อ ปัญหาที่พบคือการรายงานข่าวที่ก้าวล้ำพื้นที่ส่วนตัวของบุคคลที่ไม่ใช่สาธารณะมากเกินไป ซึ่งควรได้รับความคุ้มครอง ด้านนายวิรัช ให้ความเห็นทางกฎหมายว่า สื่อไม่ควรระบุตัวตนบุคคลชัดเจนเกินไป แม้อาจลดความน่าสนใจ แต่ข้อมูลในสื่อคงอยู่ยาวนาน อาจส่งผลกระทบในอนาคตได้   ดร.ชำนาญ ระบุว่า กองทุนฯ พบว่าสื่อมีความระมัดระวังมากขึ้นในบางกรณี เช่น เหตุไฟไหม้รถบัส แต่ยังคงมีปัญหาการนำเสนอภาพคลิปจากกล้องหน้ารถหรือเรื่องส่วนตัวอื่น ๆ ซึ่งต้องพิจารณาถึงประโยชน์สาธารณะเทียบกับเรตติ้ง กองทุนฯ พยายามส่งเสริมข่าวคุณภาพ…

ยักษ์ใหญ่คาสิโน-โรงแรม ‘เอ็มจีเอ็ม’ ทั่วสหรัฐฯ ปิดระบบ หลังถูกโจมตีทางไซเบอร์

Loading

บริษัท MGM Resorts International ของสหรัฐฯ ประกาศปิดระบบคอมพิวเตอร์ของคาสิโนและโรงแรมหลายสาขาทั่วประเทศในวันจันทร์ หลังเกิดเหตุการณ์ที่เชื่อว่าเป็น “ประเด็นความมั่นคงทางไซเบอร์” ตามรายงานของสำนักข่าวเอพี

กฎหมายภาษีอากรกับการคุ้มครองข้อมูลของผู้เสียภาษีอากร | กฤษรัตน์ ศรีสว่าง

Loading

ปัจจุบัน ทุกคนมีความเข้าใจและรับรู้เป็นอย่างดีว่าประชาชนแต่ละคน รวมถึงบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล และบุคคลอื่นๆ ที่กฎหมายกำหนดต่างมีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรให้กับรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่จัดเก็บภาษีอากร หน้าที่เสียภาษีอากรจึงเป็นหน้าที่ที่มีความสำคัญต่อบ้านเมือง เนื่องจากรัฐ หน่วยงานของรัฐ รวมถึงรัฐบาล มีความจำเป็นต้องนำรายได้จากการจัดเก็บภาษีอากรไปใช้ในการจัดทำบริการสาธารณะที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนผู้เสียภาษีอันเป็นการบริหารจัดการประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าในทุกด้าน ผู้เสียภาษีอากรทุกคนจึงต้องดำเนินการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีอากรชนิดต่างๆ ที่มีการจัดเก็บในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นต้น ต่อหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่จัดเก็บภาษีอากรตามช่วงระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ซึ่งอาจเสียภาษีอากรเป็นรายปี รายเดือนหรือรายครั้งเมื่อได้รับรายได้แล้วแต่กรณี ผลของการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีอากร ทำให้ผู้เสียภาษีอากรมีความจำเป็นต้องกรอกรายละเอียดข้อมูลส่วนตนไม่ว่าจะเป็นชื่อสกุล อายุ ที่อยู่ บัตรประจำตัวประชาชน เป็นต้น รวมถึงข้อมูลของบุคคลที่สาม เช่น ชื่อสกุลนายจ้าง ชื่อสกุลคู่สมรส ที่อยู่ที่ทำงาน หมายเลขโทรศัพท์ เป็นต้น   (ภาพถ่ายโดย olia danilevich) อีกทั้งยังต้องมีการระบุรายการรายได้หรือเงินได้ รายจ่าย การลดหย่อนและสิทธิประโยชน์ต่างๆ พร้อมทั้งจำนวนเงินของแต่ละรายการดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในการคิดคำนวณภาษีอากรอีกด้วย ข้อมูลในแบบแสดงรายการเสียภาษีอากร เป็นข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เสียภาษีอากร ซึ่งในทางหลักการแล้วข้อมูลเหล่านี้จะต้องได้รับความคุ้มครองให้มีความปลอดภัยและผู้ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลจะต้องดำเนินการใดๆ โดยคำนึงความปลอดภัยของข้อมูลเหล่านี้ด้วยเช่นกัน ในปัจจุบันมีการบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 เป็นการเฉพาะแล้ว อันส่งผลทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลต่างๆ ได้รับความคุ้มครองมากยิ่งขึ้นโดยบทบัญญัติกฎหมาย อย่างไรก็ตาม…