ETDA เปิดศูนย์ธรรมาภิบาล AI ดันแผนขับเคลื่อน 4 มิติ หนุนใช้ AI อย่างรับผิดชอบ

Loading

  เอ็ตด้า พร้อม พาร์ทเนอร์ทั้งไทยและต่างประเทศ จัดใหญ่เปิดตัว “ หรือ AI Governance Clinic by ETDA (AIGC)” ลุยยกระดับมาตรฐาน AI ดันประเทศประยุกต์ใช้ AI อย่างรับผิดชอบ ผนึกพันธมิตร กระจายความรู้เกี่ยวกับธรรมาภิบาลการใช้ AI ทางการแพทย์   ดร.ชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการ ETDA กล่าวว่า ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) เป็นเทคโนโลยีที่กำลังมีบทบาทในปัจจุบัน และทั่วโลกต่างให้ความสำคัญ และเร่งพัฒนานโยบาย มาตรฐาน และหลักธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI Governance เพื่อเป็นกรอบหรือทิศทางในการประยุกต์ใช้งาน AI ได้อย่างสร้างสรรค์ และมีประสิทธิภาพ เป็นไปตามหลักจริยธรรม และธรรมาภิบาลที่ควรจะเป็นอย่างต่อเนื่อง   สำหรับประเทศไทย จากการจัดอันดับดัชนีความพร้อมด้านปัญญาประดิษฐ์ของรัฐบาล (Government Artificial Intelligence Readiness Index)…

“เอ็ตด้า”เปิดตัวศูนย์ธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์

Loading

  เอ็ตด้า จับมือพาร์ทนอร์ เปิดศูนย์ธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอจีซี ในวันที่ 8 พ.ย. นี้ เป็นแหล่งรวมความรู้และผู้เชี่ยวชาญด้านธรรมาภิบาลการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ ทั้งในและต่างประเทศ   นายชัยชนะ มิตรพันธ์  ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ เอ็ตด้า เปิดเผยว่า เอ็ตด้า เตรียมเปิดตัว “ศูนย์ธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์” หรือ เอไอจีซี  ในวันที่ 8 พ.ย. นี้ ซึ่งเป็นแหล่งรวมความรู้และผู้เชี่ยวชาญด้านธรรมาภิบาลการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ ทั้งในและต่างประเทศ หลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีการอนุมัติแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทยระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2565-2570) ไปแล้ว โดยหนึ่งในยุทธศาสตร์ของแผนดังกล่าว คือ  การเตรียมพร้อมให้การประยุกต์ใช้ เอไอ อย่างมีธรรมาภิบาล มีกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ใช้งานมีความรับผิดชอบต่อสังคม   “ปัจจุบันเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ได้เข้ามามีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนชีวิตของเราในทุกมิติ ทั้ง การทำงาน การทำธุรกิจ การเรียนการสอน การทำธุรกรรมทางการเงิน…

กรรมการข้อมูลส่วนบุคคลอังกฤษเตือน การวิเคราะห์อารมณ์ความรู้สึกมีความเสี่ยงสูง ต้องใช้อย่างระวัง

Loading

  สำนักงานกรรมการข้อมูลส่วนบุคคลสหราชอาณาจักร (Information Commissioner’s Office – ICO) ออกแถลงเตือนถึงการใช้ปัญญาประดิษฐ์วิเคราะห์อารมณ์ว่ามีความเสี่ยงสูงยิ่งกว่าการเก็บข้อมูลชีวมาตร (biometric) เสียอีก และหน่วยงานใดที่ต้องการใช้ข้อมูลเหล่านี้ต้องระวัดระวังอย่างมากก่อนเริ่มใช้งาน ไม่เช่นนั้นจะถูก ICO สอบสวน   ข้อมูลอารมณ์ตามนิยามของ ICO กินความหมายกว้าง นับแต่การวิเคราะห์ความรู้สึก (setiment analysis), การตีความใบหน้า, อัตราการเต้นหัวใจ, เหงื่อตามผิวหนัง, หรือการจับจ้อง ปัญหาของกระบวนการเหล่านี้ในมุมมองของ ICO คือกระบวนการพัฒนายังไม่สมบูรณ์และเสี่ยงต่อการเหยียดคนบางกลุ่มเป็นพิเศษ   นอกจากการเตือนถึงการใช้งานข้อมูลอารมณ์แล้ว ICO ยังประกาศว่าจะออกแนวทางการเก็บข้อมูลชีวมาตร เช่น ลายนิ้วมือ, ลักษณะเสียง, หรือข้อมูลใบหน้า ว่ามีแนวทางการใช้งานที่ดีและมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้ได้อย่างไรบ้าง เพราะข้อมูลเหล่านี้หากหลุดไปแล้วไม่สามารถเปลี่ยนได้อีกตลอดชีวิต โดยรายงานน่าจะออกมากลางปี 2023   ภาพโดย AbsolutVision ที่มา – ICO     ———————————————————————————————————— ที่มา :         …

