บึมพลีชีพสยอง ไอเอสฆ่า 44 ศพ ชุมนุมหาเสียงในปากีสถาน

Loading

  การเมืองปากีสถานระอุ เกิดเหตุระเบิดฆ่าตัวตายในงานชุมนุมหาเสียงของพรรคเจยูไอ-เอฟ พรรคร่วมรัฐบาล ตายอย่างน้อย 44 ศพ รวมถึงผู้นำพรรคเจยูไอ-เอฟ สาขาภูมิภาคไคเบอร์ปักตุนฮวา เจ็บกว่าร้อยคน เบื้องต้นคาดเป็นฝีมือ “กลุ่มก่อการร้ายรัฐอิสลามโคราซาน” ขณะที่นายกฯปากีสถานลั่นผู้ก่อการร้ายต้องได้รับการลงโทษอย่างสาสม   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเหตุระทึกขวัญเมื่อวันที่ 31 ก.ค.หลังคนร้ายจุดชนวนระเบิดฆ่าตัวตายกลางงานชุมนุมหาเสียงพรรคร่วมรัฐบาลปากีสถาน ในเมืองคาร์ จังหวัดไคเบอร์ปักตุนฮวา ทางภาคตะวันตกของประเทศ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก   จากการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่ปากีสถานระบุว่า เหตุเกิดเมื่อช่วงเย็นวันที่ 30 ก.ค.ตามเวลาท้องถิ่นปากีสถาน ในงานหาเสียงของพรรคจามิอัต อูเลมา-อี-อิสลาม-ฟาลซ์ (JUI-F) พรรคการเมืองสายศาสนาและพรรคร่วมรัฐบาล โดยคนร้ายที่เบื้องต้นเชื่อว่าเป็นสมาชิกกลุ่มก่อการร้ายรัฐอิสลามโคราซาน หรือไอเอส สาขาปากีสถาน-อัฟกานิสถาน (ISKP) ได้ปะปนเข้าไปในเต็นท์รับรองแกนนำหาเสียง และกดชนวนระเบิดฆ่าตัวตาย   หลังเจ้าหน้าที่และหน่วยกู้ภัยรุดถึงที่เกิดเหตุ พบว่าสภาพเต็มไปด้วยความสยดสยอง เหยื่อเคราะห์ร้ายนอนเกลื่อนกลาดเต็มบริเวณ ขณะที่เต็นท์ผ้าใบได้พังถล่มทับคนที่อยู่ข้างใต้ ไม่สามารถหลบหนีออกมาได้ ต้องรอการช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ เบื้องต้นพบว่าแรงระเบิดส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 44 ศพ และอาจเพิ่มขึ้น หลังมีผู้บาดเจ็บภายในงานมากกว่า 100 คน ในจำนวนนี้อาการสาหัส 15 คน หน่วยกู้ภัยของทางการต้องนำร่างผู้บาดเจ็บขึ้นเฮลิคอปเตอร์ทหารไปรับการรักษาในเมืองเปชวาร์ ที่ระบบการแพทย์ดีกว่า…

