WhatsApp จะไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมายสหราชอาณาจักรที่จะลดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้

Loading

  ผู้บริหาร WhatsApp ไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายด้านความปลอดภัยของสหราชอาณาจักรที่บริษัทมองว่าจะกระทบความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน   ร่างกฎหมายความปลอดภัยออนไลน์ (Online Safety Bill) มีเนื้อหาที่ระบุว่าเจ้าของแพลตฟอร์มการสนทนาจะต้องสามารถเข้าดูเพื่อกรองเนื้อหาการสนทนาของผู้ใช้บนแพลตฟอร์มได้ ผู้ใช้ก็จะเสียความเป็นส่วนตัวไป   ซึ่งหาก WhatsApp ยอมปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้ หมายความว่าต้องมีการนำวิธีการเข้ารหัสแบบ 2 ฝั่ง (E2EE) ที่เป็นเครื่องมือปกป้องความเป็นส่วนตัวระหว่างผู้สนทนาออกไป   วิล แคตคาร์ต (Will Cathcart) ผู้บริหาร WhatsApp ชี้ว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการลดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้สำหรับเพียงประเทศใดประเทศหนึ่ง ที่จะกระทบผู้ใช้ส่วนอื่นของโลกด้วย   แคตคาร์ตอยู่ระหว่างการเดินทางเยือนสหราชอาณาจักร เพื่อเสนอการแก้เนื้อหาของร่างกฎหมายดังกล่าวกับฝ่ายนิติบัญญัติ   แคตคาร์ตชี้ว่าบางประเทศแก้ปัญหาด้วยการปิดกั้นไม่ให้ใช้งานแพลตฟอร์มที่ไม่ยอมทำตามกฎหมายในลักษณะนี้ ตัวยกตัวอย่างอิหร่าน   “เราไม่เคยเห็นว่ามีประเทศประชาธิปไตยเสรีนิยมที่ทำแบบนั้น” แคตคาร์ตระบุ     ที่มา Silicon Republic       ————————————————————————————————————————- ที่มา :             …

รัฐมนตรีสหราชอาณาจักรชี้บริษัทจีนที่ได้สัมปทานจากรัฐบาลเคยโจมตีไซเบอร์ต่อประเทศ

Loading

  จอร์จ ฟรีแมน (George Freeman) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมของสหราชอาณาจักร (DSIT) ชี้ว่าบริษัทจีนที่ได้รับสัมปทานด้านโควิดของรัฐเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการโจมตีทางไซเบอร์ต่อบริการสุขภาพแห่งชาติ (NHS)   บริษัทนี้มีชื่อว่า BGI Group ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐระบุว่าเป็นผู้แฮ็ก Genomics England โครงการข้อมูลคนไข้ของกระทรวงสาธารณสุข (DHSC) เมื่อปี 2014   BGI Genomics ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ BGI Group สามารถชนะการประมูลสัญญาการทดสอบโควิดมูลค่า 11 ล้านปอนด์ (ราว 457 ล้านบาท) จากรัฐบาลสหราชอาณาจักร ได้เมื่อปี 2021   ก่อนหน้านี้สมาชิกรัฐสภาเคยขอให้รัฐบาลยุติการทำงานร่วมกับบริษัทดังกล่าว โดยให้เหตุผลด้านความมั่นคง   ด้าน BGI Group ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว โดยระบุว่าบริษัทไม่เคยและไม่มีทางที่จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการแฮ็กใครก็ตาม และย้ำว่าบริษัทไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐบาลจีน   ห้องทดลองที่อยู่ในสหราชอาณาจักรก็มีเซิร์ฟเวอร์เป็นของตัวเอง ไม่เคยส่งข้อมูลออกไปนอกประเทศ   ก่อนหน้านี้ สหรัฐอเมริกาก็ออกมาขึ้นบัญชีดำบริษัทนี้ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคงเกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูลพันธุกรรม   ที่มา…

