K-pop Deepfake การคุกคามทางเพศไอดอลเกาหลี อาชญากรรมไซเบอร์ที่ใช้ AI เป็นเครื่องมือ

Loading

    ปัจจุบันการคุกคามไอดอลรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการรุกล้ำความเป็นส่วนตัวนอกเหนือเวลางาน ตั้งแต่ไปรับ–ส่งศิลปินถึงสนามบิน จงใจซื้อตั๋วไฟล์ตบินเดียวกัน สะกดรอยตาม ไปจนถึงดักรอศิลปินที่หอพักของพวกเขา หรือแม้แต่การถ่ายรูปไอดอลในเชิงลามก เช่น การพยายามถ่ายใต้กระโปรง หรือการซูมเน้นเฉพาะส่วนบนเรือนร่างของศิลปิน แล้วนำมาเผยแพร่ทางโซเชียลมีเดีย ซึ่งในยุคที่เทคโนโลยีพัฒนาก้าวหน้าขึ้น การเคารพสิทธิส่วนบุคคลกลับถอยหลังลงอย่างไม่น่าเชื่อ และ ‘AI กลายเป็นเครื่องมือในการคุกคาม’   สนองตัณหาทางเพศด้วยการชมหนังโป๊ปลอมของไอดอลคนโปรด   K-pop Deepfake กลายเป็นสื่อโป๊ที่เข้าถึงได้อย่างง่ายดาย หากค้นหาคำว่า ‘Kpop Deepfake’ ใน Google จะพบผลการค้นหาประมาณ 6.87 ล้านรายการ (ข้อมูลวันที่ 5 มิถุนายน 2023) มีทั้งเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นเพื่อ K-pop Deepfake โดยเฉพาะ และเว็บไซต์ Porn อื่นๆ มีการจำแนก K-pop Deepfake เป็นหนึ่งในประเภทคอนเทนต์ลามก รวมถึงมีการจัดหมวดหมู่คลิปโป๊ปลอมของไอดอลหญิงแต่ละคน และจัดอันดับความนิยมในบางเว็บอีกด้วย   ช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา ‘Kpop Deepfake’ ถูกค้นหาอย่างต่อเนื่องใน Google…

สรุป 3 เทรนด์ด้าน Identity and Access Management ปี 2023

Loading

    Identity and Access Management (IAM) คือ หนึ่งในรากฐานสำคัญของการทำ Digital Transformation อย่างมั่นคงปลอดภัย ด้วยความสามารถในการบริหารจัดการ Identity ของผู้ใช้และการควบคุมการเข้าถึงระบบต่างๆ ขององค์กร ทำให้องค์กรสามารถสร้าง Transparency, Trust และ Control บน Digital Journey ของตนเองได้ อย่างไรก็ตาม การมาถึงของระบบ Cloud, Distributed Apps และ Hybrid Workforces ทำให้โซลูชัน IAM จำเป็นต้องปรับตัว เพื่อให้ยังคงจัดการกับ Identity และควบคุมการเข้าถึงได้อย่างมีประสิทธิภาพ   บทความนี้ i-Sprint Innovations ผู้ให้บริการนวัตกรรม Identity, Credential & Access Management ชั้นนำระดับโลก ได้ออกมาเปิดเผยถึง 3 เทรนด์ที่โซลูชัน IAM กำลังจะเดินทางไปในอนาคตอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้…

เปิดสถิติภัยคุกคามแบบออฟไลน์ ปี 65 พบธุรกิจในอาเซียนถูกโจมตี 50 ล้านครั้ง

Loading

    แคสเปอร์สกี้สกัดเหตุโจมตีธุรกิจในอาเซียนเกือบ 50 ล้านครั้งในปี 2565 เป็นโปรแกรมที่เป็นอันตรายซึ่งพบโดยตรงในคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ และอุปกรณ์แบบถอดได้ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ พบไทยถูกโจมตีเป็นอันดับ 3   ข้อมูลล่าสุดจากแคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก แสดงให้เห็นว่าภัยคุกคามทั่วไป (local threat) ที่จ้องโจมตีธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด 49,042,966 ครั้ง ถูกบล็อกโดยโซลูชันสำหรับธุรกิจของแคสเปอร์สกี้ในปีที่ผ่านมา   ภัยคุกคามประเภทนี้แพร่หลายมากขึ้นโจมตีธุรกิจต่างๆ มากที่สุดในอินโดนีเซีย (19,614,418 ครั้ง) เวียดนาม (17,834,312 ครั้ง) และไทย (5,838,460 ครั้ง) ตามด้วยฟิลิปปินส์ (3,841,548 ครั้ง) และสิงคโปร์ (328,844 ครั้ง)     สถิติเหล่านี้เป็นตัวเลขภัยคุกคามทั่วไป เป็นโปรแกรมที่เป็นอันตรายซึ่งพบโดยตรงในคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ และอุปกรณ์แบบถอดได้ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ (แฟลชไดรฟ์ การ์ดหน่วยความจำของกล้อง โทรศัพท์ ฮาร์ดไดรฟ์ภายนอก) รวมถึงโปรแกรมที่เข้าสู่คอมพิวเตอร์ตั้งแต่แรกในรูปแบบที่ไม่ได้เปิดใช้งาน (เช่น โปรแกรมในโปรแกรมติดตั้งที่ซับซ้อน ไฟล์ที่เข้ารหัส เป็นต้น)   แม้ว่าจำนวนภัยคุกคามทั่วไปที่พุ่งเป้าโจมตีธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะสูงกว่าจำนวนการโจมตีทางออนไลน์ที่แคสเปอร์สกี้ตรวจสอบและบล็อกไปในปีที่แล้ว แต่ก็ยังพบว่า…