Google เผย AudioLM ปัญญาประดิษฐ์สร้างเสียงจนแยกไม่ออกจากต้นฉบับ

Loading

  นักวิจัยจาก Google เผยรายละเอียดของ AudioLM ปัญญาประดิษฐ์ตัวใหม่ที่สามารถสร้างเสียงได้จากการป้อนข้อมูลเข้าไป   AudioLM สามารถสังเคราะห์เสียงที่ซับซ้อนอย่างเพลงที่ใช้เปียโนเล่น หรือแม้แต่เสียงคนคุยกัน ผลก็คือได้เสียงที่มีคุณภาพแทบไม่ต่างจากเสียงจริง ๆ   Google ฝึกปัญญาประดิษฐ์ชนิดนี้ด้วยการป้อนฐานข้อมูลเสียง ซึ่ง AudioLM จะใช้ Machine Learning ในการบีบอัดไฟล์เสียงให้เป็นไฟล์ข้อมูลเสียงชิ้นเล็ก ๆ ที่เรียกว่าโทเค็น ก่อนที่จะป้อนโทเค็นนี้เข้าไปให้โมเดล Machine-Learning เรียนรู้แบบแผนและรายละเอียดปลีกย่อยของเสียงนั้น ๆ   สำหรับการใช้งาน AudioLM ในการสังเคราะห์เสียงนั้น เพียงแค่ป้อนเสียงความยาวไม่กี่วินาทีเข้าไป ตัว AudioLM ก็จะคาดเดาความต่อเนื่องของเสียงที่ควรจะมาหลังจากนั้น โดย AudioLM สามารถสังเคราะห์ได้ทั้งเสียงคนพูดหรือเสียงเครื่องดนตรี จากเสียงต้นฉบับความยาวเพียง 3 วินาที ให้กลายเป็น 10 วินาที โดยไม่ซ้ำรูปแบบกันได้   ทั้งนี้ เราสามารถให้ AudioLM ผลิตเสียงได้โดยไม่ต้องป้อนเสียงเข้าไปก็ได้ แต่ให้ผลิตเสียงจากข้อมูลที่มีอยู่แล้ว   จากตัวอย่าง จะพบว่า AudioLM…

สหรัฐฯ เสนอเค้าโครงบัญญัติสิทธิที่วางกรอบการใช้ปัญญาประดิษฐ์

Loading

  รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเสนอเค้าโครงบัญญัติสิทธิด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI Bill of Rights) ที่ตั้งใจเขียนขึ้นมาเพื่อกำหนดกรอบและเสนอแนวทางเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์   สำนักประธานาธิบดี (ทำเนียบขาว) เผยว่าบัญญัติฉบับนี้ต้องการควบคุมให้ปัญญาประดิษฐ์ถูกนำไปใช้ในเชิงสร้างสรรค์ อาทิ การพัฒนาคุณภาพชีวิต และการเพิ่มคุณภาพการจ้างงาน ในขณะเดียวกันก็ป้องกันการไปใช้ในเชิงลบด้วย   เนื้อหาของเค้าโครงบัญญัติสิทธิด้านปัญญาประดิษฐ์มีหลักสำคัญ 5 ประการ ได้แก่ การรักษาระบบที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ การป้องกันไม่ให้มีการสร้างอัลกอรึทึมที่ส่งเสริมการเลือกปฏิบัติ การรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูล การแจ้งละเอียดของปัญญาประดิษฐ์ และการระบุถึงตัวเลือกอื่น ๆ นอกเหนือไปจากปัญญาประดิษฐ์ พร้อมด้วยผลเสียของเทคโนโลยี   โดยเค้าโครงนี้จะใช้กับ “ระบบอัตโนมัติ (Automated System) ที่มีศักยภาพในการสร้างผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อสิทธิ โอกาส หรือการเข้าถึงทรัพยากรหรือบริการสำคัญของชาวอเมริกัน”     ที่มา ZDNET       ——————————————————————————————————————————————– ที่มา :          Beartai         …

ผู้บริหาร Microsoft เตือนภัยจาก Deepfakes ในอนาคตที่อาจสมจริงถึงขั้นที่ไม่มีทางจับได้

Loading

  งานวิจัยชิ้นล่าสุดของ เอริก ฮอร์วิตซ์ (Eric Horvitz) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิทยาศาสตร์ของ Microsoft ในชื่อ ‘On the horizon: Interactive and compositional deepfakes’ คาดการณ์ไว้ว่าเทคโนโลยี Deekfakes ในอนาคตอาจพัฒนาไปไกลถึงขั้นที่ถูกนำมาใช้แบบเรียลไทม์ได้   Deepfakes คือการดัดแปลงคลิปวีดิโอโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ และ Machine Learning เพื่อสร้างคลิปวีดิโอที่ทำให้ดูเหมือนว่าคน ๆ หนึ่งพูดในสิ่งที่เขาไม่เคยพูดจริง ๆ ได้   ฮอร์วิตซ์เชื่อว่า Deepfakes ในอนาคตอาจก้าวหน้าไปจนถึงขนาดที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานแบบเรียลไทม์ได้   นอกจากนี้ Deepfakes ในอนาคตอาจมีความสมจริงไปจนถึงขั้นที่สังเคราะห์ภาพประวัติศาสตร์ของเหตุการณ์โลกที่ไม่เคยเกิดขึ้นจริงได้ หรือที่เรียกว่า Synthetic history (ประวัติศาสตร์สังเคราะห์)   ยิ่งไปกว่านั้น ภาพ Deepfakes ที่สมจริงมากอยู่แล้วในปัจจุบัน อาจยิ่งมีความสมจริงยิ่งขึ้นจนเราไม่สามารถแยกแยะว่าภาพไหนจริงหรือปลอมได้อีกต่อไป รวมถึงยังอาจสามารถหลอกเครื่องมือตรวจจับข้อมูลเท็จที่ล้ำหน้าได้ด้วย     ที่มา TechRadar    …