เป้าหมายใหม่ มัลแวร์โผล่ Facebook จ้องขโมยบัญชีธุรกิจ

Loading

  Facebook กำลังตกเป็นเป้าหมายใหม่ของแฮกเกอร์ ที่ใช้วิธีสอดแนมเจาะเข้าบัญชีธุรกิจ หรือ Facebook Business ผ่านช่องทางติดต่อของบรรดาแอดมิน ที่เปิดเผยไว้ในเว็บดังอย่าง LinkedIn บนเว็บของคนทำงาน มีข้อมูลที่ระบุได้ว่ามีสิทธิ์เข้าถึงบัญชีธุรกิจของ Facebook ในระดับสูง อาชญากรไซเบอร์จึงตั้งเป้าไปที่คนกลุ่มนี้เป็นพิเศษ นักวิจัยที่ WithSecure องค์กรด้านการรักษาความปลอดภัย ค้นพบหลักฐานที่ระบุได้ว่า เหยื่อชาวเวียดนาม โดนโจมตีด้วยมัลแวร์ Ducktail ที่สามารถเจาะเข้าถึงบัญชีบัตรเครดิตที่บันทึกไว้สำหรับซื้อโฆษณากับ Facebook พฤติกรรมของ Ducktail จะค่อยๆ เลือกเป้าหมายกลุ่มเล็ก และทำอย่างรอบคอบเพื่อไม่ให้มีใครทันสังเกตเห็น รวมถึงใช้ช่องทางโซเชียลโน้มน้าวใจให้เป้าหมายดาวน์โหลดไฟล์จาก Cloud ที่น่าเชื่อถือ อย่าง Dropbox หรือ iCloud โดยใช้ชื่อไฟล์ที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ ผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เหยื่อหลงเชื่อ ทันทีที่ดาวน์โหลดไฟล์และติดตั้งในระบบ มัลแวร์ Ducktail จะขโมยคุกกี้ของเบราว์เซอร์ และเข้าถึง Facebook เพื่อขโมยข้อมูลจากบัญชี และปรับแต่งช่องทางเพื่อดูดเงินในบัญชีออกไป ที่สำคัญพฤติกรรมนี้กำลังแพร่กระจายไปในหลายประเทศ ในขณะที่โฆษกของ Meta ออกมายอมรับว่า แฮกเกอร์มีความพยายามหลบเลี่ยงการตรวจจับ ซึ่ง Facebook เองก็ได้อัปเดตระบบเพื่อเพิ่มความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง…

มือถือเจอศึกหนัก มัลแวร์ ในไทยพุ่ง พบช่องโหว่มาจากแอปดัง

Loading

  แม้ว่าจำนวนมัลแวร์ บนมือถือทั่วโลกจะลดลง แต่การโจมตีกลับมีความซับซ้อนและหวังผลมากขึ้น Kaspersky บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ตรวจพบแฮกเกอร์หน้าใหม่ปรากฎตัวอยู่ตลอดเวลา และไทยเองก็ตกเป็นเหยื่อของมัลแวร์มือถือไม่แพ้ประเทศอื่น Kaspersky ออกมาให้ข้อมูลว่า ในปี 2021 พบความพยายามใช้มัลแวร์โจมตีผู้ใช้งานผ่านสมาร์ทโฟนหรือมือถือในประเทศมากกว่า 6 หมื่นครั้ง เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมากว่า 130% ติดอันดับ 3 รองจาก อินโดนีเซีย และมาเลเซีย จากรายงาน DIGITAL 2022 Global Overview report ระบุว่า สถิตินี้สัมพันธ์กับการเชื่อมต่ออุปกรณ์มือถือที่เพิ่มขึ้นถึง 95.6 ล้านเครื่อง อีกทั้งยอดดาวน์โหลดแอปพลิเคชันของไทยในปี 2021 เพิ่มมากขึ้นกว่า 2 พันล้านรายการ โดยมีแอปพลิเคชั่นอันตรายปะปนอยู่ ผู้เชี่ยวชาญสังเกตเห็นความผิดปกติของแอปยอดนิยมที่ใช้วิธีแทรกโค้ดอันตราย ผ่าน SDK โฆษณา อย่างในกรณีของ CamScanner ที่พบโค้ดที่เป็นอันตรายในไลบรารีโฆษณาในไคลเอ็นต์ APKPure ทางการ เช่นเดียวกับใน WhatsApp เวอร์ชันแก้ไข อีกทั้ง ยังพบมัลแวร์ในแอปที่ดาาวน์โหลดได้จาก Google Play แม้ว่า…

