“ดีอีเอส” ยกระบบไซเบอร์ซิเคียวริตี้ด้านการเงินไทยแกร่งสุด !!

Loading

  ระบุทุกภาคส่วนมีแนวโน้มการปรับตัวสู่ยุคดิจิทัล ดันปัญหาความปลอดภัยไซเบอร์เป็นภัยใกล้ตัว ย้ำนายกรัฐมนตรีใส่ใจ ความปลอดภัย ไซเบอร์ กับประชาชน หนุนเสริมขีดความสามารถรับมือภัยคุกคามไซเบอร์ วอนทุกภาคส่วนตระหนักและสร้างความเข้าใจ ร่วมขับเคลื่อนการทำงาน นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวในการเปิดงานสัมมนา “ไทยกับความปลอดภัยไซเบอร์ 2022” วันนี้ (30 มี.ค.65) ว่า ปัจจุบันความปลอดภัยทางไซเบอร์มีความสําคัญใกล้ตัว และเกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจําวัน และจะทวีความสําคัญยิ่งขึ้นตามแนวทางของโลก ที่กําลังปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัลในหลากหลายมิติ ยิ่งมีการใช้งานหรือทำกิจกรรมเกี่ยวข้องกับดิจิทัลมากขึ้น ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการถูกโจมตีทางไซเบอร์ ทั้งนี้ หลายประเทศตระหนักถึงภัยคุกคามทางด้านไซเบอร์ และได้กำหนดมาตรการในการป้องกัน ยกระดับขีดความสามารถของหน่วยงาน ตลอดจนการเร่งรัดพัฒนา บุคลากรทางไซเบอร์ เพื่อให้สามารถรองรับกับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ในส่วนของประเทศไทย มีการกฎหมายคือ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ.2562 ซึ่งกําหนดให้มีการจัดตั้ง สํานักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ขึ้นมา เพื่อดําเนินการในการกําหนดนโยบาย จัดทําแผนปฏิบัติการ ทางด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศ ตลอดจนการประสานงาน เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้น ชื่นชมที่ผ่านประเทศไทยก็มีระบบการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ที่ดีมาก โดยเฉพาะระบบการเงินการธนาคารยังไม่มีการถูกแฮก ถึงแม้อาจมีการถูกโจมตีก็สามารถป้องกันได้ สามารถรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบการเงินการธนาคารได้ดี รวมถึงสาธารณูปโภคต่างๆเรื่องไฟฟ้าหรือประปาหรือการขนส่งมวลชนต่างๆที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เราก็ระบบป้องกันที่ดีซึ่งรัฐบาล ท่านพลเอก…

ดีอีเอสพบมือปั่นข่าวปลอม มั่วข่าวสารราชการเชื่อมโยงประเด็นโควิด

Loading

  โฆษกดีอีเอส เตือนประชาชนรู้เท่าทันข่าวปลอม พบกลุ่มดิสเครดิตรัฐบาลปั้นข่าวปลอมข่าวสารราชการอิงประเด็นโควิด เรียกกระแสความสนใจ และสร้างความตื่นตระหนกให้คนที่หลงเชื่อ   น.ส.นพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) กล่าวว่า สรุปผลการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมประจำสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 11-17 ก.พ.65 โดยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม พบข้อความที่เข้ามา จำนวน 11,465,622 ข้อความ โดยจากการคัดกรองมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ทั้งสิ้น 215 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 107 เรื่อง โดยเป็นเรื่องโควิด 34 เรื่อง   ขณะเดียวกัน พบแนวโน้มการสร้างข่าวปลอม และบิดเบือนข้อมูลในกลุ่มนโยบายรัฐบาล/ข่าวสารทางราชการ ที่ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเฝ้าระวัง เนื่องจากหลายข่าวจะมีการเชื่อมโยงกับสถานการณ์แพร่ระบาดโควิดในปัจจุบัน ซึ่งอยู่ในกระแสความสนใจของประชาชนติดตามข่าวสาร เพื่อล่อลวงให้คนเข้ามาคลิกอ่าน ตื่นตระหนก หลงเชื่อ และแชร์ข่าวปลอมโดยรู้ไม่เท่าทันผู้ไม่ประสงค์ดี   โดยจากจำนวนเรื่องที่ประสานงานและได้รับผลการตรวจสอบกลับมาแล้ว 60 เรื่องในรอบสัปดาห์ล่าสุด พบข่าวปลอมในกลุ่มนี้ ได้แก่ ข่าวคลิปเสียงการประชุมที่กระทรวงสาธารณสุข เรื่องรัฐบาลไม่เปิดเผยข้อมูลวัคซีนโควิด-19 กับประชาชน และข่าวเอกสารเกี่ยวกับการพิจารณาวัคซีนของทางสำนักงานอาหารและยา อีกทั้งมีการเผยแพร่ข่าวปลอมหวังสร้างความตื่นตระหนกให้ประชาชน โดยเชื่อมโยงกับความกลัวที่เกี่ยวเนื่องกับโรคโควิด…

“ดีอีเอส”เตือนข่าวปลอมตรวจสอบสิทธิ สปสช. ทางไลน์ check-sith ระวังถูกหลอกเอาข้อมูลส่วนตัว

