มัลแวร์เล่นใหญ่ ปลอมเป็นโปรแกรมยอดฮิต หลอกคนกดดูลิงก์ปลอม

Loading

  ตอนนี้มีการตรวจพบแคมเปญการโจมตีขนาดใหญ่ที่ใช้ชื่อโดเมนปลอมมากถึง 1,300 โดเมน ซึ่งจะหลอกตัวเองเป็นเว็บไซต์ที่ให้โหลดโปรแกรมยอดนิมยม อย่าง AnyDesk ,MSI Afterburner, 7-ZIP, Blender, Dashlane, Slack, VLC, OBS, Audacity , โปรแกรมขายสกุลเงินดิจิทัล รวมทั้งโปรแกรมอื่น ๆ   สำหรับ AnyDesk เป็นโปรแกรมที่ถูกปลอมโดเมนเนมเยอะมากที่สุด เป็นโปรแกรมควบคุมคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นจากระยะไกลที่นิยมใช้ใน Windows, Linux และ macOS ซึ่งใช้โดยผู้คนนับล้านทั่วโลกและส่วนใหญ่จะเป็นแผนกไอทีของแต่ละบริษัทครับ   เมื่อดาวน์โหลดไปติดตั้งในเครื่อง แทนที่จะเป็นโปรแกรมที่เราโหลดมา จะเป็นการติดตั้งมัลแวร์ลงในเครื่องแทน จากนั้นมัลแวร์จะทำการขโมยประวัติเบราว์เซอร์ของเหยื่อ ขโมยข้อมูลประจำตัวของบัญชี รหัสผ่านที่บันทึกไว้ ข้อมูลกระเป๋าเงินดิจิตอล ข้อมูลธนาคาร และข้อมูลสำคัญอื่นๆ จากนั้นข้อมูลนี้จะถูกส่งกลับไปยังแฮกเกอร์ ซึ่งสามารถใช้ข้อมูลนี้ไปใช้สร้างแคมเปญการโจมตีอื่น ๆ หรือขายในตลาดมืดครับ   จริง ๆ มีหลายโดเมนที่ถูกปิดไปแล้ว แต่บางโดเมนยังเปิดใช้งานอยู่ เช่นโปรแกรม Audacity ซึ่งยังมีลิงก์ปลอมให้โหลด แถมยังซื้อโฆษณา Google Ads…

โฆษณา ‘Search Engine Ad’ เครื่องมือใหม่ อาชญากรไซเบอร์

Loading

  หลายปีที่ผ่านมา การโจมตีทางไซเบอร์เพิ่มขึ้นมากมายและหลากหลายรูปแบบ ล่าสุดเอฟบีไอออกประกาศแจ้งเตือนว่า ขณะนี้อาชญากรไซเบอร์ได้ใช้บริการโฆษณา “Search Engine Ad” โดยปลอมตัวเป็นแบรนด์เพื่อฉ้อโกงและหลอกล่อผู้ใช้งานให้เข้าระบบไปยังเว็บไซต์ปลอมที่อันตราย   เว็บไซต์เหล่านี้ดูภายนอกก็เหมือนกับหน้าเว็บอย่างเป็นทางการของธุรกิจต่างๆ ที่ถูกแอบอ้าง โดยเหล่าบรรดาแฮกเกอร์จะหลอกล่อเหยื่อให้ดาวน์โหลดมัลแวร์หรือให้ป้อนข้อมูลเพื่อเข้าสู่ระบบรวมถึงข้อมูลทางการเงิน   ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่ผู้ใช้งานค้นหาโปรแกรมเพื่อดาวน์โหลด ที่หน้าเว็บไซต์ปลอมจะมีลิงก์สำหรับดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ที่เป็นมัลแวร์ซ่อนอยู่ ซึ่งเหล่าแฮกเกอร์เลือกซื้อโฆษณา Search Engine Ad เพื่อให้แน่ใจว่าโฆษณาของพวกเขาจะปรากฏที่ด้านบนสุดของผลการค้นหาและเพื่อโปรโมทเว็บไซต์และทำการขโมยข้อมูลหรือแรนซัมแวร์   โดย Search Engine Ad จะมีความแตกต่างอยู่ระหว่างโฆษณาและผลการค้นหาทางอินเทอร์เน็ตจริง อย่างไรก็ตาม การแจ้งเตือนดังกล่าวยังระบุอีกว่าอาชญากรไซเบอร์กำลังซื้อบริการเหล่านี้โดยใช้โดเมน (domain) ที่มีความคล้ายคลึงกับธุรกิจหรือบริการจริงเพื่อจุดประสงค์ไม่ดีที่แอบแฝงอยู่   เอฟบีไอ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า โฆษณาเหล่านี้ยังถูกใช้เพื่อแอบอ้างเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแพลตฟอร์มการซื้อขายคริปโต (cryptocurrency) โดยเว็บไซต์ปลอมจะมีการขอให้ผู้ใช้งานกรอกข้อมูลและจากนั้นจะทำการขโมยทั้งข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลบัญชีธนาคารของผู้ใช้งานออกไปทั้งหมด   หน่วยงานด้านการบังคับใช้กฏหมายเน้นย้ำว่า แม้ว่าโฆษณา search engine บนเครื่องมือจะมีรูปแบบที่ไม่เป็นอันตราย แต่ผู้ใช้งานก็ควรเลือกใช้ด้วยความระมัดระวังเมื่อเข้าถึงหน้าเว็บผ่านลิงก์ที่โฆษณา และได้เสนอข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ใช้งานเมื่อค้นหาธุรกิจหรือบริการออนไลน์ เหล่านี้คือ   ตรวจสอบ URL เพื่อหาข้อผิดพลาดก่อนที่จะคลิกโฆษณาเพื่อให้แน่ใจว่าเว็บไซต์นั้นถูกต้องตามกฎหมาย   ควรพิมพ์ URL…