เจออีก มัลแวร์ซ่อนใน Word แฮ็กเกอร์ช่างสรรหาวิธีการโจมตี

Loading

  นักวิจัยของ HP เปิดเผยข้อมูลของมัลแวร์ตัวใหม่ที่ฝังโค้ดเก็บไว้ในคุณสมบัติเอกสารของไฟล์เอกสาร Microsoft Word ทำให้ยากต่อการตรวจสอบ   โค้ดอันตรายนี้มีชื่อว่า SVCReady มันจะถูกซ่อนอยู่ในไฟล์เอกสารที่ส่งผ่านอีเมลแบบกระจาย ในลักษณะของการโจมตีแบบฟิชชิ่ง ซึ่งหากผู้ใช้กดดาวน์โหลดไฟล์เอกสารไป มัลแวร์จะทำงานโดยการรันเพย์โหลด และโหลดมัลแวร์เพิ่มเติมครับ หากเครื่องใดไม่ได้ติดตั้งซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัส ก็จะมีความเสี่ยงมากที่สุด   เทคนิคซ่อนมัลแวร์ในลักษณะนี้ทำให้ตรวจจับได้ยากขึ้นมาก เพราะมันมักจะไม่ถูกตรวจสอบผ่านซอฟต์แวร์ความปลอดภัย และไฟล์เอกสาร Word ก็เป็นไฟล์ที่นิยมใช้กันทั่วโลก ทำให้หลายคนไม่ได้ทันระวังกับไฟล์ที่ถูกส่งมา และทำให้มันแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว   สิ่งหนึ่งที่จะช่วยป้องกันไม่ไห้มัลแวร์ตัวนี้เข้าสู่ระบบ คือมีกฎทองสำคัญอยู่หนึ่งข้อคือ ห้ามเปิดไฟล์ที่แนบมา หากไม่มั่นใจที่มา หรือไม่ว่าเนื้อหาในอีเมลจะพยายามบอกให้เราต้องรีบโหลดแค่ไหนก็ตาม   เพราะอีเมลฟิชชิงมักจะพยายามใส่ความเร่งด่วนให้กับผู้ที่ตกเป็นเหยื่อหลงเชื่อ ด้วยการเรียกร้องให้ดำเนินการบางอย่าง เช่น การบอกว่าบัญชีจะถูกบล็อกหรือเงินในบัญชีจะถูกหัก หากไม่กดลิงก์หรือดาวน์โหลดไฟล์นี้ในทันที มีวิธีสังเกตที่น่าสนใจอีกอย่าง คือฟิชชิ่งพวกนี้มักจะแนบมาในอีเมลที่สะกดผิด   ที่มาข้อมูล   https://tech.co/news/malware-word-documents-email-inbox     ————————————————————————————————————————- ที่มา :         Techhub         …

DCRat มัลแวร์ราคาหลักร้อยที่มีอานุภาพสูงแพร่ระบาดอยู่ในโลกออนไลน์

Loading

  DCRat มัลแวร์สำหรับเจาะเข้าระบบปฏิบัติการ Windows ได้อย่างสมบูรณ์ซึ่งแพร่กระจายอยู่ทั่วเว็บไซต์ใต้ดินนั้น มีราคาถูกอย่างน่าเหลือเชื่อ และยังเป็นมัลแวร์ที่พัฒนาโดยคน ๆ เดียวอีกด้วย DCRat เป็นมัลแวร์ที่แพร่ระบาดมาตั้งแต่ปี 2017 แต่เพิ่งจะได้รับการออกแบบใหม่และเปิดตัวอีกครั้งไม่นานมานี้ ตัวมัลแวร์มีราคาถูกที่สุดเพียง 5 เหรียญ (ราว 172 บาท) แต่กลับมีฟังก์ชันที่หลากหลายทั้งการขโมยชื่อบัญชี รหัสผ่าน ข้อมูลบัตรเครดิต ประวัติการเข้าชมเว็บไซต์ รวมถึงการถ่ายสกรีนช็อต ขโมยเนื้อหาในคลิปบอร์ด และสอดแนมการใช้คีบอร์ดของเหยื่อได้ด้วย เรียกได้ว่าไม่ว่าเหยื่อจะทำอะไร มัลแวร์ตัวนี้จะรู้หมด จากการวิเคราะห์ของนักวิจัยจาก BlackBerry พบว่า DCRat ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงโดยผู้ใช้คนเดียวที่มักจะไปขายมัลแวร์ตัวนี้ในกระดานสนทนาใต้ดินที่ใช้ภาษารัสเซียเป็นหลักหลายแห่ง รวมถึงบน Telegram ด้วย อย่างไรก็ตาม นักวิจัยระบุว่าผู้สร้าง DCRat อาจไม่ได้จริงใจกับลูกค้าเท่าใดนัก เพราะมีการปลอมข้อความที่หลอกให้ผู้ใช้มัลแวร์เข้าใจผิดเกี่ยวกับสถานะออนไลน์ของเซิร์ฟเวอร์และผู้ใช้งานที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย การมีอยู่ของมัลแวร์อย่าง DCRat ทำให้การโจมตีทางไซเบอร์ที่มีความซับซ้อนนั้นทำได้ง่าย เนื่องจากมีต้นทุนต่ำ แต่สร้างความเสียหายได้อย่างรุนแรง ที่มา ZDNet , Blackberry     ที่มา : beartai …

