นักวิจัยญี่ปุ่นพัฒนา “แมลงสาบไซบอร์ก” หวังช่วยผู้ประสบภัยพิบัติ

Loading

    หากเกิดเหตุแผ่นดินไหวขึ้นในอนาคตอันใกล้ และมีผู้รอดชีวิตติดอยู่ใต้เศษซากของอาคาร สิ่งตอบสนองอย่างแรกที่จะระบุตำแหน่งของพวกเขาคือ ฝูงแมลงสาบไซบอร์ก   สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานจากเมืองไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 22 ก.ย. ว่า “แมลงสาบไซบอร์ก” เป็นการประยุกต์ใช้ที่มีศักยภาพของการพัฒนาล่าสุดโดยกลุ่มนักวิจัยชาวญี่ปุ่น ซึ่งสาธิตความสามารถในการติดตั้ง “กระเป๋าสะพายหลัง” ของโซลาร์เซลล์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บนตัวแมลง และควบคุมการเคลื่อนไหวของพวกมันด้วยรีโมตคอนโทรล   นักวิจัยสาธิตการส่งสัญญาณเข้าสู่อุปกรณ์ ที่อยู่บนหลังของแมลงสาบมาดากัสการ์   นายเคนจิโร่ ฟุคุดะ และทีมของเขา จากห้องปฏิบัติการอุปกรณ์ชนิดฟิล์มบาง ของบริษัทวิจัยยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น “ริเคน” ทำการพัฒนาฟิล์มโซลาร์เซลล์แบบยืดหยุ่น ซึ่งมีความหนา 4 ไมครอน, กว้างประมาณ 1 ส่วน 25 ของเส้นผมมนุษย์ และสามารถใส่ได้พอดีกับท้องของแมลง โดยฟิล์มดังกล่าวจะทำให้แมลงสาบเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ ในขณะที่โซลาร์เซลล์จะผลิตพลังงานที่เพียงพอต่อการประมวลผล และส่งสัญญาณบอกทิศทางไปยังอวัยวะรับความรู้สึก ที่อยู่ส่วนหลังของแมลง   นักวิจัยกำลังทำการติดตั้งอุปกรณ์บนตัวแมลงสาบมาดากัสการ์   อนึ่ง การวิจัยนี้จัดทำขึ้นจากการทดลองควบคุมแมลงของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในสิงคโปร์ ซึ่งทีมวิจัยของฟุคุดะ คาดหวังว่าในอนาคต แมลงไซบอร์กจะสามารถเข้าไปในพื้นที่อันตรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากกว่าหุ่นยนต์อีกด้วย   If…

ญี่ปุ่นสั่งอพยพ 4 ล้านคน – ยกเลิกเที่ยวบิน รับมือไต้ฝุ่นนันมาดอล

Loading

  ญี่ปุ่นประกาศเตือนภัยระดับพิเศษ และมีคำสั่งให้ประชาชนกว่า 4 ล้านคนอพยพออกจากพื้นที่เสี่ยง เพื่อเตรียมรับมือพายุไต้ฝุ่น “นันมาดอล” ที่คาดว่าจะพัดเฉียดหรือขึ้นฝั่งบนเกาะคิวชูทางภาคใต้ในวันนี้   สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น รายงานวันนี้ว่า ตาพายุไต้ฝุ่น “นันมาดอล” อยู่ทางใต้ของเกาะคิวชูแล้วในเช้าวันนี้ และเคลื่อนตัวช้า ๆ โดยคาดว่า จะพัดเข้าใกล้ที่สุดหรือขึ้นฝั่งช่วงวันอาทิตย์ถึงวันจันทร์   พายุอ่อนกำลังลงเมื่อเช้ามืดวันอาทิตย์ โดยในเมืองยากุชิมะ จังหวัดคาโงชิมะ วัคดวามเร็วลมได้สูงสุด 183.24 กม./ชม. แต่ยังอาจมีความเร็วลมสูงสุดถึง 250 กม./ชม.ได้ และพายุอาจทำให้มีฝนตกวัดได้ 600 มิลลิเมตรในพื้นที่ตอนใต้ของเกาะคิวชูในช่วง 24 ชม.จนถึง 6.00 น.ของวันจันทร์ตามเวลาท้องถิ่น และทางตอนเหนือของเกาะคิวชูและเกาะชิโกกุอาจมีฝนตกวัดได้ 400 มิลลิเมตร หลังจากนั้นพายุจะเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือมุ่งหน้าสู่เกาะฮอนชู   ก่อนหน้านี้สำนักงานอุตุนิยมวิทยา ออกคำเตือนภัยพายุระดับสูงที่สุดในจังหวัดคาโงชิมะเมื่อเย็นวันเสาร์ หลังจากพยากรณ์อากาศคาดว่า พายุจะมีความรุนแรงที่สุดในรอบหลายสิบปี และจะพัดขึ้นฝั่งที่จังหวัดคาโงชิมะในวันอาทิตย์ โดยเป็นคำเตือนภัยระดับพิเศษเกี่ยวกับพายุไต้ฝุ่นที่ประกาศนอกภูมิภาคโอกินาวะครั้งแรก นับตั้งแต่เริ่มมีการใช้ระบบเตือนภัยนี้ในปี 2556   ทางการประกาศเตือนภัยระดับ 5 ที่เป็นระดับสูงสุดให้ประชาชนกว่า 110,000 คนในจังหวัดคาโงชิมะ และจังหวัดมิยาซากิอพยพออกจากบ้านเรือน…

