ออสซี่จ่อยกเครื่องกฎระเบียบ-ตั้งหน่วยงานด้านความปลอดภัยไซเบอร์

Loading

    นางแคลร์ โอนีล รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยของออสเตรเลียเปิดเผยกับสถานีวิทยุเอบีซี (ABC Radio) วันนี้ (27 ก.พ.) ว่า ออสเตรเลียวางแผนจะยกเครื่องกฎระเบียบด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และจัดตั้งหน่วยงานเพื่อดูแลการลงทุนของรัฐบาลในภาคส่วนดังกล่าว และช่วยประสานงานในการตอบสนองต่อการโจมตีของแฮ็กเกอร์   สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ความคิดเห็นดังกล่าวมีขึ้นท่ามกลางการโจมตีทางไซเบอร์ที่เพิ่มสูงขึ้นนับตั้งแต่เมื่อปลายปีที่แล้ว ซึ่งมีรายงานจากบริษัทอย่างน้อย 8 แห่งที่ถูกแฮ็ก ซึ่งรวมถึง เมดิแบงก์ ไพรเวท จำกัด (Medibank Private Ltd) บริษัทประกันสุขภาพรายใหญ่ และออปตัส (Optus) บริษัทโทรคมนาคมในเครือสิงคโปร์ เทเลคอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด (Singtel)   นางโอนีลกล่าวว่า กฎระเบียบด้านความปลอดภัยไซเบอร์ในปัจจุบันไม่เพียงพอที่จะจัดการกับการโจมตีและไม่สามารถปกป้องข้อมูลของผู้บริโภคได้ พร้อมกล่าวโทษรัฐบาลชุดก่อนหน้าที่นำกฎระเบียบเหล่านี้มาใช้   “กฎระเบียบเหล่านั้นไร้ประโยชน์อย่างยิ่ง ไม่ควรค่าที่จะพิมพ์ลงบนกระดาษด้วยซ้ำ เมื่อต้องนำไปใช้รับมือกับเหตุการณ์ทางไซเบอร์จริง กฎระเบียบเหล่านั้นมันไม่เหมาะจะใช้ประโยชน์ในตอนนี้ และดิฉันคิดว่าจำเป็นต้องได้รับการปฏิรูป” นางโอนีลกล่าว   นางโอนีลระบุว่า นายกรัฐมนตรีแอนโทนี อัลบาเนซีจะพบปะกับบรรดาผู้นำอุตสาหกรรมและผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ในวันนี้ และนายกฯ ได้ตัดสินใจแต่งตั้งผู้ประสานงานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งมีหน้าที่ดูแลให้หน่วยงานของรัฐบาลทำงานร่วมกันเมื่อต้องรับมือกับเหตุการณ์ทางไซเบอร์ต่าง ๆ   ทั้งนี้ ทางการได้เผยแพร่เอกสารการอภิปรายเกี่ยวกับกลยุทธ์ความปลอดภัยทางไซเบอร์ใหม่…

