ข่าวลวงทำประท้วงป่วนปาปัว ตาย 20 เจ็บ 70

Loading

เจ้าหน้าที่จังหวัดปาปัวของประเทศอินโดนิเซียเปิดเผยว่ามีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 20 ราย และได้รับบาดเจ็บอีก 70 คน ซึ่งจำนวนนี้ 3 รายถูกยิงโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ หลังเกิดเหตุประท้วงที่ลุกลามกลายเป็นความรุนแรง โดยกลุ่มผู้ประท้วงหลายร้อยคนออกมาร่วมการประท้วงเนื่องจากมีข่าวลือว่ามีครูคนหนึ่งได้ทำการเหยียดนักเรียนซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ โดยเรียกเด็กนักเรียนว่า “ลิง” กลุ่มผู้ประท้วงได้จุดไฟเผาอาคารที่ทำการของรัฐบาลท้องถิ่น ร้านค้า บ้านเรือนของผู้คน รวมถึงรถและมอเตอร์ไซค์บนถนนหลายสายบนถนนหลายสายที่มุ่งหน้าไปยังสำนักงานท้องถิ่นของเมืองวาเมนา ที่มีการลือว่าเป็นต้นตอของเหตุดังกล่าว โดยผู้คนจำนวนมากเสียชีวิตเพราะติดอยู่ในบ้านและร้านค้าที่เกิดไฟไหม้ เจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่า หลังตรวจสอบข้อมูลแล้วไม่พบว่ามีหลักฐานของการเหยียดชาติพันธุ์ต่อนักเรียนอย่างที่มีการกล่าวอ้างแต่อย่างใด ซึ่งตำรวจเชื่อว่าข่าวลวงนี้ถูกปล่อยออกมาด้วยความตั้งใจที่จะสร้างความวุ่นวายในสังคม —————————————————- ที่มา : มติชน / 24 กันยายน 2562 Link : https://www.matichon.co.th/foreign/news_1683636

ชุมนุมยุค 2019 ชาวฮ่องกงป้องกันการสอดแนมออนไลน์ และไม่ทิ้งรอยเท้าดิจิทัลอย่างไร

Loading

แม้จะใช้เครื่องมือดิจิทัลต่างๆ มากมายในการชุมนุมเพื่อต่อต้านร่างกฎหมายส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนไปยังจีนแผ่นดินใหญ่ของชาวฮ่องกงครั้งนี้ แต่ประสบการณ์จาก Occupy Central เมื่อปี 2014 ก็ทำให้ผู้ชุมนุมปรับเปลี่ยนกลวิธีเพื่อปกป้องตัวเองเพิ่มขึ้น ให้ความสำคัญกับการรักษาข้อมูลส่วนตัวในการใช้เครื่องมือดิจิทัลมากขึ้น เพราะเกรงว่าอาจถูกนำมาใช้ดำเนินคดีทางกฎหมายได้ในภายหลัง เมื่อปี 2014 แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียกำลังได้รับความนิยม มีการใช้เฟซบุ๊กและทวิตเตอร์อย่างกว้างขวาง ครั้งนั้นตำรวจจับกุมชายคนหนึ่ง โดยอ้างว่าเขาโพสต์ข้อความชวนคนมาชุมนุมผ่านเว็บบอร์ด  และมีการส่งข้อความที่เป็นมัลแวร์แพร่กระจายไปทั่ววอทซแอป (WhatsApp) ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นการติดตั้งซอฟต์แวร์แอบดักฟังโดยเจ้าของเครื่องไม่รู้ตัว นักวิจัยกล่าวว่าส่วนใหญ่มาจากรัฐบาลจีน ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เติบโตมาในโลกดิจิทัล และตระหนักดีถึงอันตรายจากการสอดแนมและการทิ้งรอยเท้าดิจิทัล ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีจดจำใบหน้าจากจีนแผ่นดินใหญ่และการเก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ทำให้ผู้ชุมนุมเตรียมหาทางหลบหลีกเทคโนโลยีการสอดส่องประชาชนหลายรูปแบบ ครั้งนี้ ในวันแรกๆ ของการชุมนุมมีการเผยแพร่คู่มือ คีย์บอร์ด ฟรอนท์ไลน์ องค์กรรณรงค์เสรีภาพเน็ต เผยแพร่แผ่นพับว่าด้วยการปกป้องตัวตนสำหรับผู้ชุมนุม ตั้งแต่แนะนำไม่ให้ใช้ไวไฟสาธารณะ ทิ้งโทรศัพท์ไว้ที่บ้าน หรือแม้แต่ห่อบัตรประชาชน หนังสือเดินทาง บัตรของธนาคารด้วยแผ่นอะลูมิเนียม เพื่อไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวรั่วไหลได้ จากการใช้สแกนเนอร์จากคลื่นความถี่ RFID ปกติแล้ว คนฮ่องกงใช้วอทซแอปเป็นช่องทางในการสื่อสารหลัก แต่สำหรับการชุมนุม พวกเขาเปลี่ยนมาใช้แอปที่เข้ารหัสอย่าง เทเลแกรม (Telegram) แทน เพราะเชื่อว่าคุ้มครองความเป็นส่วนตัวและปลอดภัยกว่า และเพราะว่าสามารถสร้างกลุ่มสนทนาได้ใหญ่กว่าด้วย เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน เทเลแกรมประกาศว่า แอปเทเลแกรมเป็นเป้าหมายของการจู่โจมทางไซเบอร์ด้วยวิธี DDoS ต้นทางมาจากจีนแผ่นดินใหญ่…

