ทำไม “อินโดนีเซีย” สั่งแบน “Steam – Epic Games – Paypal”

Loading

กระทรวงการสื่อสารและสารสนเทศของอินโดนีเซีย สั่งแบนผู้ประกอบการธุรกิจอินเทอร์เน็ต อาทิ Steam , Epic Games , PayPal และอีกมากมาย ที่ต้องรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูลลูกค้า จนกว่าจะผ่านกฎหมายใหม่ของประเทศที่ควบคุมด้านเนื้อหา รัฐบาลอินโดนีเซีย บล็อกการเข้าถึงบริการออนไลน์ต่าง ๆ เช่น Steam , Epic Games , PayPal และ Yahoo หลังจากที่บริษัทต่าง ๆ ล้มเหลวในการปฏิบัติตามข้อกำหนดใหม่ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายควบคุมเนื้อหาที่จำกัดของประเทศ เพื่อให้เป็นไปตามกฎ บริษัทที่ถือว่าเป็น “ผู้ให้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์ส่วนตัว” ต้องลงทะเบียนกับฐานข้อมูลของรัฐบาลเพื่อดำเนินการในประเทศ มิฉะนั้นจะถูกแบนทั่วประเทศ อินโดนีเซียให้เวลาบริษัทต่าง ๆ จนถึงวันที่ 27 ก.ค. เพื่อปฏิบัติตามและตั้งแต่นั้นมาก็สั่งห้ามบริษัทที่ยังไม่ได้ดำเนินการ ข้อกำหนดนี้เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายที่ครอบคลุมซึ่งเรียกว่า MR5 ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกในปี 2563 ตามที่ระบุไว้โดยสำนักข่าวรอยเตอร์ กฎหมายดังกล่าวทำให้รัฐบาลชาวอินโดนีเซียสามารถรับข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้เฉพาะราย รวมทั้งบริษัทบังคับให้ลบเนื้อหาที่ “รบกวน” ความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือถือว่าผิดกฎหมาย แพลตฟอร์มมีเวลาสี่ชั่วโมงในการดำเนินการกับคำขอลบ “อย่างเร่งด่วน” หรือ 24 ชั่วโมงในกรณีของเนื้อหาอื่น ๆ รายงานปี…

แบงก์ชาติอินโดนีเซียยอมรับถูกแฮกเกอร์โจมตีระบบ

Loading

  ธนาคารกลางอินโดนีเซียออกแถลงการณ์ในวันพฤหัสบดี (20 ม.ค.) ระบุว่า ธนาคารได้ถูกแฮกเกอร์โจมตีด้วยวิธี ransomware แต่ความเสี่ยงจากการโจมตีดังกล่าวมีไม่มากนัก และไม่กระทบต่อระบบการให้บริการของทางธนาคาร “เราถูกโจมตี แต่ไม่ได้มีผลกระทบมากนัก เนื่องจากเรามีการใช้มาตรการป้องกันล่วงหน้า และที่สำคัญที่สุดคือการให้บริการสาธารณะของธนาคารกลางอินโดนีเซียไม่ได้ถูกกระทบแต่อย่างใด” นายเออร์วิน ฮาร์โยโน โฆษกธนาคารกลางอินโดนีเซีย กล่าว นายเออร์วินกล่าวเสริมว่า การโจมตีดังกล่าวเกิดขึ้นในเดือน ธ.ค.2564 และธนาคารกลางได้ทำการกู้ระบบเรียบร้อยแล้ว DarkTracer ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มตรวจจับความเคลื่อนไหวที่ผิดปกติในระบบออนไลน์ เปิดเผยว่า ธนาคารกลางอินโดนีเซียอยู่ในรายชื่อเป้าหมายของกลุ่มอาชญากรไซเบอร์ที่ใช้ซอฟท์แวร์ที่เรียกว่า Conti ในการโจมตีระบบ DarkTracer ระบุว่า แฮกเกอร์ดังกล่าวจะใช้ซอฟท์แวร์ Conti เข้าโจมตีระบบของเหยื่อ ทำให้ระบบถูกเข้ารหัส และเพื่อแลกกับการถอดรหัส เหยื่อจะต้องจ่ายค่าไถ่เป็นเงินสกุลคริปโทมูลค่าหลายล้านดอลลาร์ ซึ่งหากขัดขืน แฮกเกอร์ก็จะขู่เปิดเผยข้อมูลลับในระบบเพื่อกดดันให้เหยื่อจ่ายเงินค่าไถ่ ก่อนหน้านี้ ธนาคารกลางอินโดนีเซียเคยถูกแฮกเกอร์โจมตีด้วยวิธี DDoS (Distributed Denial of Service) ในปี 2559 แต่เจ้าหน้าที่ระบุว่า ไม่มีการสูญเสียเงินจากการโจมตีดังกล่าว _____________________________________________________________ ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ    /   …