คณะกรรมาธิการยุโรปสั่งแบน “TikTok” บนอุปกรณ์ของหน่วยงาน

Loading

    คณะกรรมาธิการยุโรป สั่งแบนการใช้งานแอปพลิเคชัน TikTok บนอุปกรณ์ของทางการทั้งหมด เนื่องจากกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์   คำสั่งดังกล่าวกำหนดให้เจ้าหน้าที่ของคณะกรรมธิการยุโรปซึ่งเป็นองค์กรฝ่ายบริหารของสหภาพยุโรป ต้องทำการลบแอปพลิเคชัน TikTok ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันชื่อดังที่ขึ้นชื่อเรื่องวิดีโอสั้น ๆ ของจีน ออกจากอุปกรณ์ของที่ทำงาน รวมทั้งอุปกรณ์ส่วนตัวที่ใช้ทำงาน ภายในวันที่ 15 มี.ค.นี้ เนื่องจากกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์   ด้านโฆษกคณะกรรมาธิการยุโรป เปิดเผยว่า มาตรการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อปกป้องคณะกรรมธิการจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ และการกระทำใด ๆ ที่อาจเปิดทางให้เกิดการโจมตีทางไซเบอร์ได้ พร้อมทั้งระบุด้วยว่า เป็นเพียงมาตรการชั่วคราว และจะมีการตรวจสอบอย่างต่อเนื่องและอาจมีการพิจารณาใหม่อีกครั้ง     ขณะที่ทาง TikTok ออกมาเคลื่อนไหวแล้ว โดยแสดงความผิดหวังต่อการตัดสินใจดังกล่าว และระบุว่า เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากความเข้าใจผิด แม้ว่าก่อนหน้านี้ TikTok จะออกมาเปิดเผยต่อผู้ใช้งานในยุโรปว่า พนักงานในจีนอาจเข้าถึงข้อมูลได้ก็ตาม   โฆษกของบริษัท เปิดเผยว่า ได้ติดต่อไปชี้แจงข้อเท็จจริงกับคณะกรรมาธิการยุโรปแล้ว พร้อมทั้งอธิบายว่าทางบริษัทปกป้องข้อมูลของผู้ใช้งาน 125 ล้านคนทั่วสหภาพยุโรปที่เข้ามาใช้ TikTok ทุก ๆ เดือนได้อย่างไร   นอกจากนี้…

‘แคสเปอร์สกี้’ เปิดบทสรุป อุบัติภัยไซเบอร์ปี 2565

Loading

  แคสเปอร์สกี้ เปิดรายงานเชิงวิเคราะห์กิจกรรมบนไซเบอร์สเปซ การเปลี่ยนแปลงสำคัญที่น่าจับตามองในโลกความปลอดภัยทางไซเบอร์ ประจำปี 2565   ผู้เชี่ยวชาญของ “แคสเปอร์สกี้” รายงานว่า ปีนี้เป็นปีที่มีความขัดแย้งทางทหารแบบศตวรรษที่ 20 นำมาซึ่งความไม่แน่นอนและความเสี่ยงร้ายแรงที่กระจายไปทั่วทวีป   จากการวิเคราะห์ทางภูมิรัฐศาสตร์ของความขัดแย้งในยูเครนในวงกว้างพบว่า เหตุการณ์ทางไซเบอร์จำนวนหนึ่งได้เกิดขึ้นท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ซึ่งกลายเป็นเรื่องที่สำคัญมาก   ผู้เชี่ยวชาญพบสัญญาณสำคัญและการเพิ่มขึ้นของสงครามไซเบอร์อย่างรวดเร็วในช่วงก่อนการปะทะกันทางทหารในวันที่ 24 ก.พ.ที่ผ่านมา รวมถึงแรนซัมแวร์ปลอมและการโจมตีไวเปอร์คลื่นลูกใหญ่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อหน่วยงานของยูเครนอย่างไม่เจาะจง   ทั้งนี้ บางส่วนมีความซับซ้อนสูง แต่ปริมาณของการโจมตีไวเปอร์และแรนซัมแวร์ลดลงอย่างรวดเร็วหลังจากระลอกแรก โดยมีรายงานเหตุการณ์ที่น่าสังเกตในจำนวนจำกัด กลุ่มที่มีแรงจูงใจในอุดมการณ์ซึ่งนำเสนอตัวเองในการโจมตีระลอกแรกดูเหมือนจะไม่เคลื่อนไหวในขณะนี้     สงครามไซเบอร์รูปแบบใหม่   สำหรับเหตุการณ์ที่เป็นไฮไลต์ ซึ่งมีลักษณะสำคัญบางประการที่กำหนดถึงการเผชิญหน้าทางไซเบอร์ในปี 2565 มีดังนี้   นักเจาะระบบและการโจมตี DDoS : ความขัดแย้งในยูเครนได้สร้างแหล่งเพาะกิจกรรมสงครามไซเบอร์ใหม่ ๆ จากกลุ่มต่าง ๆ รวมถึงอาชญากรไซเบอร์และนักแฮกข้อมูล ที่ต่างเร่งรีบที่จะสนับสนุนฝ่ายที่ตนชื่นชอบ   บางกลุ่มเช่นกองทัพไอทีของยูเครนหรือ Killnet ได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นทางการจากรัฐบาล และช่องโทรเลขมีสมาชิกหลายแสนคน   ขณะที่การโจมตีโดยนักเจาะระบบมีความซับซ้อนค่อนข้างต่ำ ผู้เชี่ยวชาญพบว่ากิจกรรม…