‘อาชญากรรมไซเบอร์’ ระบาดหนัก ปลุก ’งบฯ ซิเคียวริตี้’ โตสวนศก.โลก

Loading

    ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นทั้งกับธุรกิจขนาดใหญ่ไล่ไปจนถึงกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและเล็ก จึงกลายเป็นภารกิจหลักของผู้บริหารระดับสูงของทุกองค์กร ขณะที่ อาชญากรรมไซเบอร์ใช้เครื่องมือสำเร็จรูปมากขึ้นและผสานการโจมตีหลากหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน   “เพียร์ แซมซัน” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายรายได้ (CRO) บริษัท Hackuity ตั้งข้อสังเกต พร้อมยกคาดการณ์ ที่ระบุว่าภายในปี 2568 ภัยจากอาชญากรรมไซเบอร์ทั่วโลกจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจโลก สูงกว่า 10.5 ล้านล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจาก 3 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อปี 2558   สำหรับปี 2566 นี้ คาดว่า ภัยจากอาชญากรรมไซเบอร์ทั่วโลก น่าจะสร้างความเสียหายประมาณ 8 ล้านล้านดอลลาร์ ตามข้อมูลของ Cybersecurity Ventures บริษัทวิจัยทางการตลาดในสหรัฐอเมริกา และยังระบุอีกว่า ภัยคุกคามต่อความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่พบบ่อย เช่น   -การล่อลวงด้วยฟิชชิง (phishing scams)   -มัลแวร์เรียกค่าไถ่ (ransomware)   -มัลแวร์ (malware)   -การละเมิดข้อมูล และเทคนิควิศวกรรมสังคม…

กลุ่มแฮ็กเกอร์สนับสนุนอาหรับโจมตีเว็บไซต์การท่า

Loading

    เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (26 เมษายน) แฮ็กเกอร์โจมตีเว็บไซต์ของการท่าเรืออิสราเอลด้วยวิธีการ Distributed Denial-of-Service (DDoS) จนล่ม   Anonymous Sudan กลุ่มแฮ็กเกอร์ที่ต่อต้านนโยบายปาเลสไตน์ของอิสราเอลออกมาอ้างความรับผิดชอบต่อการโจมตีในครั้งนี้   กลุ่มดังกล่าวยังอ้างว่าได้โจมตีเว็บไซต์ของกระทรวงสาธารณสุข หน่วยข่าวกรองภายในประเทศ (Shin Bet) สำนักงานหลักทรัพย์อิสราเอล และการท่าของเมืองไฮฟา ด้วย   แต่เว็บไซต์เหล่านี้ยังทำงานได้อย่างเป็นปกติอยู่         ที่มา The Jerusalem Post         —————————————————————————————————————————————— ที่มา :                                 …

‘FanDuel’ สื่อกีฬายักษ์ใหญ่ เตือนแฮ็กเกอร์เจาะระบบข้อมูลลูกค้า

Loading

    เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาเว็บไซต์หนังสือกีฬาและออนไลน์คาสิโนชื่อดังอย่าง “FanDuel” ได้ออกมายอมรับหลังเหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์ได้เจาะระบบ   โดยเป็นระบบของ MailChimp บริษัทที่ใช้บริการด้านมาร์เก็ตตี้งแพลตฟอร์มและอีเมลมาร์เก็ตติ้งเพื่อเข้าไปขโมยข้อมูลของลูกค้าและกลุ่มเป้าหมายที่คาดว่าจะเป็นลูกค้าในอนาคตของ FanDuel   จากการตรวจสอบพบว่า ข้อมูลที่ทางแฮ็กเกอร์ขโมยไปมีเฉพาะ ชื่อ ที่อยู่ และอีเมล เท่านั้น ส่วนข้อมูลเกี่ยวกับรหัสผ่าน ข้อมูลบัญชีทางการเงิน และข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ แฮกเกอร์ยังไม่สามารถโจรกรรมไปได้   แฮ็กเกอร์เหล่านี้จะดำเนินการแฮ็ก โดยเลือกใช้วิธีส่งฟิชชิงอีเมล ไปยังเป้าหมายและพยายามอ้างสิทธิ์เข้าถึงในบัญชี FanDuel ของเจ้าของบัญชีนั้น ๆ ซึ่งเจ้าของบัญชีจำเป็นต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลส่วนตัวเพื่อเข้าไปจัดการแก้ไขระบบ   FanDuel จึงได้ออกประกาศแจ้งเตือนเพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าตื่นตัวและระมัดระวังภัยจาก phishing email โดยแจ้งเตือนไปยังลูกค้าทั้งหมดเพื่อเน้นย้ำว่า FanDuel ไม่มีนโยบายในการส่งอีเมลตรงไปหาลูกค้าเพื่อขอข้อมูลส่วนบุคคลในการแก้ไขปัญหาใด ๆ ทั้งสิ้น พร้อมทั้งแจ้งวิธีที่จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับบัญชีของลูกค้า   ยกตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนรหัสผ่านให้บ่อยครั้งมากยิ่งขึ้น หรือการเปิดฟังก์ชันการใช้งานสำหรับการยืนยันตัวตนแบบหลายปัจจัย หรือ MFA (Multi-Factor Authentication) ผ่านแอปยืนยันตัวตนจะทำให้บัญชีถูกโจรกรรมได้ยากมากยิ่งขึ้น แม้ว่าแฮ็กเกอร์จะสามารถเข้าถึงข้อมูลประจำตัวของลูกค้าได้ก็ตาม   สำหรับข้อมูลลูกค้า FanDuel ที่ถูกโจรกรรมผ่านระบบของ…