“ประเสริฐ”เผยยังพบซื้อขายข้อมูลประชาชน สั่งเร่งปิดกั้นจับกุมเด็ดขาด

Loading

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยว่า ตามที่นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้ ดีอี แก้ปัญหาการหลุดรั่วของข้อมูลประชาชน ตลอดจนการซื้อขายข้อมูลประชาชนตามที่เป็นข่าว จึงได้เร่งดำเนินการ 6 มาตรการ ทั้งระยะเร่งด่วน ระยะ 6 เดือน และระยะ 12 เดือน และได้เสนอคณะรัฐมนตรีไปแล้วนั้น

“รมว.ดีอี” นั่งหัวโต๊ะคุมฝึกซ้อมรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ระดับประเทศ ระดับร้ายแรงและวิกฤติ

Loading

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานการประชุมซักซ้อมเตรียมการคณะกรรมการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับร้ายแรง (ครร.) ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) จัดขึ้นตาม พ.ร.บ.ไซเบอร์

ดีอีเอสบี้ ‘แฟลตฟอร์มดิจิทัล’ แสดงตัวคาดเข้าข่ายพันราย

Loading

  เตรียมตัวให้พร้อม! “ดีอีเอส” ขีดเส้น 21 ส.ค.-18 พ.ย. 2566 บี้ผู้ให้บริการแฟลตฟอร์มดิจิทัลที่เข้าข่ายกว่า 1 พันราย ทยอยรายงานตัว หลังกฎหมาย DPS ปักหมุดบังคับใช้ ขู่เมินพร้อมงัดโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 1 แสนบาท ยันแม่ค้าออนไลน์-อินฟลูเอ็นเซอร์ไม่กระทบ ดีเดย์ 26 มิ.ย. นี้ เดินเครื่องรับฟังความคิดเห็นเรื่องการยืนยันตัวตนของผู้ให้บริการ ปิดช่องมิจฉาชีพหลอกลวง   22 มิ.ย. 2566 – นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวภายหลังการประชุมทำความเข้าใจสร้างการรับรู้ถึงความสำคัญของ พ.ร.ฎ.การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 หรือ กฎหมาย DPS (Digital Platform Services) ที่จะมีผลใช้บังคับในวันที่ 21 ส.ค. นี้ ว่า ตามที่มีการประกาศ พ.ร.ฎ.ฉบับนี้ส่งผลให้ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลตามเกณฑ์ต้องมาแจ้งกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA)…

โจรไซเบอร์แสบ! ปั่นข่าวปลอม “ออมสิน” ปล่อยสินเชื่อปลอดดอกเบี้ย คนแห่สนใจอันดับ 1

Loading

    ดีอีเอส ออกโรงเตือนประชาชนระวังโจรไซเบอร์ หลังประชาชนแห่สนใจเรื่องการกู้เงินออนไลน์ให้วงเงินสูง ปลอดดอกเบี้ย หลังมิจฉาชีพปลอมตัวเป็นธนาคารออมสิน ปล่อยสินเชื่อเงินกู้ฉุกเฉิน ขณะที่ข่าวปลอม ครม. อนุมัติถอนเงินชราภาพได้ก่อน 30% กดรับสิทธิผ่านลิงก์ ขึ้นแท่นข่าวปลอมที่คนสนใจสูงสุด   ดร.เวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) และโฆษกกระทรวงดีอีเอส เปิดเผยว่า ผลการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ระหว่างวันที่  12-18 พฤษภาคม 66 พบข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 3,189,887 ข้อความ โดยมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ทั้งสิ้น 274 ข้อความ โดยช่องทางที่มีการพบเบาะแสมากที่สุด คือ ข้อความที่มาจาก Social listening จำนวน 240 ข้อความ ตามมาด้วยการแจ้งเบาะแสผ่าน Line Official จำนวน 34 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 189 เรื่อง และจากการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับผลการตรวจสอบกลับมาแล้ว 85 เรื่อง…