Cybersecurity Predictions 2023: มุมมองใหม่ของการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์

Loading

  หนึ่งในความท้าทายที่สำคัญที่สุดสำหรับทีมรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ คือแนวทางด้านการรักษาความปลอดภัยที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลงของภูมิศาสตร์การเมืองโลก ความตึงเครียดที่เกิดขึ้นระหว่างความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและความมั่นคง และภัยคุกคามทางไซเบอร์ ทำให้เกิดการรับรู้เชิงลบมากมายเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์   อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะเป็นเรื่องง่ายที่จะถูกเบี่ยงเบนความสนใจจากพาดหัวข่าวต่าง ๆ เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ แต่ความสามารถด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ก็ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อช่วยให้เรารับมือกับภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา   การรักษาความปลอดภัยยังเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับทักษะความสามารถ (soft skills) พอ ๆ กับทักษะทางเทคนิคเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับงานด้านนี้ จากงานวิจัยของ Information Systems Audit and Control Association (ISACA) พบว่าทักษะความสามารถในการสื่อสาร ความยืดหยุ่น และความเป็นผู้นำ แสดงถึงช่องว่างทักษะที่สำคัญที่สุด ซึ่งระบุโดยผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์   การคาดการณ์เป็นเรื่องที่ยากในสภาพแวดล้อมแบบไดนามิกเช่นนี้ แต่เราสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับอนาคตของการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ในปี 2023 และอนาคต     การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์จะเป็นรากฐานที่สําคัญของทุกสิ่ง   ในช่วงที่ผ่านมาเราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของในช่วงเวลาสั้น ๆ ซึ่งทำให้องค์กรต่าง ๆ ต้องรับมือกับการหยุดชะงักของธุรกิจ เช่น ผลกระทบของการทำงานระยะไกล เป็นต้น การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นสิ่งที่สำคัญเสมอสำหรับบางองค์กร แต่ในช่วงสองปีที่ผ่านมาผู้นำด้านความปลอดภัยและการบริหารความเสี่ยงต้องจัดการกับการกู้คืนและการต่ออายุ ทำให้เราจะได้เห็นการให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เพิ่มมากขึ้น…

ยอมเถื่อน! แคสเปอร์สกี้พบธุรกิจขนาดกลาง 24% ใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์หวังลดต้นทุน