อินโดฯบล็อกโซเชียลมีเดีย สกัดข่าวปลอมแพร่กระจายหลังประกาศผลเลือกตั้ง

Loading

อินโดฯ บล็อกโซเชียลมีเดียบางส่วน หลังผู้กลุ่มหนุนปราโบโวก่อจลาจลรุนแรงไม่ยอมรับผลเลือกตั้ง ด้านโจโกวีลั่นไม่ยอมให้ใครขวางประชาธิปไตย ทางการอินโดนีเซียสั่งบล็อกการเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียในบางส่วน ทั้งเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ หลังจากพบว่ามีการส่งต่อข้อมูลทั้งข้อความ ภาพถ่าย และวิดิโอที่เป็นข่าวปลอมกันอย่างแพร่หลายในกลุ่มผู้ประท้วงที่สนับสนุนนายพลปราโบโวที่ก่อจลาจลรุนแรงไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งจนส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 6 ราย บาดเจ็บอีกราว 200 คน “เพื่อหลีกเลี่ยงการยั่วยุการแพร่กระจายข่าวปลอมผ่านชุมชนเราจะ จำกัด การเข้าถึงฟีเจอร์บางอย่างบนโซเชียลมีเดีย” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสื่อสารและข้อมูลสารสนเทศของอินโดนีเซีย ข่าวปลอมต่อต้านจีนเต็มโซเชียล มีรายงานว่าเกิดการส่งต่อข้อมูลข่าวปลอมในกลุ่มผู้ประท้วงที่สนับสนุนนายพลปราโบโวซึ่งไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง ว่าในบรรดาเจ้าหน้าที่ตำรวจที่สังหารผู้ประท้วงจนเสียชีวิตนั้นเป็นชาวอินโดฯเชื้อสายจีน ข้อความดังกล่าวถูกส่งต่อกันอย่างแพร่หลายในสื่อโซเชียลของอินโดฯตลอดตั้งแต่ช่วงเมื่อคืนที่ผ่านมาต่อเนื่องจนถึงในวันนี้ซึ่งมีรายงานพบการจลาจลปะทะกับเจ้าหน้าที่ จนทางเจ้าหน้าที่ต้องมีการใช้แก๊สน้ำตาเข้าควบคุมสถานการณ์ กลุ่มผู้ชุมนุมบางคนได้ใช้ข้อความว่า “Usir Cina” (ไล่จีน) และ “Awas Asing” (ระวังคนต่างชาติ) เป็นข้อความในการประท้วง ท่ามกลางข้อครหาในตัวประธานาธิบดีโจโกวีว่าเป็นผู้ที่เข้าหาทางการจีนมากเกินไป ขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุมได้ปักหลักชุมนุมประท้วงที่ด้านหน้าของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งอินโดฯ (KPU) ขณะที่สื่อท้องถิ่นยังรายงานว่าทางการได้ส่งทหารราว 30,000 นายเข้าเมืองหลวงเพื่อรักษาความสงบพร้อมกับเฮลิคอปเตอร์ ประธานาธิบดีโจโกวี ซึ่งชนะการเลือกตั้งด้วยผลคะแนน 55.5% เหนือคู่แข่งคือนายพลซูเบียนโตที่ได้ 44.5% กล่าวในวันนี้ว่า ผลจะทำงานร่วมกับทุกคนที่ทำเพื่อพัฒนาประเทศนี้ แต่ผมจะไม่ยอมให้ใครก็ตามที่ขัดขวางความมั่นคง กระบวนการประชาธิปไตยและความสามัคคีของประเทศอันเป็นที่รักของเรา” “ไม่มีทางเลือกอื่น ทหารและตำรวจจะดำเนินการต่อผู้ชุมนุมที่ก่อจลาจลรุนแรงอย่างเข้มงวด” ประธานาธิบดีโจโกวีกล่าว นอกจากนี้ผู้นำอินโดฯ ยังกล่าวถึงเหตุจลาจลว่า “เจ้าหน้าที่มีหน้าที่รักษาสถานการณ์ที่วุ่นวานในจาการ์ต้าเพื่อควบคุมกลุ่มผู้ประท้วง”…