ผบ.ตร. นั่งหัวโต๊ะถกเข้ม แลกเปลี่ยนข้อมูลหน่วยงานเกี่ยวข้อง วางระบบป้องกันแก้ไขปัญหาภัยออนไลน์

Loading

  ผบ.ตร. นั่งหัวโต๊ะถกเข้ม แลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยที่เกี่ยวข้อง วางระบบป้องกัน แก้ไขปัญหาภัยออนไลน์ พัฒนาระบบรับส่งข้อมูล ผ่านระบบ Banking   วันที่ 22 มิ.ย.66 ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 1/2566 โดยมีนายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นรองประธาน พร้อมผู้แทน สำนักงานศาลยุติธรรม , สำนักงานอัยการสูงสุด , ปปง., กรมสอบสวนคดีพิเศษ , ธนาคารแห่งประเทศไทย , สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ , กสทช., สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ , ผู้แทนสมาคมธนาคารไทย และผู้ทรงคุณวุฒิอีก 4 ท่าน เป็นอนุกรรมการ   โดยสาระสำคัญในครั้งนี้ ได้วางมาตรการตรวจสอบ พฤติการณ์เหตุอันควรสงสัยที่เกี่ยวข้องกับบัญชีม้า ธุรกรรมต้องสงสัย ซิมม้า การสื่อสารที่ใช้หลอกลวงประชาชน เพื่อนำไปใช้ในการป้องกันมิให้เกิดอาชญากรรมทางเทคโนโลยีได้ในเชิงรุก และหารือเรื่องระบบ ช่องทาง และ วิธีการ…

ภัยออนไลน์ ที่จ้องเล่นงานคุณ

Loading

    ภัยออนไลน์ ที่ยังระบาดอย่างต่อเนื่อง ระวังตัวให้ดี เงินที่หามาแสนลำบาก อาจโดนปล้นไปโดยไม่รู้ตัว งั้นวันนี้เรามาอัพเดทกันหน่อยดีกว่าว่า โจรที่มากับโลกอินเทอร์เน็ต จะมาขโมยเงินของเราในรูปแบบไหนบ้าง และวิธีป้องกัน   เริ่มจากภัยหลายๆ คนมองข้าม คิดว่าไม่มีอะไร แต่หารู้ไม่ว่ากำลังเปิดประตูให้โจรเข้ามาในเครื่องของคุณ นั้นก็คือการ WiFi ฟรี   ภัยออนไลน์ WiFi ฟรี   WiFi ฟรีที่มาจากร้านกาแฟ ร้านอาหาร สนามบิน ที่ดูเหมือนจะไม่มีอะไร แต่เราจะรู้ได้ยังว่า WiFi ตัวนั้นปล่อยออกมาจากร้านนั้นจริงๆ ไม่ได้มีใครก็ไม่รู้ที่เปิดคอมพิวเตอร์แล้วปล่อยสัญญาณ WiFi ที่ตั้งชื่อแบบเดียวกัน ซึ่งเรื่องนี้ เราไม่มีทางรู้เลย แล้วคนร้ายที่แอบปล่อยสัญญาณก็สามารถเห็นการกระทำบนโลกอินเทอร์เน็ตของเราทุกอย่าง ถึงหลายคนจะบอกว่า https นั้นเข้ารหัส แต่มันก็ใช้ว่าจะถอดไม่ได้ เมื่อคุณอยู๋ในวง WiFi ของเขา ก็เหมือนคุณอยู่ในเงื้อมือของเขาเช่นกัน เพราะทุกการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คนร้ายจะเป็นคนกลาง หรือที่เรียกว่า Man in the Middle เขาสามารถเห็นทุกอย่าง และยังสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลทุกอย่างได้ด้วย​…

