โลกเสมือนแต่เสี่ยงจริง! นักวิเคราะห์ชี้ ‘Metaverse’ จะมาพร้อมภัยคุกคามไซเบอร์ใหม่ ๆ

Loading

  Bill Gates ผู้ร่วมก่อตั้ง Microsoft คาดการณ์ว่า ภายใน 2-3 ปีข้างหน้า การประชุมแบบเวอร์ชวลจะย้ายไปที่ เมตาเวิร์ส (Metaverse) แต่ลองนึกภาพการพูดคุยเกี่ยวกับข้อตกลงลับมูลค่าหลายล้านดอลลาร์กับเจ้านายผ่านอวตาร์ บทสนทนาจบลงและคุณทั้งคู่ก็จากไป แต่เมื่อกลับมาพบกันอีกครั้งและนำบทสนทนาก่อนหน้านี้ขึ้นมาคุย แต่เจ้านายของคุณจำข้อตกลงนี้ไม่ได้เลย ซึ่งนี่คือสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้หากไม่มีการป้องกัน   แม้ Metaverse ได้รับความสนใจอย่างมากในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา โดยบริษัทต่าง ๆ เช่น Meta หรือ Facebook เดิมและ Ralph Lauren ต่างเร่งรีบเร่งเข้ามาปั้นให้เกิดขึ้นจริง แต่กลับไม่มีการพูดถึงความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ใน Metaverse เลย   Prabhu Ram หัวหน้ากลุ่มข่าวกรองอุตสาหกรรมที่ CyberMedia Research กล่าวว่า ใน Metaverse นั้นมันไม่ได้ปลอดภัยอย่างที่คิด โดยผู้ใช้อาจตกเป็นเหยื่อของการแฮกอวาตาร์ หรือการใช้ Deepfakes ปลอมตัว ขณะที่อาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ตในโลกแห่งความเป็นจริงเริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้นแล้ว   ในขณะที่ธุรกิจต่างเร่งรีบที่จะปักธงไว้ใน Metaverse แต่ไม่ใช่ทุกคนที่อาจตระหนักถึงอันตรายทั้งหมดของโลกใหม่นี้ Check Point…

เครื่องมือรักษาความปลอดภัยพื้นฐานที่ทุกองค์กรต้องมี

Loading

    ทุกวันนี้กระแสการโจมตีทางไซเบอร์มีให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการโจมตีจาก แรนซัมแวร์, แฮกเกอร์, มัลแวร์ และไวรัส ล้วนเป็นภัยคุกคามด้านความปลอดภัยที่แท้จริงในโลกดิจิตอล คุณพร้อมรับมือจากภัยคุกคามเหล่านี้หรือยัง และมีเครื่องมือการรักษาความปลอดภัยขั้นพื้นฐานอะไรบ้างที่ทุกองค์กรควรมี เพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับองค์กรของตนเอง คอมพิวเตอร์ยูเนี่ยนได้เรียงลำดับความสำคัญจากภัยคุกคามทางไซเบอร์สำหรับองค์กรดังนี้ ข้อมูลเป็นส่วนสำคัญของทุกธุรกิจ การปกป้องสภาพแวดล้อมไอทีขององค์กรนั้นสำคัญมาก ทุกองค์กรจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ ที่วันนี้ได้เกิดการโจมตีและส่งผลกระทบต่อธุรกิจในทุกขนาด ไม่ว่าจะเป็นการโจมตีจาก แรนซัมแวร์, แฮกเกอร์, มัลแวร์ และไวรัส ล้วนเป็นภัยคุกคามด้านความปลอดภัยที่แท้จริงในโลกดิจิตอล ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกบริษัทจะต้องตระหนักถึงการโจมตีด้านไซเบอร์ที่เป็นอันตรายต่อการดำเนินธุรกิจขององค์กร และจำเป็นต้องรักษาความมั่นคงปลอดภัยให้แก่องค์กรของตนเองให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา ข้อมูลต่อไปนี้คือเครื่องมือการรักษาความปลอดภัยขั้นพื้นฐานที่ทุกองค์กรควรมี เพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับองค์กรของตนเอง โดยเรียงลำดับจากความสำคัญมากไปน้อย ได้ดังนี้   1.) Network Security Definition: ความปลอดภัยของเครือข่าย คือการป้องกันโครงสร้างพื้นฐานของระบบเครือข่ายจากการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือการเข้าใช้งานในทางที่ผิด โดยจะเกี่ยวข้องกับการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ปลอดภัยสำหรับ อุปกรณ์ปลายทาง, เครื่องแม่ข่าย, ผู้ใช้ และแอปพลิเคชัน เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างปลอดภัยและถูกต้อง Solutions: Firewall ไฟร์วอลล์เป็นอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยแบบฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ – ที่ตรวจสอบการรับส่งข้อมูลเครือข่ายทั้งขาเข้าและขาออก และกำหนดว่าจะบล็อกการรับส่งข้อมูลตามกฎความปลอดภัยที่กำหนดไว้ล่วงหน้าหรือไม่ ไฟร์วอลล์ยังสามารถป้องกันซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตรายไม่ให้เข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายผ่านทางอินเทอร์เน็ต และยังสามารถกำหนดค่าให้บล็อกข้อมูลตามตำแหน่งได้ (เช่น ที่อยู่ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์) แอปพลิเคชัน หรือพอร์ต…

