แฮกเกอร์ ล้วงข้อมูลอุตสาหกรรมเดินเรืออย่างไร

Loading

การเจาะระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบริษัทเดินเรือ อาจเปิดโอกาสให้แฮกเกอร์ เข้าถึงข้อมูลที่อ่อนไหวได้หลากหลาย   ตอนที่พนักงานของบริษัท CyerKeel เข้าไปตรวจสอบอีเมลสื่อสารของบริษัทเดินเรือขนาดกลางแห่งหนึ่งก็ต้องพบกับความประหลาดใจ เพราะข้อมูลที่ได้นั้นไม่ธรรมดาเลย นายลาร์ส เจนเซน ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท CyberKeel เล่าว่าสิ่งที่พบจากการตรวจสอบข้อมูลการรับส่งอีเมล์ของบริษัทเดินเรือแห่งนี้ก็คือ “มีคนเจาะเข้าไปในระบบของบริษัท และฝังไวรัสขนาดเล็กเอาไว้ เพื่อล้วงข้อมูลที่ส่งเข้าและออกจากแผนกบัญชี” มัลแวร์เรียกค่าไถ่ลามถึงอินเดีย มัลแวร์เรียกค่าไถ่โจมตี 99 ประเทศทั่วโลก ส่องเทคโนโลยีปี 2560 : ธนาคารใหญ่จะพ่ายโจรไซเบอร์ ทุกครั้งที่บริษัทส่งน้ำมันส่งอีเมล์มาเรียกเก็บเงินจากบริษัทเดินเรือ ไวรัสจะเข้าไปเปลี่ยนตัวหนังสือในข้อความ ก่อนที่ทางบริษัทเดินเรือจะเปิดอีเมล์นั้น ๆ โดยจะใส่หมายเลขบัญชีใหม่เข้าไป ทำให้ “เงินหลายล้านดอลลาร์” ถูกโอนเข้าบัญชีของแฮกเกอร์ หลังเกิดการโจมตีทางไซเบอร์จากมัลแวร์ NotPetya เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา บริษัทเดินเรือขนาดใหญ่หลายราย รวมถึง Maersk ได้รับผลกระทบอย่างหนัก และทางบริษัทเพิ่งเปิดเผยในสัปดาห์นี้ว่าอาจทำให้ต้องขาดทุนกำไรถึง 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (1 หมื่นล้านบาท) นายเจนเซน มองว่าอุตสาหกรรมผู้ให้บริการขนส่งทางเรือ จำเป็นต้องมีมาตรการที่ดีกว่านี้ในการปกป้องระบบของตนจากการถูกล้วงข้อมูล โดยเขาและนายมอร์เทน เชนค์ อดีตนายทหารในกองทัพเดนมาร์ก ซึ่งเขายกให้ว่า “เป็นคนที่แฮกได้แทบจะทุกอย่าง” ร่วมกันก่อตั้งบริษัทให้บริการตรวจสอบความปลอดภัยในด้านนี้ให้กับบริษัทเดินเรือ แต่วิธีการที่พวกเขาเสนอนั้นคือการทดสอบความปลอดภัยด้วยการเจาะเข้าไประบบ Maersk…

Virgin America ถูกแฮ็ค แจ้งพนักงาน 3,120 คนเปลี่ยนรหัสผ่านด่วน

Loading

Virgin America ได้ออกมาเผยถึงเหตุระบบเครือข่ายถูกโจมตีได้สำเร็จเมื่อเดือนมีนาคม 2017 ที่ผ่านมา พร้อมกับการแจ้งเตือนภายในองค์กรให้พนักงานประจำและสัญญาจ้างกว่า 3,120 คนทำการเปลี่ยนรหัสผ่านภายใน 90 วันนับจากวันที่แจ้ง ในขณะที่พนักงานอีก 110 คนอาจถูกขโมยข้อมูลส่วนตัวไปด้วย ในเหตุการณ์ครั้งนี้ทาง Virgin America สามารถตรวจพบได้ด้วยตนเองว่ามีความพยายามในการเข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในระบบของ Virgin America จากบุคคลภายนอกผู้ที่ไม่ควรจะมีสิทธิ์ และสามารถเข้าถึงข้อมูลบางส่วนภายในองค์กรได้ ซึ่งทาง Virgin America ก็ต้องการที่จะปกป้องข้อมูลขององค์กรและพนักงานอย่างเต็มที่ จึงได้ส่งเมล์แจ้งพนักงานในครั้งนี้ และมีการปรับปรุงนโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัย, ขั้นตอนการทำงาน และเครื่องมือใหม่ๆ เพื่อเสริมความมั่นคงปลอดภัยภายในองค์กรด้วย การโจมตีครั้งนี้ไม่ส่งผลกระทบในแง่ความมั่นคงปลอดภัยถึง Alaska Airlines ซึ่งเป็นเจ้าของ Virgin America แต่อย่างใด และการที่ Virgin America ต้องออกมาเปิดเผยในครั้งนี้ก็เป็นไปตามข้อบังคับทางกฎหมาย ทาง AlienVault ได้ออกมาชื่นชม Virgin America ที่สามารถตรวจจับเหตุการณ์ Data Breach ครั้งนี้ได้ด้วยตนเอง อันเป็นการแสดงถึงการหมั่นตรวจสอบทางด้านความมั่นคงปลอดภัยเป็นอย่างดี ทำให้สามารถรับมือและจำกัดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ส่วนทางด้าน ESET เองก็ออกมาชื่นชมในประเด็นเดียวกัน…