‘ข่าวปลอม’ Fake news พุ่งไม่หยุด!! ประเด็น ‘สุขภาพ-โควิด’ บิดเบือนสูงสุด

Loading

    “ดีอีเอส”จับตา“ข่าวปลอม”สุขภาพพุ่งไม่หยุด ทั้งเส้นเลือดสมองแตก-โควิด ทำคนตื่นตระหนก เปิดผลมอนิเตอร์ข่าวปลอมรอบสัปดาห์ พบข่าวปลอมเกือบ 100% เกิดจากโลกออนไลน์ โดยมีข่าวต้องคัดกรอง 3,243,222 ข้อความ พบประชาชนให้ความสนใจข่าวปลอมกลุ่มสุขภาพมากที่สุด   เปิดผลมอนิเตอร์ข่าวปลอมรอบสัปดาห์นี้ พบ ข่าวปลอมเกือบ 100% เกิดจากโลกออนไลน์ โดยมีข่าวต้องคัดกรอง 3,243,222 ข้อความ พบประชาชนให้ความสนใจข่าวปลอมกลุ่มสุขภาพมากที่สุด โดยเฉพาะข่าวปลอม ไม่ควรสระผมก่อนอาบน้ำ เพราะทำให้เส้นเลือดสมองแตก รองลงมาข่าว โควิดสายพันธุ์ XBB และ XBB.1.16 ตรวจพบยาก เป็นพิษมากกว่าเดลต้า 5 เท่า มีอัตราการตายที่สูงกว่า และดื้อต่อภูมิคุ้มกัน ข้อมูลเท็จ ไม่เป็นความจริง อย่าแชร์!   ดร.เวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ระหว่างวันที่ 14- 20 เมษายน 2566 พบข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 3,243,222 ข้อความ…

ดีอีเอส รู้ตัว 9near แล้ว! รับหลายหน่วยงานรัฐยังมีช่องโหว่จริง

Loading

    ชัยวุฒิ เผยรู้ตัวผู้ใช้งานบัญชี 9near แล้ว พบเป็นคนในประเทศและทำเป็นขบวนการหวังดิสเครดิตรัฐ ยอมรับระบบเทคโนโลยีของภาครัฐยังมีช่องโหว่ อาจส่งผลให้ข้อมูลประชาชนรั่วไหลได้   ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เผยความคืบหน้ากรณี ผู้ใช้ชื่อบัญชี “9near” อ้างว่ามีข้อมูลส่วนตัวของคนไทยกว่า 55 ล้านรายชื่อ   ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ข้อมูลมาพอสมควรและได้ล็อกเป้าคนร้ายแล้ว แต่ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าข้อมูลหลุดออกมาจากหน่วยงานไหน ต้องรอจับคนร้ายให้ได้ก่อนแล้วจึงขยายผล เบื้องต้นเชื่อว่าเป็นการดิสเครดิต ต้องการให้รู้ว่าระบบมีปัญหา ไม่ได้เป็นการเรียกค่าไถ่ หรือหาเงินจากเรื่องนี้   คิดว่าการโจมตีครั้งนี้ มีการทำเป็นขบวนการไม่สามารถทำคนเดียวได้ ยืนยันหากจับคนร้ายได้แล้วข้อมูลไม่รั่วไหลแน่นอน   โดยได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ ประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องเร่งหาข้อเท็จจริง รวมทั้งดูแลผู้เสียหายจากเคส 9near ด้วย   อย่างไรก็ตาม นายชัยวุฒิ มองว่า มีหลายหน่วยงานที่มีโอกาสทำข้อมูลรั่วไหล โดยเฉพาะระบบที่ประชาชนต้องลงทะเบียน รวมถึงการแจ้งผลการลงทะเบียนของประชาชน ที่จำเป็นต้องมีการระบุ ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์บนแพลตฟอร์มที่เป็นสาธารณะ   ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (PDPA) ระบุให้หน่วยงานที่รู้ตัวว่าทำข้อมูลหลุดต้องแจ้งต่อ…