ตร.ถก 4 องค์กร แก้ปัญหาลักลอบหักบัญชีธนาคาร ผู้เสียหายหลักหมื่นคน แจ้งความได้ทุกสน.ทั่วประเทศ

Loading

  บิ๊กเด่นหารือส.ธนาคารไทย-แบงก์ชาติ-กสทช.-ปปง.แก้ปัญหาลักลอบหักบัญชีธนาคาร ผู้เสียหายหลักหมื่น ใคเปิดแจ้งความทุกสน.ทั่วประเทศ ถือเป็นภัยคุกคามระดับชาติ เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 19 ตุลาคม ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร. พล.ต.ท.ปรีชา เจริญสหายานนท์ ผู้ช่วย ผบ.ตร. ประชุมร่วมตัวแทนสมาคมธนาคารไทย,ธนาคารแห่งประเทศไทย,สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือ ปปง. เพื่อวางแนวทางแก้ปัญหากรณีมีการลักลอบหักเงินจากบัญชีธนาคาร บัตรเครดิต หรือบัญชีเดบิต ของประชาชนจำนวนมาก โดย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ เปิดเผยก่อนการประชุมว่า เบื้องต้นจากการพูดคุยกับทางธนาคารคาดว่ามียอดผู้เสียหายหลักหมื่นคน ซึ่งบางส่วน ทยอยเข้าแจ้งความกับตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ สอท. และ ศูนย์ปราบปรามการอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ศูนย์ PCT แล้ว ซึ่งหากผู้ใดได้รับความเดือดร้อน สามารถเข้าแจ้งความได้ที่สถานีตำรวจทั่วประเทศ ก็จะมีการเชื่อมโยงข้อมูลมาที่ส่วนกลางทันที โดยเมื่อวานนี้(18 ตุลาคม) มีผู้เสียหายที่กรอกข้อมูลผ่านแบบฟอร์มของ บช.สอท. ทั้งหมด 33 ราย…