โอกินาวา ป้อมค่ายสำคัญในการป้องกันญี่ปุ่นจากจีน และเกาหลีเหนือ

Loading

นาวิกโยธินสหรัฐฯ พร้อมกองพัน 3 กรมนาวิกโยธินที่ 8 กับกองบินนาวิกโยธินที่ 1 ที่อิเอะชิมะ โอกินาวา ญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2564 (แฟ้มภาพนาวิกโยธินสหรัฐฯ)   USNI News (8 ก.ย.) – ผู้เชี่ยวชาญชี้ การชนะใจโอกินาวาเป็นชัยภูมิสำคัญในการเสริมความแข็งแกร่งให้การป้องกันของจีน รัสเซีย และเกาหลีเหนือ   คุนิฮิโกะ มิยาเกะ (Kunihiko Miyake) ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของ Canon Institute for Global Studies กล่าวว่า ขณะนี้เมื่อวอชิงตันและโตเกียวแสดงการสนับสนุนไต้หวัน ข้อตกลงสถานะของกองกำลังระหว่างทั้งสองประเทศได้มีนัยสำคัญใหม่ “เป็นปัญหาที่ยากที่สุด” ในการแก้ไขตลอดหลายปีที่ผ่านมา มิยาเกะ กล่าว ตัวอย่างหนึ่งของความยากลำบากนั้นคือการโต้เถียงกันเป็นเวลา 7 ปีเกี่ยวกับการย้ายที่ตั้งของ Marine Corps Air Station Futenma   การปรากฏตัวของกองทัพอเมริกันในฐานทัพ 31 แห่งที่ตั้งอยู่ในโอกินาวายังคงเป็นปัญหาของชาวโอกินาวา…

แฮ็กเกอร์รัสเซียอ้างตัวว่าอยู่เบื้องหลังการโจมตีไซเบอร์ต่อรัฐบาลญี่ปุ่น

Loading

  กองบัญชาการตำรวจนครบาลกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นกำลังวางแผนสืบสวนการโจมตีทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นต่อเว็บไซต์ของหน่วยงานรัฐบาลญี่ปุ่นและองค์กรต่าง ๆ ที่คาดว่าน่าจะเป็นฝีมือของกลุ่มแฮ็กเกอร์ชาวรัสเซีย   การโจมตีที่เกิดขึ้นทำให้เว็บไซต์และการให้บริการประชาชนบนโลกออนไลน์ของหน่วยงานรัฐบาลหลายแห่งใช้งานไม่ได้ชั่วคราว อาทิ ระบบการตรวจสอบภาษี และฐานข้อมูลประชาชน   ในช่วงเวลาเดียวกัน กลุ่มแฮ็กเกอร์ที่ใช้ชื่อว่า Killnet ที่สนับสนุนรัฐบาลรัสเซียได้โพสต์ข้อความบน Telegram ซึ่งอ้างว่าได้โจมตีระบบการให้บริการสาธารณะของญี่ปุ่น ตั้งแต่ระบบภาษีออนไลน์ ไปจนถึงเครือข่ายไอทีของระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน โดยมุ่งหวังให้เครือข่ายดังกล่าวใช้งานไม่ได้   ในการโจมตีแต่ละครั้งยังมีข้อความต่อต้าน ‘ลัทธิทหารนิยม’ ของญี่ปุ่น บางข้อความก็เป็นการหยามแนวคิดชาตินิยมญี่ปุ่นด้วย   ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกเคยสันนิษฐานว่า Killnet อยู่เบื้องหลังการโจมตีทางไซเบอร์ต่อประเทศที่สนับสนุนยูเครนในการป้องกันตนเองจากการรุกรานของรัสเซีย   ทั้งนี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติของญี่ปุ่นกำลังพิสูจน์ทราบว่าการโจมตีที่เกิดขึ้นต่อระบบไอทีของรัฐบาลนั้นได้กระทบต่อการให้บริการทางสารสนเทศขององค์กรต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชนหรือไม่ โดยจะร่วมมือกับตำรวจของโตเกียวต่อไป     ที่มา The Japan Times       ——————————————————————————————————————————- ที่มา :    แบไต๋             …