สวีเดนพลาดทำข้อมูลเกือบทั้งประเทศรั่วไหล

Loading

ข้อมูลที่ละเอียดอ่อนและข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ขนส่งหลายล้านรายในสวีเดนรวมทั้งความลับทางทหารของประเทศได้รับการเปิดเผย ข้อมูลที่หลุดออกไปมีหลากหลาย เช่น ข้อมูลของประชาชน ทหาร ตำรวจ หน่วยงานรัฐ แม้กระทั่งข้อมูลของสิ่งก่อสร้างภายในประเทศ ดังนั้นเหตุการณ์นี้ถือได้ว่าเป็นภัยคุกคามความมั่นคงทางข้อมูลที่เลวร้ายที่สุดอย่างหนึ่งของรัฐบาลเลยทีเดียว สาเหตุของการรั่วไหลของข้อมูลครั้งนี้เริ่มมาจากหน่วยงาน Swedish Transport Agency ได้ให้ IBM ช่วยจัดการฐานข้อมูลและเครือข่าย จากนั้นได้ทำการอัปโหลดข้อมูลขึ้นไปยังระบบ Cloud แต่กลายเป็นว่าข้อมูลเหล่านั้นถูกส่งไปยังทุกคนที่ได้สมัครสมาชิกกับ ทาง The transport agency แล้วข้อมูลนี้ยังอยู่ในรูปแบบที่อ่านได้ (Clear Text) ไม่ได้เข้ารหัสใดๆไว้เลย นอกจากนี้พนักงาน IBM นอกสวีเดนสามารถเข้าถึงระบบของหน่วยงานขนส่งของสวีเดนได้โดยไม่ต้องดำเนินการตรวจสอบความปลอดภัยและผู้บริหารของไอบีเอ็มในสาธารณรัฐเช็กได้รับสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลและบันทึกทั้งหมดได้ด้วย ผู้ที่มีส่วนต้องรับผิดชอบในเหตุการณ์นี้คืออธิบดี Maria Ågren ที่ได้สะเพร่าลัดขั้นตอนการส่งข้อมูลให้ IBM และไม่ตรวจสอบความปล อดภัยให้แน่ชัด ประเด็นน่ากังวลมจากนาย Jonas Bjelfvenstam ผู้อำนวยการคนใหม่ของหน่วยงานซึ่งกล่าวว่าฐานข้อมูลที่รั่วไหลอาจไม่ปลอดภัยจนกว่าจะถึงฤดูใบไม้ร่วง ในขณะนี้การตรวจสอบขอบเขตการรั่วไหลยังคงดำเนินต่อไป ที่มา :  I-SECURE CO., LTD.  facebook ลิงค์ : http://thehackernews.com/2017/07/sweden-data-breach.html

ตร.ไทย เปิดเบื้องหลังการจับกุม AlphaBay เว็บค้าสิ่งผิดกม.ใหญ่ที่สุดในโลก

Loading

วันนี้ (24 ก.ค.) พล.ต.อ.เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน รอง ผบ.ตร. ได้แถลงผลการจับกุมเครื่อข่ายเว็บมืด AlphaBay ที่ถือว่าใหญ่ที่สุดในโลกในการซื้อขายยาเสพติดและสิ่งผิดกฎหมาย พร้อมกับทรัพย์สินที่ถูกยึดได้มูลค่ากว่า 700 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากปฏิบัติการที่นำโดยหน่วยงานของสหรัฐฯ และความร่วมมือจากเจ้าหน้าหลายประเทศ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจไทย ผู้ต้องหา นายอาเล็กซองเดร คาเซส ถูกจับตัวเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคมที่ผ่านมา จากเบาะแสอีเมลส่วนตัวที่นายคาเซสเคยใช้ส่งถึงสมาชิกบนเว็บไซต์ AlphaBay ก่อนที่ตำรวจฝ่ายปราบปรามยาเสพติดระบุว่า นายคาเซสได้แขวนคอตัวเองเสียชีวิตภายในห้องขังเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคมที่ผ่านมา AlphaBay คืออะไร AlphaBay มีเป้าหมาย “ที่จะเป็นเว็บไซต์สไตล์ e-bay ของตลาดใต้ดินที่ใหญ่ที่สุด” ตามที่ระบุในข้อความบนหน้าประวัติของเว็บไซต์แห่งนี้ ซึ่งมีการจำแนกหมวดหมู่สินค้าไว้เพื่อความสะดวก ไม่ต่างจากเวบขายของออนไลน์ทั่วไป ที่แตกต่างคือ AlphaBay เป็นเว็บที่ซ่อนอยู่ในเครือข่ายเว็บมืด ที่สามารถเข้าถึงได้ผ่านทางเครื่องข่ายทอร์ที่คล้ายคึงกับอินเทอร์เน็ตปกติ แต่ถูกออกแบบมาให้ปกปิดตัวตนและที่อยู่คอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ และการซื้อขายจะใช้เงินดิจิตอล หรือ บิทคอยน์ เท่านั้น เพื่อไม่ให้เกิดหลักฐาน สหรัฐฯ สั่งปิด 2 เว็บไซต์ตลาดมืด ชาวแคนาดาที่ตายคาห้องขังในไทยถูกกล่าวหาดูแล “เว็บมืด” ค้ายาเสพติด…