อดีตรปภ.สถานทูตอังกฤษในเยอรมนีรับโทษคุก 13 ปี ฐานเป็นจารชนให้รัสเซีย

Loading

  ศาลของสหราชอาณาจักรตัดสิน ให้อดีตเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำสถานเอกอัครราชทูตในกรุงเบอร์ลิน รับโทษจำคุกนานประมาณ 13 ปี จากความผิดฐานจารกรรมข้อมูลลับให้รัสเซีย   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 17 ก.พ. ว่า ศาลกรุงลอนดอนมีคำพิพากษา เมื่อวันศุกร์ ให้นายเดวิด บัลแลนทีน สมิธ อดีตเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำสถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำกรุงเบอร์ลิน รับโทษจำคุกเป็นเวลา 13 ปี กับอีก 2 เดือน ฐานจารกรรมข้อมูลให้กับรัสเซีย   British embassy spy David Smith jailed for 13 years and two months for passing secret information to Russia https://t.co/eIRAEhunbC — BBC Breaking News (@BBCBreaking) February 17, 2023…

เดินตามสหรัฐฯ! ส.ส.อังกฤษแนะประชาชนเลิกเล่น TikTok อ้างเป็นภัยความมั่นคง

Loading

ประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎรอังกฤษ แนะนำประชาชนเมื่อวันอาทิตย์ (5 ก.พ.) อย่าใช้แอปพลิเคชันวิดีโอสั้น TikTok สื่อสังคมออนไลน์ของจีน สืบเนื่องจากความกังวลด้านความปลอดภัยของข้อมูล ความเคลื่อนไหวนี้ มีขึ้นหลังจากปลายเดือนที่แล้ว จอห์น ฮอว์ลีย์ วุฒิสภาสหรัฐฯ จากรีพับลิกัน เปิดเผยว่า เขาจะนำเสนอร่างกฎหมายฉบับหนึ่งซึ่งจะแบนแอปพลิเคชันวิดีโอสั้น TikTok จากการใช้งานในสหรัฐฯ กล่าวหาเป็นภัยความมั่นคงและส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของเด็ก ๆ อลิเซีย เคียร์นส์ รองหัวหน้าพรรคคอนเซอร์เวทีฟ ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการกิจการต่างประเทศสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวสกายนิวส์ ว่า “มีเหตุผลหนึ่งว่าทำไมจะต้องมีแอปนี้ ข้อมูลของเรามีช่องโหว่ และจีนกำลังสร้างรัฐเผด็จการเทคโนโลยี ฉวยประโยชน์จากข้อมูลของเรา ดังนั้น เราจำเป็นต้องจริงจังเกี่ยวกับการปกป้องตัวเราเองให้มากกว่าที่เป็นอยู่อย่างมาก” ในการกล่าวอ้างถึงความจำเป็นที่ต้องจริงจังในเรื่องนี้ เคียร์นส์ พูดพาดพิงเหตุการณ์เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่สหรัฐฯ ยิงร่วงบอลลูนจีนลูกหนึ่งนอกชายฝั่งแอตแลนติก ในขณะที่จีนปฏิเสธคำกล่าวหาของอเมริกาที่ระบุว่ามันถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์จารกรรม เคียร์นส์ บอกว่าความกังวลใหญ่หลวงที่สุดคือ “การเจาะข้อมูล” ผ่านบริษัทจีน และแนวทางที่ปักกิ่งจะใช้ข้อมูลเหล่านี้ข่มขู่ “บุคคลที่ต้องการลี้ภัยในสหราชอาณาจักรและทั่วโลก” เมื่อถูกถามว่าประชาชนควรลบ TikTok ออกจากโทรศัพท์มือถือของตนเองหรือไม่ เธอตอบว่า “ไม่มีข้อสงสัยเลย มันไม่คุ้มค่ากับการมีช่องโหว่บนโทรศัพท์มือถือของคุณ” ทั้งนี้ เคียร์นส์…