ยอดมัลแวร์พุ่ง!! อาชญากรไซเบอร์โจมตีด้วยไฟล์อันตราย 400,000 ไฟล์/วัน

Loading

  ในปี 2022 ระบบตรวจจับของแคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ตรวจพบไฟล์ที่เป็นอันตรายที่แพร่กระจายโดยเฉลี่ย 400,000 ไฟล์ต่อวัน ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับปี 2021 นอกจากนี้จำนวนของภัยคุกคามบางประเภทก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน   ในปี 2022 ระบบตรวจจับของ แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ตรวจพบไฟล์ที่เป็นอันตรายที่แพร่กระจายโดยเฉลี่ย 400,000 ไฟล์ต่อวัน ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับปี 2021 นอกจากนี้จำนวนของภัยคุกคามบางประเภทก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้พบว่าสัดส่วนของแรนซัมแวร์เพิ่มขึ้น 181% ทุกวัน การค้นพบต่าง ๆ นี้ เป็นส่วนหนึ่งของรายงาน Kaspersky Security Bulletin (KSB) ซึ่งเป็นการคาดการณ์ และรายงานเชิงวิเคราะห์ประจำปีเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในโลกความปลอดภัยทางไซเบอร์   ระบบตรวจจับของแคสเปอร์สกี้ค้นพบไฟล์ที่เป็นอันตรายใหม่โดยเฉลี่ย 400,000 ไฟล์ต่อวันในช่วงสิบเดือนที่ผ่านมา จากการเปรียบเทียบกับปี 2021 มีการตรวจพบไฟล์อันตรายประมาณ 380,000 ไฟล์ต่อวัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้น 5% โดยรวมแล้วในปี 2022 ระบบของแคสเปอร์สกี้ตรวจพบไฟล์ที่เป็นอันตรายประมาณ 122…

ผู้เชี่ยวชาญเตือนมัลแวร์ Zerobot ติดอาวุธช่องโหว่ถึง 21 รายการ

Loading

credit : iamwire.com   เป้าหมายของ Zerobot ก็คือการทำให้เหยื่อกลายเป็นฐานของ Botnet เพื่อนำทรัพยากรไปใช้โจมตีเป้าหมายอื่น ความน่าสนใจคือ Zerobot ได้ถูกติดอาวุธด้วยช่องโหว่ก็อุปกรณ์แบรนด์ดังมากมายเช่น F5 BIG-IP, Zyxel Firewall และ D-Link Router รวมถึงกล้องวงจรปิดยี่ห้อ Hivision   ทีมผู้เชี่ยวชาญของ Fortinet ได้ตรวจพบมัลแวร์ Zerobot เมื่อกลางเดือนก่อนโดยความน่าสนใจคือมัลแวร์มีการใช้ช่องโหว่ที่ทันสมัยและครอบคลุมหลายแพลตฟอร์ม ในอุปกรณ์ยอดนิยมต่างๆเช่น CVE-2022-01388 (F5 Big-ip), CVE-2022-30525 (Zyxel USG flex 100(w) Firewall), CVE-2021-36260 (Hikvision) และช่องโหว่ที่ไม่ได้รับหมายเลขอ้างอิงใน D-Link Router และอุปกรณ์รับสัญญาณไฟเบอร์ GPON   ไอเดียของมัลแวร์เมื่อติดเข้ามาแล้วจากช่องโหว่ ก็จะมีการดาวน์โหลดสคริปต์ที่ชื่อว่า ‘Zero’ เพื่อใช้ในการแพร่ตัวเองไปยังอุปกรณ์รอบข้าง โดยผู้เชี่ยวชาญพบว่ามัลแวร์มีการรันคำสั่งของ Windows หรือ Linux ด้วย รวมถึงจัดตั้ง…