ปากีสถาน : ปิดกั้นอินเทอร์เน็ตได้ แต่หยุดการประท้วงไม่ได้

Loading

  ทางการปากีสถานจำกัดการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต และแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ ท่ามกลางความรุนแรงของการประท้วงที่ลุกลามไปทั่วประเทศ หลังมีการจับกุมตัวนายอิมราน ข่าน อดีตนายกฯ ของปากีสถาน   การต่อสู้ระหว่างกลุ่มผู้สนับสนุนนายอิมราน ข่าน และกองทัพอันทรงอำนาจของปากีสถาน ยังคงครองพื้นที่สมรภูมิรบ 2 ช่องทาง ได้แก่บนถนน และในโลกโซเชียลมีเดีย แต่การปิดกั้นอินเทอร์เน็ตดูจะไม่เป็นผล เพราะยิ่งสร้างกระแสไม่พอใจของผู้ที่ประสบความเดือดร้อนเป็นวงกว้างขึ้นทุกที   สถานการณ์ความตึงเครียดทางการเมืองของปากีสถานปะทุขึ้นอย่างรุนแรง หลังจากที่นายอิมราน ข่าน อดีตนายกรัฐมนตรีถูกจับกุมเมื่อวันอังคารที่ 9 พฤษภาคม ที่ผ่านมา โดยในเมืองละฮอร์กลุ่มผู้สนับสนุนนายข่านต่างเคลื่อนไหว และยิ่งทำให้การประท้วงไปในทิศทางที่รุนแรงขึ้น   ภาพของผู้ประท้วงที่ขว้างปาก้อนหิน เพื่อต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ที่ใช้แก๊สน้ำตา มีการเผยแพร่ไปในโลกโซเชียลมีเดีย ขณะที่คลิปขณะที่นายอิมราน ข่านถูกควบคุมตัวโดยทหารก็กลายเป็นคลิปไวรัล   เพื่อหวังควบคุมสถานการณ์ดังกล่าว รัฐบาลจึงตัดสินใจปิดกั้นอินเทอร์เน็ตทั่วประเทศ ทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้าเฟซบุ๊ก ยูทูบ หรือทวิตเตอร์ แม้แต่คลื่นโทรศัพท์ก็ถูกบล็อกในบางพื้นที่อย่างไม่มีกำหนด เพื่อหวังลดกระแสความร้อนแรงลง แต่ผลกลับออกมาในทิศทางตรงข้าม เมื่อเกิดการประท้วงเป็นวงกว้างทั่วประเทศ ประชาชนบางส่วนเข้าระบบ VPNs โดยมีการใช้งานพุ่งสูงขึ้นถึง 1,300 เปอร์เซ็นต์ ส่วนใครที่ยังสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ก็ใช้การสื่อสารผ่าน วอตส์แอป     “ข่าวจริง”…

ศาลปากีสถานอนุมัติ ประกันตัวอดีตนายกฯ ”อิมราน ข่าน”

Loading

    อดีตนายกรัฐมนตรีอิมราน ข่าน ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว จากศาลสูงกรุงอิสลามาบัด หลังการที่ตำรวจจับกุมอดีตผู้นำ เมื่อต้นสัปดาห์นี้ จุดชนวนการประท้วงรุนแรงในปากีสถาน   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงอิสลามาบัด ประเทศปากีสถาน เมื่อวันที่ 12 พ.ค. ว่า ศาลไฮคอร์ตแห่งกรุงอิสลามาบัด มีคำพิพากษาให้นายอิมราน ข่าน อดีตนายกรัฐมนตรี “ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว เป็นเวลาเบื้องต้น 2 สัปดาห์” และห้ามตำรวจควบคุมตัวอดีตผู้นำ วัย 70 ปี   ความเคลื่อนไหวดังกล่าวของศาลไฮคอร์ตเกิดขึ้น หลังศาลฎีกาของปากีสถานมีคำพิพากษา เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ว่าการที่ตำรวจจู่โจมจับกุมนายอิราน ข่าน อดีตนายกรัฐมนตรี ระหว่างการขึ้นศาลสูง ในกรุงอิสลามาบัด เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา “ไม่ชอบด้วยกฎหมาย” เนื่องจากเป็นการดำเนินการภายในเขตอำนาจศาล และขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยุติขั้นตอนที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งหมายถึงการให้ปล่อยตัวข่าน     อย่างไรก็ตาม ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่า คำสั่งศาลจะช่วยคลี่คลายบรรยากาศตึงเครียดทางการเมืองในปากีสถานได้มากน้อยเพียงใด เนื่องจากข่านยังคงเผชิญกับการถูกฟ้องร้องหลายคดี รวมถึงข้อหาฉ้อโกง จากการที่อดีตนายกรัฐมนตรีปากีสถาน รับสินบนเป็นที่ดินจากนักธุรกิจใหญ่คนหนึ่ง เพื่อแลกกับผลประโยชน์ทางการเมือง ระหว่างดำรงตำแหน่งผู้นำรัฐบาล และการนำของกำนัลซึ่งได้รับระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี…