Loading

สปสช.ชี้เป็นการแอบอ้างหน่วยงานรัฐเพื่อหลอกดึงข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน ประสานทางไลน์ระงับการใช้งานแล้ว พร้อมเตรียมแจ้งความดำเนินคดีกับผู้ที่แอบอ้างดังกล่าว น.ส.นพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ฝ่ายการเมือง เปิดเผยว่า  ตามที่ได้มีข่าวปรากฏในสื่อออนไลน์ต่างๆ ในประเด็นเรื่อง ตรวจสอบสิทธิเกี่ยวกับ สปสช.ได้ทางไลน์ check-sith ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ โดยการส่งต่อข้อมูลระบุว่า ตอนนี้สามารถตรวจสอบสิทธิผู้ป่วยผ่านช่องทางไลน์ @check-sith ได้แล้ว เพียงแค่พิมพ์เลขบัตรประชาชน 13 หลัก และวันเดือนปีเกิด ซึ่งทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ชี้แจงว่า สปสช. ไม่เคยมีการจัดทำการสื่อสารดังกล่าว เป็นการแอบอ้างหน่วยงานรัฐเพื่อหลอกดึงข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน โดย สปสช. ได้มีการประสานไปยัง บริษัท ไลน์ คอมพานี (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อให้ระงับการใช้งาน Line @check-sith แล้ว พร้อมกันนี้ทางสำนักกฎหมาย สปสช. ยังได้เตรียมแจ้งความดำเนินคดีกับผู้ที่แอบอ้างดังกล่าว จึงขอย้ำกับประชาชนว่า สปสช. ไม่เคยมีการสื่อสารใดๆ ผ่านช่องทางนี้     ซึ่งในกรณีที่ประชาชนต้องการที่จะตรวจสอบสิทธิหลักประกันสุขภาพของตนเอง สามารถดำเนินการได้โดยผ่าน…

“ดีอีเอส กสทช ผู้ให้บริการโทรคม” คลอดมาตรการเข้ม!! กวาดล้าง sms หลอกลวง

Loading

  สำนักงาน กสทช. ยกระดับมาตรการจัดการปัญหา SMS หลอกลวง เข้มลงโทษทางปกครองกับผู้ให้บริการเนื้อหาที่ปล่อยให้มี SMS หลวกลวง ส่งเรื่องให้ บช.สอท. ดำเนินคดีตามกฎหมาย ส่วน ดีอีเอส เอาผิดกับมิจฉาชีพตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จี้ผู้ให้บริการเนื้อหาต้องมีระบบยืนยันตัวตนชัดเจน   กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับสำนักงาน กสทช. ผู้แทนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และผู้ประกอบการโทรคมนาคม ได้ประชุมหารือเพื่อติดตามและกำกับดูแลกรณีมิจฉาชีพ ส่งข้อความสั้น (SMS) หลอกลวงประชาชน การชักชวนเล่นพนันออนไลน์ และลามกอนาจาร นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการแทนเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (รักษาการแทนเลขาธิการ กสทช.) กล่าวว่า จากการประชุมติดตามและกำกับดูแลกรณีมิจฉาชีพส่งข้อความสั้น (SMS) หลอกลวงประชาชน การชักชวนเล่นพนันออนไลน์ และลามกอนาจาร ที่ประชุมได้ข้อสรุปที่จะยกระดับมาตรการในการดำเนินการจัดการปัญหา SMS หลอกลวงเพิ่มขึ้นอีกระดับหนึ่ง   โดยสำนักงาน กสทช. ได้กำหนดมาตรการเกี่ยวกับเนื้อหาของข้อความ และการกำหนดชื่อ Sender name ซึ่งจะเริ่มจากต้นทางของการส่ง SMS จากผู้ให้บริการเนื้อหา…

ดีอีเอสเปิดรายชื่อ 7 หน่วยงานทำเวลาสกัดข่าวปลอมได้ภายใน 1 ชั่วโมง

Loading

  “ภุชพงค์” รองปลัดดีอีเอส อัปเดตความร่วมมือหน่วยงานรัฐในการเดินหน้าแก้ไขปัญหาเฟกนิวส์ เปิด 7 รายชื่อผลงานเด่น ใช้เวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมง ยืนยันข้อเท็จจริงตอบกลับศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม นายภุชพงค์ โนดไธสง รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวระหว่างเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การใช้งานระบบสำหรับผู้ประสานงานการตรวจสอบข่าวปลอมเพื่อสร้างเครือข่ายผู้ปฏิบัติงาน และวิธีการแก้ไขปัญหาข่าวปลอม” วันนี้ (29 ก.ย.) ว่า กิจกรรมครั้งนี้ได้รับความสนใจอย่างมาก โดยมีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมอบรมกว่า 600 คน จากหน่วยงานจำนวนมากกว่า 300 แห่ง ครอบคลุมหน่วยงานราชการ องค์การมหาชน และบริษัทมหาชน โดยกระทรวงฯ และศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ประสานงานเครือข่าย กลุ่มนิติกร ตลอดจนเครือข่ายผู้ที่เกี่ยวข้องได้เข้าใจในกระบวนการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาข่าวปลอม บทบาท ขั้นตอนของผู้ประสานศูนย์ฯ ให้สามารถตรวจสอบและการแจ้งกลับมาผ่านศูนย์ฯ ตลอดจนการเผยแพร่ข่าวที่ถูกต้องตรวจสอบแล้วได้ ขณะที่จากการจัดอันดับ 10 หน่วยงานที่ให้ความร่วมมือมากสุดกับศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมในการตรวจสอบยืนยันข้อเท็จจริง ล่าสุด พบว่า ในจำนวนนี้มีอยู่ 7 หน่วยงาน ที่มีระยะเวลาในการตอบกลับโดยเฉลี่ยไม่ถึง 1 ชั่วโมง โดยหนึ่งในนี้คือ กรมประชาสัมพันธ์…