ผู้เชี่ยวชาญพบปฏิบัติการไซเบอร์ที่ใช้แอป Android ปลอมส่งมัลแวร์ดูดข้อมูลเหยื่อ

Loading

  Zimperium บริษัทด้านไซเบอร์พบปฏิบัติการโจมตีทางไซเบอร์ที่ใช้แอปอ่านหนังสือและแอปการศึกษาบน Android ปล่อยมัลแวร์ประเภท Trojan เพื่อขโมยข้อมูลของเหยื่อ ที่เริ่มเคลื่อนไหวมาตั้งแต่ปี 2018   ปฏิบัติการนี้มุ่งเป้าโจมตีเหยื่อชาวเวียดนาม โดย Trojan ตัวนี้มีชื่อว่า Schoolyard Bully ซึ่งแฝงอยู่ในแอปหลายตัวที่เปิดให้ดาวน์โหลดบน Google Play Store และแอปภายนอก   แอปเหล่านี้แอบอ้างเป็นแอปด้านการศึกษาที่อ้างว่ามีหนังสือและหัวข้อด้านวิชาการให้ผู้ใช้อ่าน แต่จริง ๆ แล้วแอปเหล่านี้มีกลไกในการขโมยข้อมูลโซเชียลมีเดีย และข้อมูลอุปกรณ์ของผู้ใช้   Schoolyard Bully ขโมยข้อมูลของผู้ใช้โดยการเปิดหน้าล็อกอินของ Facebook ภายในแอปและใส่โค้ด JavaScript ที่ดูดข้อมูลที่ผู้ใช้กรอก มัลแวร์ตัวนี้สามารถหลบหลีกโปรแกรมต้านไวรัสและเครื่องมือตรวจหาไวรัสแบบ Machine Learning ได้ด้วย   Zimperium ชี้ว่าปฏิบัติการมัลแวร์นี้มีเหยื่อไปแล้วมากกว่า 300,000 คนใน 71 ประเทศ แต่อาจจะน้อยกว่าความเป็นจริงเนื่องจากแอปเหล่านี้ยังเปิดให้ดาวน์โหลดอยู่     ที่มา Neowin       ————————————————————————————————————————-…

แฮ็กเกอร์ใช้ ‘Invisible Challenge’ บน TikTok หลอกผู้ใช้ให้ดาวน์โหลดมัลแวร์

Loading

  Checkmarx บริษัทด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เผยว่าอาชญากรหันมาใช้กิจกรรม Challenge หลอกผู้ใช้ TikTok ให้ดาวน์โหลดมัลแวร์   TikTok Challenge ที่ว่านี้คือ Invisible Challenge หรือ ‘การท้าล่องหน’ เป็นกิจกรรมที่ท้าผู้ใช้ TikTok ถ่ายตัวเองแบบเปลือยโดยใช้ฟิลเตอร์ที่ชื่อว่า Invisible Body ที่ทำให้ร่างกายดูล่องหน ขณะนี้ แฮชแท็ก #invisiblefilter มีผู้เข้าชมมากกว่า 25 ล้านครั้งแล้ว   ผู้ใช้ TikTok 2 ราย ชื่อว่า @learncyber และ @kodibtc ใช้กิจกรรมนี้ในการเผยแพร่วิดีโอที่แปะลิงก์เข้าร่วมเซิร์ฟเวอร์ Discord ซ่อนซอฟต์แวร์ปลอมที่อ้างสรรพคุณว่าจะสามารถลบฟิลเตอร์ออกไปได้ (เพื่อให้เห็นร่างกายที่เปลือยเปล่าของผู้ทำกิจกรรมนี้) ในลิงก์จะมีภาพลามกที่อ้างว่าเป็นผลลัพธ์ของการใช้ซอฟต์แวร์ที่ว่านี้ แต่ในลิงก์จะเป็นมัลแวร์ขโมยข้อมูลที่ชื่อ WASP ซ่อนอยู่ภายในไฟล์ที่เขียนด้วยโค้ดในภาษา Python   นอกจากนี้ บัญชีบอตของช่องยังส่งข้อความส่วนตัวไปหาผู้ใช้ มีเนื้อหาเพื่อขอคะแนนในหน้า GitHub ของซอฟต์แวร์นี้ ซึ่งใช้ชื่อว่า 420World69/Tiktok-Unfilter-Api จนได้รับความนิยม  …