ญี่ปุ่นเตรียมแก้กฎหมาย เลิกใช้ Floppy Disk ส่งข้อมูลให้หน่วยงานรัฐ

Loading

  ในการประชุม Digital Society Concept Conference ครั้งที่ 5 ของญี่ปุ่นเพื่อวางแผนการให้บริการด้านดิจิทัลของรัฐบาลในอนาคต   Karo Tono รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า จะแก้กฎหมายเรื่องการส่งเอกสารให้หน่วยงานของรัฐบาล โดยจะเปลี่ยนจากการบังคับให้ส่งด้วยแผ่น Floppy Disk หรือซีดีรอม ไปเป็นวิธีที่ทันสมัยมากขึ้นโดยเร็วที่สุด   รัฐมนตรีฯ ได้ศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการส่งข้อมูลให้หน่วยงานของรัฐและพบว่ามีข้อบังคับมากกว่า 1,900 ข้อ ที่เกี่ยวข้องซึ่งข้อบังคับจำนวนมากระบุให้ใช้แผ่นดิสก์หรือซีดีรอม ส่วนวิธีที่ทันสมัยกว่า เช่น การอัปโหลดลงอินเทอร์เน็ต ไม่ได้ระบุไว้ในข้อบังคับ ซึ่งถือว่าเป็นวิธีไม่ได้รับการอนุญาต   นาย Tono ยังวางแผนว่า รัฐบาลจะมีการพูดคุยกันถึงเรื่องความขาดแคลนทักษะด้านเทคโนโลยีในองค์กรรัฐบาล การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสาร หรือแม้แต่การนำระบบอินเทอร์เน็ตแบบ Web3 มาใช้     ที่มา: The Register           ที่มา :         …

รถไฟญี่ปุ่น ดีเลย์ 23 นาที เนื่องจากคนขับลืมรหัสปลดล็อกแท็บเล็ต

Loading

  เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน โดยรถไฟของ JR East ที่ออกจากสถานี Kōriyama เมือง Fukushima ประเทศญี่ปุ่น เกิดเหตุล่าช้า   ผู้อ่านที่คุ้นเคย คงทราบดีว่ารถไฟญี่ปุ่นมีความตรงเวลาสูง เรื่องล่าช้าจึงเป็นเรื่องใหญ่มาก และสาเหตุนั้นก็ดูกุมหัวยิ่งกว่า   รายงานบอกว่าเจ้าหน้าที่ขับรถไฟ ปกติจะต้องตรวจสอบตารางรถไฟ เพื่อคำนวณเข้าออกแต่ละสถานีเสมอ โดยใช้แท็บเล็ตเนื่องจากข้อมูลมีการปรับปรุงตลอด แต่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ลืมรหัสปลดล็อก เพื่อเข้าไปดูข้อมูล เขาจึงตัดสินใจจอดรถไฟที่สถานีถัดมาเพื่อแก้ปัญหา ส่งผลให้รถไฟล่าช้า 23 นาที   สิ่งที่ท้าทายของเจ้าหน้าที่ขับรถไฟ คือมีแท็บเล็ตในห้องควบคุมหลายอัน และแต่ละอันมีวัตถุประสงค์ใช้งานต่างกัน เจ้าหน้าที่จึงต้องจำรหัสให้ได้ทั้งหมด ตัวแทนของ JR Fukushima บอกว่า แนวทางแก้ไขคือ อาจหาวิธีฝึกให้เจ้าหน้าที่จำรหัสให้ดีขึ้น หรือไม่อย่างนั้นก็ยกเลิกการล็อกหน้าจอไปเลย สำหรับแท็บเล็ตที่ไม่ได้เกี่ยวกับงานที่สำคัญ     ที่มา: Japan Today ภาพ Wikiemedia       ————————————————————————————————————————— ที่มา :    Blognone…