เกาหลีเหนือกล่าวหาว่าญี่ปุ่นใช้ภัยทางไซเบอร์เป็นข้ออ้างในการขยายอิทธิพล

Loading

  สำนักข่าว KCNA ของรัฐบาลเกาหลีเหนือได้เผยแพร่คำวิจารณ์ของคิมซอลฮวา (Kim Sol Hwa) นักวิจัยจากสถาบันญี่ปุ่นศึกษา แห่งกระทรวงการต่างประเทศของเกาหลีเหนือ ที่ระบุว่ายุทธศาสตร์ไซเบอร์ฉบับใหม่ของญี่ปุ่นที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติเมื่อวันที่ 28 กันยายนที่ผ่านมามีเนื้อหาใส่ร้ายเกาหลีเหนือ และเป็นเสมือนแผนการรุกรานอย่างโจ่งแจ้ง เนื่องจากยุทธศาสตร์ฯ ฉบับดังกล่าวกำหนดให้เกาหลีเหนือ จีน และรัสเซียเป็นประเทศที่เป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ ฉะนั้นจึงถือว่ากระทบต่อความสันติสุขและเสถียรภาพของภูมิภาค เขาอ้างว่าญี่ปุ่นซึ่งเป็น ‘รัฐอาชญากร’ หวังใช้ภัยคุกคามไซเบอร์จากประเทศเพื่อนบ้านที่อุปโลกน์ขึ้นมาเองเป็นเหตุในการพัฒนาขีดความสามารถทางไซเบอร์ในด้านการทหาร คิมซอลฮวายังอ้างว่าการปล่อยดาวเทียมและการทดสอบขีปนาวุธที่ผ่านมาของเกาหลีเหนือนั้นเป็นไปอย่างสันติและทำไปเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการทหาร แต่ญี่ปุ่นกลับเอาไปใช้เป็นข้ออ้างในการเสริมกำลังรบและมาตรการอื่น ๆ เพื่อขยายอิทธิพล “ญี่ปุ่นควรดำเนินการอย่างระมัดระวัง อย่าได้หวังใช้ลูกไม้อ้างความชอบธรรมในการรุกรานเหมือนในอดีต หากญี่ปุ่นไม่เรียนรู้ประวัติศาสตร์ และหวังจะมารุกรานอีกครั้งหนึ่ง ก็จะเป็นเหมืิอนแมงเม่าบินเข้ากองเพลิงเป็นแน่” คิมซอลฮวาระบุทิ้งท้าย โดยอ้างอิงการรุกรานของญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่มา KCNA Watch   ————————————————————————————————————————————————- ที่มา : Beartai      / วันที่เผยแพร่  10 ต.ค.2564 Link : https://www.beartai.com/news/itnews/810366

‘สกมช.’ จับมือ ‘เทรนด์ไมโคร’ ปั้นนักรบไซเบอร์อุดช่องโหว่ขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญ

Loading

  เมื่อมีการใช้งานออนไลน์มากขึ้น ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ได้ง่ายผ่านอุปกรณ์ของตนเอง จึงกลายเป็นการเพิ่มโอกาสให้แฮกเกอร์สามารถเข้าถึงข้อมูล หรือ สร้างภัยหลอกลวงต่างๆ ถึงผู้คนได้ง่าย ดังนั้นคนทุกกลุ่มจึงจำเป็นต้องมีความรู้เท่าทันภัยดังกล่าวเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) จึงถูกตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย มาตรการแนวทางการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ สำหรับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในการป้องกันรับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ทว่า ปัญหาที่สำนักงานและประเทศไทยกำลังเผชิญคือบุคลากรที่จะเข้ามารับมือกับภัยคุกคามไซเบอร์นั้นไม่เพียงพอ   ***ไทยขาดบุคลากรป้องกันภัยไซเบอร์หลักแสนคน ‘พล.อ.ปรัชญา เฉลิมวัฒน์’ เลขาธิการคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ กล่าวว่า เหตุผลที่บุคลากรไซเบอร์ขาดแคลนเป็นเพราะบุคคลเหล่านี้จำเป็นต้องมีความรู้เทคนิครอบด้าน ดังนั้น กว่าจะสร้างบุคคลากรที่ทำงานด้านนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพต้องใช้เวลานานและต้องมีการวางแผนระยะยาวในการสร้างบุคลากรเพื่อมาสนับสนุนการทำงานด้านนี้ของประเทศได้ ขณะที่ สกมช.เป็นสำนักงานที่มีอัตราโครงสร้างพนักงาน 480 คน แต่เนื่องจากการขาดแคลนงบประมาณและการสนับสนุนด้านบุคลากร ทำให้ในปัจจุบันบุคลากรของ สกมช.มีเพียง 40 คนโดยประมาณ บวกกับลูกจ้างอีกประมาณ 20 คน ทำให้สำนักงานประสบปัญหาด้านการดำเนินงาน สกมช.จึงพยายามแสวงหาความร่วมมือจากพันธมิตรต่างๆ ที่จะให้ความร่วมมือกับหน่วยงานในการพัฒนาบุคลากรในทุกมิติ อย่างไรก็ตาม การโจมตีทางไซเบอร์มีการขยายตัวมากขึ้นในช่วงนี้ ส่วนหนึ่งมาจากสถานการณ์โรคระบาดที่ส่งผลให้การใช้งานระบบดิจิทัลมากขึ้น ทำให้มีผู้ไม่ประสงค์ดีมองเห็นโอกาสในการคุกคามความปลอดภัยตามช่องทางเหล่านี้กันมากขึ้น ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่ด้านซิเคียวริตี หรือความมั่นคงปลอดภัยตามหน่วยงานภาคส่วนต่างๆ กันอย่างรัดกุมมากยิ่งขึ้น จึงทำให้ต้องเร่งเสริมสร้างความรู้และยกระดับทักษะด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้แก่บุคลากรของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างเข้มข้น เพื่อให้มีกระบวนการทำงานที่ตระหนักถึงความมั่นคงปลอดภัยเป็นสำคัญ และมีแนวทางและกระบวนการในการรับมือกับภัยคุกคามได้อย่างเท่าทันต่อเหตุการณ์ สำนักงานจึงได้มีการหารือกับบริษัท เทรนด์ไมโคร ประเทศไทย ในฐานะองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในระดับโลก…

อาชญากรรมบนอินเทอร์เน็ต ก่อต้นทุนทางเศรษฐกิจแค่ไหน

Loading

  เมื่อหลายองค์กรถูกโจมตีทางไซเบอร์ และการที่หน่วยงานรัฐถูกจารกรรมข้อมูลบ่อยครั้ง สะท้อนปัญหาอาชญากรรมบนอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นอันตรายต่อเราทุกคน ไม่กี่วันที่ผ่านมา มีข่าวหลายองค์กรถูกโจมตีทางไซเบอร์ ทั้งข้อมูลนักท่องเที่ยวต่างชาติหลายล้านคนที่มาไทยรั่วไหล (22 ก.ย. 2564) ฐานข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขถูกเจาะ ทำให้ข้อมูลคนไข้นับหมื่นคนถูกขโมยไป (7 ก.ย. 2564) การที่หน่วยงานรัฐถูกจารกรรมข้อมูลบ่อยครั้ง สะท้อนปัญหาอาชญากรรมบนอินเตอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้น อันตรายต่อเราทุกคน Cybercrime Magazine ประเมินว่า ในปี 2021 ความเสียหายจากอาชญากรรมบนอินเทอร์เน็ตทั่วโลกสูงถึง 6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ถ้าเทียบความเสียหายคิดเป็นขนาดของ GDP พบว่าเป็นรอง GDP ของประเทศสหรัฐอเมริกาและจีนเท่านั้น ขณะที่ PurpleSec LLC ระบุว่าตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 จำนวนอาชญากรรมบนอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า   อาชญากรรมบนอินเทอร์เน็ตมีหลายประเภท ครอบคลุมตั้งแต่เรื่องความมั่นคงของชาติ ความปลอดภัยของหน่วยงานและบุคคล เรื่องการเงิน เรื่องคุ้มครองข้อมูล ภาพโป๊เปลือย ฯลฯ จากข้อมูลของกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีระบุว่า อาชญากรรมที่พบบ่อยบนอินเทอร์เน็ตมี 8 ประเภท ได้แก่ 1. ด้านการเงิน เช่น…