Loading

  ผลสำรวจแคสเปอร์สกี้ เผยธุรกิจขนาดกลาง 24% เลือกใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อลดต้นทุน   นายอเล็กซานเดอร์ ชลิคคอฟ หัวหน้าทีมการตลาดผลิตภัณฑ์ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า การขาดทรัพยากรเป็นสถานการณ์ทั่วไปสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง แต่การใช้ซอฟต์แวร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือซอฟต์แวร์ที่ถูกแฮกควรได้รับการยกเว้นหากองค์กรให้ความสำคัญด้านความปลอดภัย ชื่อเสียง และรายได้ขององค์กร   “ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์มักจะมาพร้อมกับโทรจันและไมเนอร์และไม่มีโปรแกรมแก้ไขหรือแพตช์ที่ออกโดยนักพัฒนาเพื่อปิดช่องโหว่ที่อาจถูกโจมตีโดยอาชญากรไซเบอร์ การใช้ซอฟต์แวร์ทางเลือกแบบฟรีอย่างเป็นทางการเป็นตัวเลือกที่ดีกว่ามากสำหรับผู้ที่ต้องการประหยัดงบด้านไอที”   รายงานล่าสุดของแคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) เปิดเผยว่า บริษัทขนาดกลางที่มีพนักงาน 50 ถึง 999 คน จำนวนหนึ่งในสี่ หรือ 24% พร้อมที่จะเลือกใช้ซอฟต์แวร์ธุรกิจที่ละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านไอที สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก (พนักงานน้อยกว่า 50 คน) มีจำนวนเพียง 8% เท่านั้นที่พร้อมที่จะเลือกใช้ซอฟต์แวร์ดังกล่าว       ผู้ไม่หวังดีสามารถกระจายไฟล์ที่เป็นอันตราย โดยปลอมแปลงตัวเป็นซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ที่ใช้งาน   สิ่งที่เกิดขึ้นอาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อความปลอดภัยทางไซเบอร์ขององค์กร เนื่องจากผู้ไม่หวังดีจะกระจายไฟล์ที่เป็นอันตรายโดยปลอมแปลงตัวเป็นซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ที่ใช้งาน   จากข้อมูลของ Kaspersky Security Network (KSN) ในช่วงเวลาเพียง 8…

ทักษะ ‘ไซเบอร์ ซิเคียวริตี้’ ขาดแคลน เพราะผู้เชี่ยวชาญหมดไฟ

Loading

  ความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดที่ต้องเผชิญสำหรับอุตสาหกรรมความปลอดภัยทางไซเบอร์ในขณะนี้ก็คือ การขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะ   ปัจจุบันประเด็นปัญหาเกี่ยวกับช่องว่างด้าน “ทักษะทางไซเบอร์ซิเคียวริตี้” เป็นที่ถกเถียงไปทั่วโลก และองค์กรต่าง ๆ มีผู้สมัครที่มีคุณสมบัติไม่เพียงพอที่จะลงในตำแหน่งที่ว่างอยู่   จากการประมาณการพบว่า มีตำแหน่งงานด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ยังขาดแคลนอยู่หลายล้านตำแหน่งทั่วโลกอย่างไรก็ตาม สาเหตุหลักของปัญหาไม่ได้อยู่ที่ความพร้อมของผู้สมัคร แต่เป็นความสามารถในการรักษาพนักงานที่มีทักษะและประสบการณ์ไว้กับองค์กรให้ได้   มหาวิทยาลัยหลายแห่งเริ่มเปิดสอนหลักสูตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์และ online learning โปรแกรมยังคงทำให้พื้นฐานการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์เข้าถึงได้ง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อน   แต่ท้ายที่สุดแล้ว ไม่มีการรับรองหรือ e-learning ใดๆ ที่จะมาใช้แทนประสบการณ์จริงได้ และในขณะนี้มีคนจำนวนเพิ่มมากขึ้นที่พยายามจะเข้าสู่อุตสาหกรรมด้านนี้มีการเปิดรับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางและตำแหน่งงานระดับกลาง (mid-level) เพื่อทำให้เกิดความท้าทายในการสรรหาและการรักษาบุคคลากรเอาไว้   ในความเป็นจริงแล้ว องค์กรอาจต้องใช้เวลาในการเทรนต่างๆ ประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปีกว่า ๆ ถึงได้นักวิเคราะห์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์รายใหม่ที่มีความชำนาญ   ขณะที่อายุการใช้งานโดยทั่วไปของคนที่ทำงานด้านนี้จะเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2 ปี ซึ่งจะเหลือเพียงช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ที่พนักงานจะสามารถทำงานอย่างเต็มที่ให้กับบริษัท   จากการวิจัยในสหราชอาณาจักร พบว่า ผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะและประสบการณ์ในด้านนี้กำลังจะออกจากอุตสาหกรรมนี้ เนื่องจากความเหนื่อยหน่ายและความท้อแท้จากการทำงาน ทำให้จำนวนพนักงานรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ลดลง 65,000 คนในปีที่แล้ว…