รู้ทันภัย Phishing ปลอดภัยได้แค่ไม่ด่วนเชื่อและกด link ซี้ซั้ว

Loading

    แม้ว่าจะมีข่าวที่ประกาศเตือนภัยมิจฉาชีพในรูปแบบต่าง ๆ อยู่ทุกวัน แต่ในขณะเดียวกันก็มีข่าวของคนที่ตกเป็นเหยื่อแก๊งมิจฉาชีพอยู่ทุกวันเช่นเดียวกัน มูลค่าความเสียหายก็มีตั้งแต่ไม่กี่บาท (มักไม่เป็นข่าว แต่เริ่มมีการเตือนกันเองในหมู่คนรู้จัก) ไปจนถึงหลักล้านบาท ส่วนความเคลื่อนไหวของหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบก็เริ่มออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อป้องกันประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อมากขึ้น มาตรการแบบวัวหายแล้วล้อมคอก เพราะขยับตัวออกเดินตามหลังมิจฉาชีพอยู่หลายก้าว เรียกได้ว่าเป็นการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมทางการเงินของภาครัฐที่ทำงานไม่ทันโจรเท่าไรนัก   อย่างไรก็ตาม มาตรการการจัดการภัยทุจริตทางการเงิน ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเพิ่งจะมีการออกมาตรการที่ชัดเจนเมื่อไม่นานที่ผ่านมาก็ค่อนข้างที่จะมีช่องโหว่อยู่พอสมควร อย่างเช่นมาตรการการให้ผู้ใช้บริการยืนยันตัวตนด้วย biometrics ในกรณีที่ลูกค้าทำธุรกรรมผ่าน mobile banking ในเงื่อนไขที่กำหนดไว้ อย่างการโอนเงินมากกว่า 50,000 บาท หรือปรับเพิ่มวงเงินทำธุรกรรมต่อวันเป็นตั้งแต่ 50,000 บาท ขึ้นไป ตรงจุดนี้ สำหรับคนหาเช้ากินค่ำที่ตกเป็นเหยื่อแก๊งมิจฉาชีพ จำนวนเงินที่ถูกโอนออกไปจากบัญชีอาจไม่มากถึง 50,000 บาท แต่มันก็เป็นเงินที่พวกเขาหามาอย่างยากลำบากและต้องเก็บไว้ใช้ดำรงชีพเหมือนกัน และมันอาจเป็นเงินสุทธิทั้งหมดที่พวกเขามีด้วย   นั่นหมายความว่าหากเหยื่อมีเงินในบัญชีไม่ถึง 50,000 บาท แล้วถูกมิจฉาชีพในกลโกงต่าง ๆ โอนเงินจำนวนนั้นออกไปทั้งหมด พวกเขาก็อาจจะไม่สามารถเข้าถึงมาตรการการยืนยันตัวตนก่อนที่เงินจะถูกโอนออกไป เพราะจำนวนเงินมันไม่ได้มากถึง 50,000 บาท ซึ่งเงินไม่ถึง 50,000 บาทที่โดนโกงไปนั้น มันก็ทำให้พวกเขาหมดตัวได้เช่นกัน…

เตือนภัย ‘ออนไลน์’ ทริกโจรไซเบอร์ดูดเงิน

Loading

    ปัจจุบัน ‘ภัยออนไลน์’ ยังเป็นเรื่องอันตรายที่อยู่ใกล้ประชาชนมากที่สุด เมื่อมีเทคโนโลยีเข้ามาอำนวยความสะดวกให้กับการใช้ชีวิต กลับกันเทคโนโลยีก็นำมาสู่ภัยร้าย หากมีคนกลุ่มที่ไม่ประสงค์ดี หรือเรียกว่า ‘มิจฉาชีพ’ นำมาใช้เป็นเครื่องมือแสวงหากำไรในทางมิชอบ   ซึ่งความเสียหายขยายตัวเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว สะท้อนจากประชาชนแจ้งเรื่องร้องเรียนผ่านออนไลน์ www.ThaiPoliceOnline.com ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม-31 ธันวาคม 2565 มีคดีความออนไลน์กว่า 181,466 เรื่อง เฉลี่ย 800 คดีต่อวัน รวมมูลค่าความเสียหาย 27,305 ล้านบาท ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพราะเปอร์เซ็นต์สำเร็จยังสูง   เรื่องนี้ ‘กิตติ โฆษะวิสุทธิ์’ ผู้จัดการบริหารความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศและความปลอดภัยไซเบอร์ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ศูนย์ประสานงานด้านความมั่นคงปลอดภัย เทคโนโลยีสารสนเทศภาคธนาคาร หรือทีบี-เซิร์ต เปิดเผยว่า จากแนวโน้มภัยไซเบอร์ที่มีทิศทางเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและมีรูปแบบหลากหลายเพื่อล่อลวงเอาข้อมูลสำคัญจากผู้ใช้บริการโมบายแบงกิ้งและอินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง หวังโจรกรรมเงินจนนำมาสู่ความเสียหายทางทรัพย์สิน   สำหรับรูปแบบการล่อลวงเอาข้อมูลที่พบมากขึ้นในระยะหลัง คือ การหลอกให้ผู้ใช้งานติดตั้งโปรแกรมมัลแวร์ (Malware) ลงในโทรศัพท์มือถือ เพื่อเข้าไปแฝงตัวอยู่ในแอปพลิเคชัน มีบริการที่เรียกว่า Accessibility…

