เลขา สกมช. ตั้งข้อสังเกตุ หลอกลวงผ่านโซเชียล ทำไมแพลตฟอร์มไม่ช่วยป้องกัน ?

Loading

  SHORT CUT •  เลขา สกมช. ตั้งข้อสงสัย ทำไมแพลตฟอร์มโซเชียล ยอมให้โฆษณาหลอกลวงผ่านการตรวจสอบทั้งที่ในต่างประเทศแพลตฟอร์มเดียวกันกลับมีกฎเกณฑ์ที่ดีกว่า •  ออสเตรเลียเคยฟ้องร้องเป็นตัวอย่างแล้ว ทั้งจากภาครัฐและคนดังที่ถูกแอบอ้าง •  ต่างประเทศมองว่าการที่แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์อนุญาตให้โฆษณาหลอกลวงผ่านการตรวจสอบ เท่ากับว่า แพลตฟอร์มมีส่วนรู้เห็นมาหลอกประชาชน   เลขา สกมช. ตั้งข้อสังเกตุ การหลอกลวงผ่านโซเชียล ทั้งเพจปลอมและการหลอกลงทุน ทำไมแพลตฟอร์มไม่ช่วยป้องกันก่อนเกิดเหตุ ?   พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ตั้งข้อสังเกตุกับผู้สื่อข่าวหลังการแถลงข่าวการลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ยกระดับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางไซเบอร์ และให้ความรู้แก่ประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อภัยออนไลน์ ระหว่าง สกมช. และ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) ถึงกรณีการป้องกันและปราบปรามภัยไซเบอร์จากการหลอกลวงกันทางโซเชียลมีเดีย   พลอากาศตรี อมร ตั้งข้อสังเกตุว่า การป้องกันและปรายปรามการหลอกลวงปัจจุบันทำได้ช้า ใช้เวลาเกือบ 2 สัปดาห์ในการดำเนินการจากฝั่งแพลตฟอร์ม ซึ่งการหลอกลวงเหล่านี้ ทั้งการโฆษณาหลอกลงทุนผ่านสื่อสังคมออนไลน์โดยการใช้รูปคนดัง , การตั้งเพจปลอมที่มีชื่อเหมือนหน่วยงานราชการ เช่น…

ใครว่าเครื่อง Macintosh แฮ็กไม่ได้? แฮ็กเกอร์เริ่มใช้โฆษณาหลอกลวงเพื่อแพร่กระจายมัลแวร์ Stealer เข้า MacOS

Loading

เว็บไซต์ The Hacker News พบว่า ปัจจุบันนั้นกลุ่มแฮ็กเกอร์ได้ค้นพบวิธีการโจมตีเครื่องคอมพิวเตอร์ตระกูล Mac ด้วยวิธีใหม่ ซึ่งเป็นการใช้โฆษณา และเว็บไซต์ปลอม ที่จะทำให้เครื่อง Mac นั้นติดมัลแวร์ขโมยข้อมูล (Stealer)

ดุดันไม่เกรงใจใคร! “ดีอีเอส” ขีดเส้น 1 เดือนจ่อปิด Facebook

Loading

  “ชัยวุฒิ” สับแหลก เฟซบุ๊ก รับเงินเพจปลอมเป็นสปอนเซอร์ยิงแอดโฆษณาหลอกลวงประชาชนถือเป็นรายได้เข้าบริษัท แต่กลับไม่มีการตรวจสอบและสกรีน แม้ที่ผ่านมา ดีอีเอส จะรวบรวมเสนอศาลขอคำสั่งปิด แต่เพจเหล่านี้ก็จะไปเปิดใหม่ เหมือนแมวไล่จับหนู ไม่จบสิ้น”   นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า ดีอีเอส จะดำเนินการฟ้องต่อศาล เพื่อขอคำสั่งปิดกั้นแพลตฟอร์ม เฟซบุ๊ก ไม่ให้บริการในไทย หลังจากที่ผ่านมา เฟซบุ๊ก ได้มีการรับเงินโฆษณาจากเพจปลอมเพื่อเป็นสปอนเซอร์ที่หลอกชักชวนลงทุน จนเกิดความเสียหายต่อคนไทยจำนวนมาก โดยมีมูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาท โดยจากสถิติการหลอกลวงลงทุนผ่านโซเซียลมีเดียกว่า 70% เป็นการหลอกลวงผ่าน เฟซบุ๊ก และจำนวน 90% เป็นการหลอกขายของออนไลน์ผ่านเฟซบุ๊ก   “ที่ผ่านมาเฟซบุ๊กมีการรับเงินจากเพจเหล่านี้ ซึ่งถือเป็นรายได้เข้าบริษัท แต่กลับไม่มีการตรวจสอบ และสกรีน ว่าเป็นเพจที่หลอกลวงหรือไม่ แต่กลับปล่อยให้เพจเหล่านี้มาหลอกลวงคนไทยจำนวนมาก แม้ที่ผ่านมา ดีอีเอส จะรวบรวมเสนอศาลขอคำสั่งปิดแต่เพจเหล่านี้ก็จะไปเปิดใหม่ เหมือนแมวไล่จับหนู ไม่จบสิ้น”     นายชัยวุฒิ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้จะมีการแนะนำให้ผู้เสียหายแจ้งความดำเนินคดีกับแพลตฟอร์มด้วย ทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาด้วย…