รายงานเผย LockBit กลุ่มแฮกเกอร์ชื่อดัง ถูกแฮกซะเอง

Loading

เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคมที่ผ่านมา เว็บไซต์บนดาร์กเว็บของ LockBit ปรากฏข้อความว่า “Don’t do crime CRIME IS BAD xoxo from Prague” หรือ “อย่าก่ออาชญากรรม อาชญากรรมนั้นไม่ดี จุ๊บ ๆ จากปราก” และลิงก์ที่เชื่อมไปยังข้อมูลที่น่าจะหลุดมาจากทางกลุ่ม สำนักข่าว Reuters เผยว่ายังไม่สามารถยืนยันความถูกต้องของข้อมูลได้ในทันที โดยข้อมูลที่อยู่ในลิงก์นั้น มีภาพแคปแชตของแฮกเกอร์ที่คุยกับเหยื่อรวมอยู่ด้วย ซึ่งผู้เชี่ยวชาญที่ได้ลองตรวจดูแล้ว ก็พบว่าเป็นของจริง

‘อังกฤษ’ อัปเดตแผนลับฉุกเฉินรับมือภัยคุกคาม ‘รัสเซีย’ เตรียมพร้อมทั้งอพยพราชวงศ์-ต้านขีปนาวุธ-การโจมตีทางไซเบอร์

Loading

(6 พ.ค. 68) สหราชอาณาจักรกำลังทบทวนและปรับปรุงแผนการป้องกันประเทศฉบับลับที่ไม่ได้อัปเดตมาตั้งแต่ปี 2005 ท่ามกลางความกังวลต่อความเป็นไปได้ของการโจมตีจากรัสเซีย โดยเฉพาะในรูปแบบของขีปนาวุธ นิวเคลียร์ และไซเบอร์ ตามรายงานของ The Telegraph เอกสารแผนลับดังกล่าวระบุขั้นตอนฉุกเฉิน

1 ใน 3 ของการโจมตีทางไซเบอร์คือ ‘Identity Attacks’

Loading

รายงาน IBM X-Force Threat Intelligence Index 2025 ได้รวบรวมเคสต่างๆ ในการรับมือเหตุการณ์คุกคาม รวมถึงข้อมูลข่าวกรองภัยคุกคามจากดาร์กเว็บและแหล่งที่มาอื่นๆโดยพบว่า 30% ของการบุกรุกทั้งหมดในปีที่แล้วเป็นการโจมตีที่เกี่ยวข้องกับตัวตน บวกกับการเพิ่มขึ้นถึง 84% ต่อปีของอีเมลที่ส่งมัลแวร์ infostealer ออกไปปฏิบัติการ

พบแฮกเกอร์มือสมัครเล่น ใช้โฮสต์แบบ Bulletproof ในรัสเซีย เป็นฐานแพร่กระจายมัลแวร์

Loading

เซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ในการปล่อยมัลแวร์นั้น โดยทั่วไปแฮกเกอร์มักใช้บัญชีที่แฮกเพื่อเข้าใช้งานเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการที่มีคุณภาพ และความน่าเชื่อถือสูง แต่ก็ยังมีเซิร์ฟเวอร์อีกประเภทหนึ่งที่เรียกได้ว่า เป็นเซิร์ฟเวอร์ที่กฎหมายเข้าถึง และเล่นงานได้ยาก โดยเซิร์ฟเวอร์ประเภทนี้ถูกเรียกว่าเซิร์ฟเวอร์กันกระสุน หรือ Bulletproof Hosting Providers (BHP)

‘เว็บเบราว์เซอร์’ ช่องโหว่ฮิต เป้าหมาย ‘ตัวร้ายไซเบอร์’

Loading

รายงานเหตุการณ์ภัยไซเบอร์ระดับโลกล่าสุดจาก Unit 42 พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ ผู้ให้บริการด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ระดับโลก เผยว่า ปัจจุบันโจรไซเบอร์ได้ปรับกลยุทธ์ใหม่ เปลี่ยนจากการใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่และการขโมยข้อมูลแบบเดิม ไปสู่การมุ่งขัดขวางการดำเนินธุรกิจ

ข้อมูลคนไทยหลุดซ้ำๆ หน่วยงานไทยยังถูกโจมตีหนัก 1 ปี 3 เดือนไทยเจอภัยกว่า 2,700 ครั้ง

Loading

    ทีมข่าวไอที ก่อนที่ไทยจะเผชิญเหตุแผ่นดินไหวเพียงหนึ่งวัน (27 มี.ค.2568) มีข่าวว่าข้อมูลคนไทยหลุดออกมาขายซ้ำอีกครั้ง โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ออกมาแถลงข่าวกรณีข้อมูลคนไข้ในระบบ A-Med Care Plus 1.3 แสนรายถูกโจรกรรมเอาไปขายบนเว็บบอร์ดซื้อขายข้อมูลแห่งหนึ่งว่า ไม่ได้หลุดจากระบบ แต่เกิดขึ้นระหว่างโอนถ่ายข้อมูล     ล่าสุดเมื่อวานนี้ไปรษณีย์ไทยก็ออกมาแถลงว่าข้อมูลผู้ใช้บริการของตัวเองทั้ง ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัทพ์ อีเมล ถูกเอาไปเผยแพร่บน Dark Web แต่ข้อมูลที่ถูกเอามาเผยแพร่นี้ไม่มีข้อมูลธุรกรรมทางการเงิน และทางหน่วยงานก็ได้ปิดช่องทางเข้าถึงข้อมูลทันทีพร้อมคุมเข้มยกระดับมาตรการเก็บรักษาข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้บริการแล้ว     อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้สื่อข่าวลองเข้าไปดูในเว็บบอร์ดที่มีการขายข้อมูลเหล่านี้ยังพบอีกว่ายังมีการขายข้อมูลอีกชุดจากระบบ Health Data Center (HDC) ของกระทรวงสาธารณสุขอยู่ด้วยมีจำนวน 210 ไฟล์ ขนาดไฟล์รวมทั้งหมด 150 GB ในโพสต์ขายระบุด้วยว่าเป็นข้อมูลจำนวน 622 ล้านบรรทัด และปัจจุบันโพสต์ประกาศขายดังกล่าวยังคงปรากฏอยู่ในเว็บบอร์ดนั้น   ประกาศขายข้อมูล Health Data Center ของไทยบนเว็บบอร์ด Breachforums…