ร้ายกาจ แฮกเกอร์ปล่อยมัลแวร์ ผ่านโปรแกรมวีดีโอ VLC

Loading

  VLC Media Player โปรแกรมเล่นวีดีโอยอดนิยมที่คนใช้กันทั่วโลก บ้านเรามักเรียกว่าโปรแกรมกรวย (อย่าอ่านเพี้ยนล่ะ) ข้อดีของมันก็คือมันฟรี มันเล่นไฟล์ได้เกือบทุกนามสกุล สามารถใช้งานได้บนทุกแพลทฟอร์ม และสิ่งสำคัญที่สุดคือ มันไม่กินพลังงานเครื่อง ไม่ทำให้เครื่องช้าลง เว้นแต่จะซ่อนซอฟต์แวร์อันตรายติดมา…..   ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ของ Symantec กล่าวว่ากลุ่มแฮกข้อมูลจีนที่ชื่อ Cicada (หรือที่รู้จักว่า Stone Panda หรือ APT10) กำลังใช้ประโยชน์จาก VLC บนระบบ Windows เพื่อเรียกใช้มัลแวร์ที่ใช้ในการสอดแนมรัฐบาลและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าโปรแกรมนี้มันถูกใช้งานอย่างแพร่หลายจริง ๆ   นอกจากนี้ กลุ่มแฮกเกอร์ยังตั้งเป้าไปที่กลุ่มนักกฎหมายไม่แสวงหาผลกำไร องค์กรที่มีความสัมพันธ์ทางศาสนา ซึ่งได้ตั้งใจแพร่ขยายเครือข่ายในสหรัฐอเมริกา แคนาดา ฮ่องกง ตุรกี อิสราเอล อินเดีย มอนเตเนโกร และอิตาลี   วิธีที่แฮกเกอร์ใช้คือ แอบซ่อนมัลแวร์ไปกับการปล่อยโหลด VLC ที่เป็นตัวปกติ ซึ่งน่าเป็นเว็บที่ปลอมขึ้นมาอีกอันหนึ่ง ดังนั้นหากใครจะโหลด VLC แนะนำนำโหลดจากเว็บของ VLC โดยตรงนะครับ อย่าไปโหลดเว็บที่ฝากไฟล์…

เจออีก พบมัลแวร์ขโมยรหัสผ่านใน Google Play แฝงตัวมากับแอปฯ ป้องกันไวรัส

Loading

  มันมากับแอปฯ (อีกแล้ว) รายงานเผยพบ 6 แอปฯ ป้องกันไวรัสใน Google Play มีมัลแวร์ขโมยรหัสผ่านแฝงตัวอยู่ ล่าสุดถูกนำออกแล้ว แต่ก่อนหน้านี้พบยอดติดตั้งนับหมื่น ใครเผลอติดตั้งไปรีบลบด่วน   นักวิจัยด้านความปลอดภัยจาก Check Point เผย Google Play มีแอปฯ (อ้าง) ป้องกันไวรัสจำนวน 6 แอปฯ แอปแฝงมัลแวร์ขโมยรหัสผ่านติดมาด้วย แถมมีการดาวน์โหลดแอปทั้ง 6 แอปมากกว่า 15,000 ครั้ง !! แม้ว่าล่าสุดทาง Google จะนำออกแล้วก็ตาม   สำหรับตัวแอปฯ ทั้ง 6 ก็มีดังนี้     –  Atom Clean-Booster, Antivirus   –  Antivirus Super Cleaner   –  Alpha Antivirus,…