อินโดนีเซียรวบผู้ต้องสงสัย 24 ราย ฐานเอี่ยวระดมทุนให้กลุ่มหัวรุนแรง

Loading

  หน่วยปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้าย Densus 88 ของอินโดนีเซียบุกจับกุมผู้ต้องสงสัย 24 ราย ฐานต้องสงสัยว่าระดมเงินทุนให้กับกลุ่มญะมะอะห์ อิสลามียะห์ (JI) ซึ่งเป็นขบวนการหัวรุนแรงที่เชื่อมโยงกับกลุ่มติดอาวุธอัลกออิดะห์และถูกกล่าวหาเป็นผู้ลงมือก่อเหตุโจมตีครั้งใหญ่หลายครั้งในประเทศ ทั้งนี้ นายอัสวิน ซีเรการ์จากหน่วย Densus 88 ได้กล่าวต่อสื่อมวลชนเมื่อวานนี้ (25 พ.ย.) ว่า ผู้ต้องสงสัยกลุ่มนี้ได้ดำเนินการรวบรวมเงินทุนให้กับกลุ่ม JI ผ่านการใช้มูลนิธิการกุศลอิสลาม 2 แห่งเป็นฉากบังหน้า และปฏิบัติการจับกุมในครั้งนี้จะเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นภาพการระดมทุนของกลุ่มติดอาวุธในอินโดนีเซีย สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า กลุ่ม JI นั้นถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อเหตุระเบิดไนต์คลับ 2 แห่งในบาหลี ซึ่งคร่าชีวิตประชาชนไปกว่า 200 คนรวมถึงชาวออสเตรเลียจำนวนมาก และเหตุโจมตีรุนแรงอื่น ๆ อีกหลายครั้งในกรุงจาการ์ตา ตำรวจอินโดนีเซียเปิดเผยว่า จากข้อมูลรายงานทางการเงินพบว่ามูลนิธิการกุศลทั้ง 2 แห่งสามารถระดมเงินทุนได้ประมาณ 2 ล้านดอลลาร์ แม้ตัวเลขที่แท้จริงอาจสูงกว่านี้ และตำรวจยังสามารถยึดของกลางเป็นเงิน 700,000 ดอลลาร์ได้ที่สำนักงานแห่งหนึ่งของมูลนิธิดังกล่าว     ————————————————————————————————————————————————————— ที่มา :    สำนักข่าวอินโฟเควสท์   …

อินโดนีเซียสังหารหัวหน้ากลุ่มก่อการร้ายมูจาฮิดีนโยงไอเอส

Loading

  ตำรวจอินโดนีเซียเผยว่า สามารถสังหารหัวหน้ากลุ่มก่อการร้ายมูจาฮิดีนอินโดนีเซียตะวันออก (เอ็มไอที) ที่เป็นเครือข่ายกลุ่มรัฐอิสลาม (ไอเอส) ได้ระหว่างการยิงต่อสู้ในป่าของจังหวัดสุลาเวสีกลางเมื่อวันเสาร์ เอเอฟพีรายงานอ้างคำแถลงของตำรวจอินโดนีเซียเมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 กันยายนว่า อาลี คาโลรา หัวหน้ากลุ่มก่อการร้ายมูจาฮิดีนอินโดนีเซียตะวันออก (เอ็มไอที) ถูกยิงเสียชีวิตในป่าของจังหวัดสุลาเวสีกลาง พร้อมกับจากา รามาดาน สมาชิกอีกคนของกลุ่มนี้ รายงานของรอยเตอร์กล่าวว่า อาลีถูกสังหารในปฏิบัติการร่วมระหว่างทหารและตำรวจที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งบนเกาะสุลาเวสีเมื่อบ่ายวันเสาร์ เจ้าหน้าที่ยึดวัตถุระเบิด, ปืนเอ็ม 16 หนึ่งกระบอก และมีดสปาร์ตา 2 เล่ม และพบหลักฐานกิจกรรมก่อการร้ายอย่างอื่น รูดี สุฟาห์รีอาดี ผู้กำกับการตำรวจสุลาเวสีกลาง กล่าวว่า ตำรวจกำลังตามล่าผู้ก่อการร้ายเอ็มไอทีอีก 4 คนที่หลบหนีอยู่ สองเดือนก่อนหน้านี้ เจ้าหน้าที่ความมั่นคงของอินโดนีเซียสังหารผู้ต้องสงสัยสมาชิกกลุ่มนี้ 2 คนที่อำเภอปาริกีมูตงแห่งเดียวกันนี้ ซึ่งอยู่ใกล้กับอำเภอโปโซที่เป็นแหล่งกบดานของเอ็มไอที กลุ่มนี้เป็นหนึ่งในกลุ่มหัวรุนแรงหลายสิบกลุ่มในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ประกาศสามิภักดิ์ต่อกลุ่มรัฐอิสลาม (ไอเอส) และถูกรัฐบาลสหรัฐขึ้นบัญชีเป็นองค์กรก่อการร้าย กลุ่มเอ็มไอทีหลบซ่อนตามป่าบนเกาะสุลาเวสีมาหลายปี แม้เชื่อกันว่าปัจจุบันกลุ่มนี้มีสมาชิกไม่มากนัก แต่พวกเขาถูกกล่าวหาว่าก่อเหตุโจมตีนองเลือดหลายครั้ง รวมถึงการสังหารชาวนา 4 คนในหมู่บ้านห่างไกลเมื่อเดือนพฤษภาคม โดยมีรายงานว่าชาวนาคนหนึ่งโดนตัดศีรษะ อาลี คาโลรา ขึ้นมาเป็นหัวหน้ากลุ่มเอ็มไอที ภายหลังซานโตโซ หัวหน้ากลุ่มคนก่อนซึ่งเป็นคนร้ายที่ทางการอินโดนีเซียต้องการตัวมากที่สุด…