“ดีอีเอส” เตือนระวัง! 5 ภัยออนไลน์ช่วงปีใหม่

Loading

  กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) แจ้งเตือนไปยังประชาชนในช่วงเทศกาลวันหยุดปีใหม่ ให้ระมัดระวังคนร้ายแฝงตัวเข้ามาฉวยโอกาสหลอกลวง   กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) แจ้งเตือนไปยังประชาชนในช่วงเทศกาลวันหยุดปีใหม่ ให้ระมัดระวังคนร้ายแฝงตัวเข้ามาฉวยโอกาสหลอกลวง ทำให้เกิดความเสียหายแก่พี่น้องประชาชน ทั้งการกด Link ซื้อขายสินค้า โหลดสติกเกอร์ Line อวยพรปีใหม่ฟรี! เป็นต้น โดยดีอีเอส ได้รวบรวม 5 ภัยร้ายออนไลน์ รู้ไว้ ปลอดภัยกว่า เพื่อให้ประชาชนระมัดระวังตัวมากขึ้น ประกอบด้วย   1. หลอกโหลดสติกเกอร์ เทศกาลปีใหม่ฟรี! มิจฉาชีพเชิญชวนการโหลดสติกเกอร์ดังกล่าว แฝงตัวส่ง Link ให้โหลด อาจมีการหลอกลวงให้ผู้ใช้ไลน์ใส่ชื่อ และรหัสการเข้าใช้ไลน์ รวมถึงข้อมูลส่วนตัว ซึ่งอาจจะเป็นช่องทางให้มิจฉาชีพ นำชื่อและรหัสการใช้งานของท่านไปทำธุรกรรมต่าง ๆ หรืออาจมีการสวมสิทธิ์เพื่อกระทำผิดได้   2. หลอกรับบริจาค ทำบุญ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ประชาชนอาจต้องการทำบุญเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลกับชีวิต มิจฉาชีพอาจมีการประกาศเชิญชวนให้ร่วมทำบุญ โดยอ้างบุคคลหรือกิจกรรมต่าง ๆ จึงควรตรวจสอบข้อมูลในกิจกรรมที่จะร่วมทำบุญว่า เป็นความจริงหรือไม่ อย่างไร ก่อนจะร่วมบริจาคเงินร่วมทำบุญออนไลน์ “มีสติ”…

ดีอีเอส จับมือ ETDA ลุย 10 จังหวัดทั่วไทย สร้างภูมิคนไทยรู้ทัน ปัญหาออนไลน์

Loading

  กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) จัดงานแถลงข่าว Kick off เปิดตัวโปรเจค “1212 ETDA Workshop : สร้างภูมิคนไทยรู้ทัน ปัญหาออนไลน์” จับมือพาร์ทเนอร์ลุยพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันโลกออนไลน์และกระบวนการช่วยเหลือหากต้องตกเป็นเหยื่อภัยออนไลน์ แก่เจ้าหน้าที่ ข้าราชการ และผู้นำท้องถิ่นในพื้นที่ 10 จังหวัดทั่วประเทศ เริ่มจังหวัดแรก 25 มกราคมนี้   นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะประธานเปิดงาน กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่ยุคดิจิทัล ทุกกิจกรรมขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและการทำธุรกรรมออนไลน์กันแทบทั้งสิ้น แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ไม่เพียงช่วยอำนวยความสะดวก ให้เราสามารถดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ติดต่อสื่อสาร ทำงาน ตลอดจนทำธุรกิจได้รวดเร็ว เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้มากขึ้นเท่านั้น   เพราะสิ่งที่ตามมา คือ ภัยหรือปัญหาที่แฝงมากับโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น การฉ้อโกงและอาชญากรรมออนไลน์, แก๊ง Call Center, บัญชีม้า, การหลอกลวงลงทุน-ระดมทุนออนไลน์และหลอกลวงทางการเงิน, การพนันออนไลน์, การหลอกลวงซื้อขายสินค้าและเว็บไซต์ผิดกฎหมาย เป็นต้น…