แจ้งเตือนภัยช่องโหว่ร้ายแรงในอุปกรณ์ IoT และกล้อง CCTV นับล้าน แนะ Patch ทันที

Loading

นักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยสำหรับระบบ Internet of Things (IoT) โดยเฉพาะจาก Senrio ได้ค้นพบช่องโหว่ใน Open Source Library ที่มีชื่อว่า gSOAP toolkit ซึ่งมีอุปกรณ์ IoT และกล้อง CCTV ทั่วโลกนำไปใช้มากมายนับล้านอุปกรณ์ โดยช่องโหว่นี้อาจนำไปใช้เพื่อแอบสอดส่องข้อมูลในกล้อง CCTV หรือโจมตีให้อุปกรณ์เหล่านี้หยุดทำงานได้ พร้อมตั้งชื่อให้กับช่องโหว่นี้ว่า Devil’s Ivy Devil’s Ivy นี้ถูกค้นพบในระหว่างที่นักวิจัยกำลังวิเคราะห์อุปกรณ์กล้อง CCTV จาก Axis Communications โดยส่งผลกระทบกับกล้องของ Axis เองกว่า 250 รุ่น ซึ่งทาง Axis เองก็ได้โต้ตอบด้วยการออก Patch มาอุดช่องโหว่เหล่านี้ไปแล้วอย่างรวดเร็วเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2017 ที่ผ่านมา และแนะนำให้ลูกค้าทุกรายอัปเดตทันที โดยรายการของกล้องรุ่นที่มีช่องโหว่ดังกล่าวนี้อยู่ที่ https://www.axis.com/files/faq/ACV116267_(CVE-2017-9765).pdf อย่างไรก็ดี gSoap toolkit ที่มีช่องโหว่นี้ก็ยังถูกนำไปใช้ในอุปกรณ์ IoT จากผู้ผลิตรายอื่นๆ อีกมากมาย…

สหรัฐห้ามหน่วยงานรัฐใช้ซอฟต์แวร์ Kaspersky เพราะกลัวใกล้ชิดหน่วยข่าวกรองรัสเซีย

Loading

รัฐบาลสหรัฐ สั่งถอดบริษัท Kaspersky Lab จากรายชื่อบริษัทซอฟต์แวร์ที่อนุญาตให้หน่วยงานภาครัฐใช้งาน เนื่องจากมีข่าวว่าบริษัทมีความเชื่อมโยงกับรัฐบาลรัสเซีย คำสั่งนี้มาจาก U.S. General Services Administration (GSA) หน่วยงานที่คอยกำหนดเรื่องระเบียบการจัดซื้อของรัฐบาลสหรัฐ แต่จะไม่มีผลกับหน่วยงานที่ซื้อซอฟต์แวร์ของ Kaspersky ไปก่อนหน้านี้ โฆษกของ GSA ระบุสั้นๆ เพียงว่าเหตุผลที่ถอด Kaspersky ออกจากรายชื่อ เพื่อความปลอดภัยของระบบเครือข่ายของรัฐบาล และพิจารณาเรื่องนี้อย่างถี่ถ้วนแล้ว แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดอะไรมากกว่านี้ สำนักข่าว ABC บอกว่าการถอดชื่อ Kaspersky ของ GSA เป็นสิ่งยืนยันความกังวลของเจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐ ว่าหน่วยข่าวกรองรัสเซียอาจใช้ช่องโหว่ในซอฟต์แวร์ของ Kaspersky เข้ามาแฮ็กหรือขโมยข้อมูลสำคัญจากสหรัฐออกไป และที่ผ่านมา ABC ก็ได้ข้อมูลว่า FBI เริ่มไปสัมภาษณ์พนักงานของ Kaspersky ที่อยู่ในสหรัฐเพื่อรวบรวมข้อมูลแล้ว สำนักข่าว Bloomberg อ้างว่าได้รับอีเมลภายในของ Kaspersky ที่เป็นหลักฐานบ่งชี้ว่า Kaspersky (ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติรัสเซีย ผู้ก่อตั้งเป็นรัสเซีย สำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงมอสโก) มีความใกล้ชิดกับ FSB หน่วยข่าวกรองของรัสเซีย และเข้าไปช่วย…