ผวา อินโดฯ จับสมาชิกกลุ่มหัวรุนแรงกว่า 100 ญี่ปุ่นเตือนก่อการร้ายในอาเซียน

Loading

  อินโดนีเซียจับผู้ต้องสงสัยสมาชิกกลุ่มก่อการร้ายเครือข่ายเจไอ และเจเอดี ในประเทศได้กว่า 100 คน ขณะญี่ปุ่นแจ้งเตือนพลเมืองระวังก่อการร้ายในอาเซียน เมื่อ 16 ก.ย. 64 เว็บไซต์เซาท์ไชน่ามอร์นิงโพสต์ รายงานว่า กองกำลังพิเศษป้องกันก่อการร้ายชั้นยอด เดนซัส 88 สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติอินโดนีเซียสามารถจับกุมบุคคลที่ต้องสงสัยเป็นสมาชิกกลุ่มก่อการร้าย ‘เจมาห์ อิสลามิยาห์’ (เจไอ) ได้นับ 123 คน ตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา และยังจับกุมสมาชิกกลุ่มก่อการร้าย ‘เจมาอาห์ อันชารุต เดาเลาะห์’ (เจเอดี) ซึ่งมีกลุ่มรัฐอิสลาม (ไอซิส) เป็นต้นแบบแรงบันดาลใจอีกหลายสิบคน ใน 10 จังหวัดของอินโดนีเซีย ท่ามกลางคำเตือนของกระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่นที่สั่งไปยังสถานทูตญี่ปุ่นประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้แจ้งเตือนพลเมืองชาวญี่ปุ่นที่พำนักอาศัยใน 6 ประเทศในภูมิภาคอาเซียน ระวังความเป็นไปได้ที่อาจเกิดหตุก่อการร้าย เมื่อวันจันทร์ที่ 13 ก.ย. 64 สำนักงานตำรวจแห่งชาติอินโดนีเซีย ประกาศจับกุมสมาชิกกลุ่มเจมาห์ อิสลามิยาห์ ได้อีกกว่า 4 คน ในจำนวนนี้รวมทั้ง นายอาบู รุสดาน วัย 61 ปี…

ระบบเก็บข้อมูลโควิดผู้เดินทางเข้าออกอินโดนีเซียเปิดฐานข้อมูล Elasticsearch ออกอินเทอร์เน็ต ใช้เวลาหนึ่งเดือนจึงปิด

Loading

  ทีมวิจัยจาก vpnMentor พบฐานข้อมูล Elasticsearch ของระบบ eHAC ที่ใช้เก็บข้อมูลโควิดสำหรับผู้เดินทางเข้าออกจากอินโดนีเซีย เปิดสู่อินเทอร์เน็ตโดยไม่มีการป้องกัน รวมฐานข้อมูล 1.4 ล้านชุดกระทบคนประมาณ 1.3 ล้านคน ข้อมูลประกอบไปด้วยข้อมูลระบุตัวตน เช่น ชื่อ, หมายเลขประจำตัว, หมายเลขโทรศัพท์, เพศ, วันเกิด, ภาพหนังสือเดินทาง, ข้อมูลโรงแรมที่เข้าพัก, โรงพยาบาลที่ตรวจโควิด, ผลการตรวจ ทาง vpnMentor พบฐานข้อมูลนี้ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคมที่ผ่านมา และพยายามติดต่อกระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซียแต่ไม่สำเร็จ จึงแจ้งไปยัง Indonesian CERT และกูเกิลผู้ให้บริการคลาวด์ สุดท้ายทางกระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซียจึงปิดฐานข้อมูลนี้ในวันที่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมา ที่มา – vpnMentor   ——————————————————————————————————————————————– ที่มา : blognone  โดย lew’s blog   / วันที่ 31 ส.ค.2564 Link :…