ปากีสถานประท้วงเดือด หลังอดีตนายกฯ อิมราน ข่าน ถูกจับกุม ชี้เกี่ยวพันกับแรงจูงใจทางการเมือง

Loading

  บรรดากลุ่มผู้สนับสนุนอดีตนายกรัฐมนตรีอิมราน ข่าน ของปากีสถานต่างออกมาชุมนุมประท้วงเดือดในหลายเมืองสำคัญทั่วประเทศ หลังข่านถูกจับกุมตัวเมื่อวานนี้ (9 พฤษภาคม) ตามเวลาท้องถิ่น ขณะกำลังเข้าฟังกระบวนการพิจารณาคดีคอร์รัปชันที่เขาให้การว่า ข้อกล่าวหาดังกล่าวถูกตั้งขึ้นด้วยแรงจูงใจทางการเมือง ณ ศาลสูงในกรุงอิสลามาบัด เมืองหลวงของปากีสถาน หลายพื้นที่สถานการณ์บานปลายกลายเป็นเหตุปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคง เป็นเหตุให้มีผู้ชุมนุมในเมืองเก็ตตาเสียชีวิตอย่างน้อย 1 ราย ทางด้านรัฐบาลสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร เฝ้าติดตามสถานการณ์นี้อย่างใกล้ชิด พร้อมเรียกร้องให้ทางการปากีสถานยึดมั่นในหลักนิติธรรม โดยข่านถูกขับออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเดือนเมษายนปี 2022 หลังถูกกล่าวหาในหลายคดี และข่านได้เดินหน้ารณรงค์ให้ปากีสถานจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่ ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงปลายปีนี้ พร้อมทั้งยืนยันว่า ตนเองไม่ได้ทำอะไรผิด ข้อกล่าวหาทั้งหมดเป็นไปเพื่อกำจัดเขาในฐานะศัตรูทางการเมือง ทางด้านพรรค Tehreek-e-Insaf หรือพรรค PTI ของข่าน ได้ประท้วงการจับกุมดังกล่าว พร้อมเรียกร้องให้สมาชิกพรรคและบรรดากกลุ่มผู้สนับสนุนข่าน ออกมารวมตัวชุมนุมประท้วงทั่วประเทศ โดยข่านเคยคาดการณ์ไว้ว่าสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดอาจเกิดขึ้นหากตัวเขาถูกจับกุม นั่นจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ปากีสถานเข้าสู่ความโกลาหลและภาวะอนาธิปไตย ไร้กฎไร้ระเบียบ ขณะที่ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจที่จับกุมข่านชี้แจงว่า เขาได้รับคำสั่งให้จับกุมอดีตผู้นำปากีสถานวัย 70 ปี เนื่องจากข่านมีส่วนพัวพันกับการทุจริตคอร์รัปชันและการประพฤติมิชอบ โดยเฉพาะกรณีจัดสรรที่ดิน Al-Qadir Trust ของข่านและภรรยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยข่านชนะการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี 2018 กวาดคะแนนเสียงไป 31.82% และคว้าไป 149 ที่นั่ง…

ตำรวจปากีฯ จับกุม ‘วิศวกรจีน’ หลังชาวบ้านลุกฮือประท้วงเดือด ‘ดูหมิ่นอิสลาม’