ไปรษณีย์สหราชอาณาจักรถูกแฮ็ก ส่งพัสดุข้ามประเทศไม่ได้

Loading

Royal Mail หรือไปรษณีย์สหราชอาณาจักรพบ “เหตุการณ์ทางไซเบอร์” (cyber incident) โดยไม่บอกรายละเอียดเพิ่มเติมว่าเกิดเหตุอะไร แต่ระบบที่ได้รับผลกระทบหนักคือระบบส่งไปรษณีย์ข้ามประเทศส่งผลให้ไม่สามารถส่งพัสดุออกนอกประเทศได้ในช่วงนี้ และแนะนำให้ลูกค้าที่ต้องการส่งพัสดุให้รอไว้ก่อน ส่วนจดหมายและพัสดุในประเทศยังให้บริการได้แต่จะมีความล่าช้าบ้าง   ทางโฆษก Royal Mail ระบุว่ากำลังสอบสวนเหตุการณ์ครั้งนี้ และขอความช่วยเหลือผู้เชี่ยวชาญภายนอกรวมถึงแจ้งหน่วยงานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แล้ว   โดยปกติ Royal Mail รับส่งพัสดุออกนอกประเทศเฉลี่ยวันละ 200,000 รายการ แต่จดหมายและพัสดุในประเทศนั้นปริมาณสูงกว่ามาก     ที่มา – BBC       ———————————————————————————————————————————————————————————————– ที่มา :             Blognone            / วันที่เผยเเพร่ 11 ม.ค. 2566 Link : https://www.blognone.com/node/132219

อังกฤษเตรียมยิงดาวเทียมเองเป็นครั้งแรก อาจเพิ่มศักยภาพในทางทหาร

Loading

นักวิเคราะห์ประเมินว่า ระบบการยิงจรวดด้วยอากาศยานที่จะใช้ในการปล่อยดาวเทียมภายในประเทศครั้งแรกของอังกฤษ จะสามารถเพิ่มความสามารถทางทหารในการตอบสนองอย่างรวดเร็วที่สามารถกระจายไปทั่วโลกเพื่อให้มีดวงตาพิเศษในอวกาศในยามสงคราม   เวอร์จิน ออร์บิท (VORB) ซึ่งถือหุ้นบางส่วนโดยมหาเศรษฐี ริชาร์ด แบรนสัน วางแผนที่จะปล่อยดาวเทียมเก้าดวงจากจรวด Launcher One ที่ติดอยู่ใต้ปีกของเครื่องบินโบอิ้ง 747 ที่ดัดแปลงใหม่ที่จะบินจากท่าอากาศยานแห่งใหม่ในคอร์นวอลล์ในวันจันทร์     หากเป็นไปตามแผน มันจะเป็นครั้งแรกที่ดาวเทียมถูกยิงขึ้นสู่อวกาศจากดินเเดนยุโรปตะวันตก ขณะนี้บริษัทต่างๆ เช่น Space Forge กำลังพัฒนาการผลิตแบบ in-orbit ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การใช้งานเชิงพาณิชย์ของบริษัทต่างๆ แต่หลายคนยังมองว่าการปล่อยดาวเทียมดังกล่าวเป็นต้นแบบสำหรับการปล่อยดาวเทียมเพื่อวัตถุประสงค์ทางทหารเชิงยุทธวิธีได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งนักวางแผนเรียกว่า “การปล่อยดาวเทียมแบบตอบสนอง” (Responsive Launch)   Dan Hart ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเวอร์จิ้น ออร์บิท กล่าวในการแถลงข่าวเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาว่า ‘เหตุการณ์ในยูเครนปลุกโลกขึ้นมาในหลายๆ ด้าน เห็นได้ชัดว่า มีความหวังที่จะได้ความร่วมมือจากทั่วยุโรปและสหรัฐอเมริกา และเราจะมีการตอบสนองเพื่อที่ว่าถ้ามีอะไรเกิดขึ้นในโลก เราจะได้มีทรัพยากรที่นั่นทันที’     เวอร์จิ้น ออร์บิท เปิดเผยเมื่อปีที่แล้วว่า กองทัพอากาศสหราชอาณาจักรได้ทำการฝึกซ้อมเพื่อประเมินระบบการส่งจรวดรูปแบบดังกล่าว สหราชอาณาจักรมีการริเริ่มกิจกรรมการปล่อยยานอวกาศตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 1960 แต่ในต้นทศวรรษ 1970 จรวดแบล็กแอร์โรว์ถูกยกเลิกหลังจากปฏิบัติภารกิจสำเร็จเพียงแค่ครั้งเดียว…