นำป้ายแดงปลอมไปใช้ผิดกฎหมายอาญา จำคุก 6 เดือน – 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท

Loading

  กรมการขนส่งทางบก เตือน นำป้ายแดงปลอมไปใช้ถือว่าผิดกฎหมายอาญา มีโทษถึงขั้นจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน – 5 ปี และมีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 – 100,000 บาท นายเสกสม อัครพันธุ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก และโฆษกกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า กรมการขนส่งทางบกตรวจพบการประกาศขายป้ายแดง พร้อมสมุดคู่มือประจำรถ และประกาศการรับทำป้ายแดงในสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าเป็น “ป้ายแดงปลอม” ที่มิได้ออกโดยกรมการขนส่งทางบก โดยป้ายแดงที่ถูกกฎหมาย กรมการขนส่งทางบกจะออกให้กับบริษัทตัวแทนจำหน่ายรถที่ได้รับใบอนุญาต เพื่อใช้ติดรถและนำรถไปส่งให้ลูกค้า หรือนำรถไปซ่อมแซมเท่านั้น ไม่ใช่ป้ายทะเบียนส่วนบุคคลที่ผู้ใดจะนำไปจำหน่ายต่อหรือผลิตขึ้นเองได้ ดังนั้น จึงขอย้ำเตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อซื้อป้ายแดงที่มีการประกาศขายในสื่อสังคมออนไลน์ดังกล่าว เนื่องจากการนำป้ายแดงปลอมไปติดรถ เจ้าของรถจะมีความผิดฐานใช้เอกสารทางราชการปลอม ตามกฎหมายอาญา มีโทษถึงขั้นจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน – 5 ปี และมีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 – 100,000 บาท ทั้งนี้ เจ้าของรถสามารถสังเกตป้ายแดงที่ออกให้โดยกรมการขนส่งทางบก โดยตัวแผ่นป้ายต้องมีตัวอักษร ขส ลักษณะนูนที่มุมด้านล่างขวา และลายน้ำ ปรากฏในแผ่นป้ายทะเบียนรถ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก…

บังคับใช้แล้ว! มีใบขับขี่ “รถรับจ้างสาธารณะ” ต้องถูกตรวจสอบประวัติอาชญากร

Loading

  กรมการขนส่งทางบกออกระเบียบใหม่ ให้ผู้ที่ขอมีใบขับขี่ และต่ออายุใบขับขี่รถรับจ้างสาธารณะ ทั้งรถยนต์ สามล้อ มอไซค์รับจ้าง ต้องถูกตรวจสอบประวัติอาชญากรจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีผลตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตขับรถและบัตรประจำตัวคนขับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554 ระเบียบฉบับดังกล่าวระบุว่า โดยที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ระบบการเชื่อมโยงฐานข้อมูลทะเบียนประวัติอาชญากรยังไม่สมบูรณ์ ส่งผลกระทบต่อการให้บริการด้านใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ รถยนต์สามล้อสาธารณะและรถจักรยานยนต์สาธารณะเกิดความล่าช้า ดังนั้น เพื่อเป็นการบรรเทาปัญหาความเดือดร้อน และลดผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อประชาชน และเพื่อให้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการขอรับใบอนุญาตขับรถเป็นไปในแนวทางเดียวกัน สมควรปรับปรุงระเบียบดังกล่าวเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อธิบดีกรมการขนส่งทางบก จึงออกระเบียบให้ การขอรับใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อสาธารณะ หรือใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ ให้ดำเนินการตรวจสอบประวัติอาชญากร โดยมีหนังสือตรวจสอบไปยังกองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวมถึงกรณีการต่ออายุใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อสาธารณะ หรือใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ ให้ดำเนินการตรวจสอบประวัติอาชญากร โดยมีหนังสือตรวจสอบไปยังกองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เช่นเดียวกัน สำหรับบรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่มีไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือขัดหรือแย้งกับที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป   —————————————————————————————————————————————————–…