Loading

    ตำรวจปากีสถานจับกุมวิศวกรชาวจีน ซึ่งถูกกล่าวหาว่าพูดจา “ดูหมิ่นพระเจ้า” จนทำให้ชาวมุสลิมในพื้นที่โกรธแค้น และพยายามบุกเข้าไปทำร้ายร่างกาย   รายงานระบุว่า ชายที่ชื่อ “เทียน” ซึ่งเป็นวิศวกรดูแลเครื่องจักรกลหนักของบริษัท China Gezhouba Group Company ซึ่งรับผิดชอบโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำในย่านดาซู (Dasu) ของเขตโคฮิสตาน (Kohistan) ถูกจับเมื่อค่ำวันอาทิตย์ (16 เม.ย.) ที่บ้านพักของเขาเอง หลังมีชาวบ้านหลายร้อยคนพากันไปปิดล้อมพื้นที่ ร้องตะโกนขู่ฆ่า และขว้างปาก้อนหินใส่ที่พักของเขา ตามรายงานของหนังสือพิมพ์เซาท์ไชน่ามอร์นิงโพสต์ (SCMP)   ด้านสำนักข่าว VOA ระบุว่า ตำรวจซึ่งเดินทางไปยังจุดเกิดเหตุถึงขั้นต้อง “ยิงปืนขู่” เพื่อให้ชาวบ้านยอมสลายตัวไป ขณะที่นายเทียน ถูกแจ้งความฐาน “พูดจาดูหมิ่น และแสดงท่าทางล้อเลียนพระอัลเลาะห์และศาสดาของชาวมุสลิม” ระหว่างที่คนงานชาวมุสลิมทำพิธีละหมาดในวันก่อนหน้า   รายงานระบุว่า เทียน ยังได้กล่าวตำหนิคนขับรถ 2 คนว่า “ใช้เวลาละหมาดนานเกินไป” จนทำให้เกิดมีปากเสียงกันขึ้น   เวลานี้ชาวมุสลิมทั่วโลกอยู่ในช่วงของการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ซึ่งจะต้องงดเว้นจากการรับประทานอาหารและน้ำดื่มตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตกดิน รวมถึงต้องให้ความสำคัญกับการละหมาดและการทบทวนจิตใจ   ด้านสื่อ…

เหตุระเบิดคร่าชีวิตอย่างน้อย 4 รายทางตะวันตกเฉียงใต้ของปากีสถาน

Loading

  เหตุระเบิดในแคว้นบาลูจิสถานทางตะวันตกเฉียงใต้ของปากีสถาน คร่าชีวิตผู้คนอย่างน้อย 4 ราย และบาดเจ็บอีก 15 คน   เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันจันทร์ที่ 10 เมษายน 2566 กล่าวว่า เกิดเหตุระเบิดกลางตลาดที่พลุกพล่านในเควตตา ซึ่งเป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของแคว้นบาลูจิสถาน ประเทศปากีสถาน รวมทั้งที่ตั้งของกลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดนและกลุ่มติดอาวุธอิสลามิสต์หลายกลุ่ม   “การสอบสวนเบื้องต้นบ่งชี้ว่าการระเบิดเกิดจากระเบิดแสวงเครื่องซึ่งติดตั้งบนรถจักรยานยนต์และจุดชนวนด้วยรีโมทคอนโทรล โดยระเบิดดังกล่าวเชื่อว่าพุ่งเป้าไปที่รถตำรวจ” อัซฟาร์ เมห์ซาร์ เจ้าหน้าที่ตำรวจบอกกับเอเอฟพี   “มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 4 รายในเหตุการณ์นี้ แบ่งเป็นตำรวจ 2 รายและพลเรือน 2 ราย” เขากล่าวเสริม   โรงพยาบาลท้องถิ่นในเมืองเควตตายืนยันยอดผู้เสียชีวิตดังกล่าว และเสริมว่ามีพลเรือนได้รับบาดเจ็บ 15 คน โดยหนึ่งในนั้นเป็นเด็กหญิงวัย 5 ขวบ   กองทัพปลดปล่อยบาลูจ ซึ่งเป็นกลุ่มแบ่งแยกดินแดน ได้ออกมาอ้างความรับผิดชอบในการโจมตีดังกล่าว แต่ไม่ได้กล่าวถึงการเสียชีวิตของพลเรือน โดยออกแถลงการณ์แค่เพียงว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจ 2 นายถูกสังหารเนื่องจากการปฏิบัติต่อพลเรือนของบาลูจิสถานอย่างไร้มนุษยธรรมภายใต้ข้ออ้างของการสืบสวน   ปากีสถานต่อสู้กับการก่อความไม่สงบเป็นเวลานานหลายปีโดยกลุ่มติดอาวุธในบาลูจิสถานซึ่งกำลังเรียกร้องส่วนแบ่งที่มากขึ้นจากความมั่งคั่งของแคว้นนี้ เช่นเดียวกับการโจมตีของกลุ่มเตห์รีค-อี-ตอลิบัน (ทีทีพี)…