รัฐสภาสิงคโปร์ผ่านร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยอาชญากรรมทางออนไลน์ที่เป็นอันตราย

Loading

    เมื่อ 5 ก.ค.66 รัฐสภาสิงคโปร์ผ่านร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยอาชญากรรมทางออนไลน์ที่เป็นอันตราย (The Online Criminal Harms Act – OCHA) กำหนดให้รัฐบาลมีอำนาจสั่งลบเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน และบัญชีออนไลน์ที่ต้องสงสัยว่าใช้ในกิจกรรมทางไซเบอร์ที่เป็นอันตราย เช่น การหลอกลวง การให้กู้ยืมเงินที่ผิดกฎหมาย การพนันที่ผิดกฎหมาย ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด รวมถึงความผิดอื่น ๆ ที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ ความปรองดองของคนในชาติ และความปลอดภัยของบุคคล   หากมีข้อสงสัยหรือมีเหตุให้เชื่อว่ากิจกรรมออนไลน์นั้นกำลังดำเนินการเพื่อเตรียมการหรือเป็นส่วนหนึ่งในการกระทำความผิด แม้ว่าความผิดจะยังไม่เกิดขึ้น รัฐบาลสามารถออกคำสั่งให้บุคคลหรือบริการออนไลน์หยุดการสื่อสารเนื้อหาออนไลน์ที่ผิดกฎหมาย อาทิ ปิดกั้นการใช้งานหรือการเข้าถึงเนื้อหา ระงับบัญชี บล็อกการเข้าถึงโดเมนเว็บไซต์ หรือลบแอปพลิเคชันออกจากร้านค้าออนไลน์ หรือกรณีเว็บไซต์ที่มีโดเมนคล้ายกับธนาคารอาจถูกลบออกหากมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะถูกใช้เพื่อปลอมแปลงเป็นธนาคาร โดยภารกิจดังกล่าวจะใช้กลไกของศูนย์ต่อต้านการหลอกลวง (Anti-Scam Center) ซึ่งสามารถปฏิบัติงานทั้งในเชิงรับและเชิงรุกอย่างรวดเร็วเพื่อลดผลกระทบและป้องกันไม่ให้มีผู้ที่ตกเป็นเหยื่อเพิ่มมากขึ้น   รัฐบาลจะสร้างสมดุลระหว่างการป้องกันอันตรายและความเป็นส่วนตัว เช่น ยังคงอนุญาตให้บริษัทออนไลน์ใช้การเข้ารหัสจากต้นทางถึงปลายทางในการส่งข้อความส่วนตัว รวมถึงให้เสรีภาพในการพูด ซึ่งจะต้องไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อบุคคลและสังคม หรือใช้คำพูดแสดงความเกลียดชัง   อย่างไรก็ตาม ร่างกฎหมายมีผลบังคับใช้เฉพาะกับเนื้อหาออนไลน์และกิจกรรมที่ถือเป็นความผิดทางอาญาในสิงคโปร์เท่านั้น แต่ยังอนุญาตให้รัฐบาลออกคำสั่งแก่หน่วยงานและบุคคล แม้จะไม่ได้อยู่ในสิงคโปร์ แต่มีข้อจำกัดที่บางประเทศอาจเลือกที่จะไม่ปฏิบัติตาม    …

ออสเตรเลียจัดตั้งศูนย์ต่อต้านการหลอกลวงแห่งชาติ

Loading

  ออสเตรเลียเปิดตัวศูนย์ต่อต้านการหลอกลวงแห่งชาติ (National Anti-Scam Centre) เมื่อ 3 ก.ค.66 ซึ่งบริหารงานภายใต้คณะกรรมาธิการด้านการแข่งขันและผู้บริโภคแห่งออสเตรเลีย (ACCC)   โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ เป็นคณะทำงานซึ่งทำหน้าที่ควบคุมและกำกับดูแล ได้แก่ กรมสรรพากร (ATO) กระทรวงมหาดไทยของออสเตรเลีย องค์การสื่อและการสื่อสารแห่งออสเตรเลีย (ACMA) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และการลงทุนของออสเตรเลีย (ASIC) ส่วนผู้ปฏิบัติงานนั้นประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญจากทั้งภาครัฐ หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย และภาคเอกชน ซึ่งจะใช้ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ รวมถึงด้านข่าวกรอง เพื่อต่อสู้กับการหลอกลวง   จุดมุ่งหมายในการจัดตั้งศูนย์ฯ เพื่อสร้างความตระหนักรู้แก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับการหลอกลวงและทราบถึงกลโกงหรือวิธีการของมิจฉาชีพ ตรวจจับและขัดขวางการกระทำของมิจฉาชีพ รวมถึงช่วยเหลือผู้ที่ตกเป็นเหยื่อได้รับเงินที่สูญเสียไปกลับคืน โดยเฉพาะการหลอกลวงให้ลงทุน ซึ่งมากกว่าร้อยละ 50 ของการหลอกลวงประเภทอื่น ส่งผลให้ชาวออสเตรเลียสูญเสียเงินถึง 1 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (ประมาณ 23,450 ล้านบาท) ต่อปี   ACCC กำลังดำเนินการจัดสร้างระบบเชื่อมโยงและแบ่งปันข้อมูลระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน สำหรับการแจ้งเตือนข้อมูลการหลอกลวง อย่างไรก็ดี ในปี 2565 ชาวออสเตรเลียสูญเสียเงินมากกว่า 3.1 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย…

เจ้าหน้าที่หน่วยอารักขาประธานาธิบดีสหรัฐฯ พบสารโคเคนที่ทำเนียบขาว

Loading

เมื่อ 2 ก.ค.66 เจ้าหน้าที่หน่วยอารักขาประธานาธิบดีสหรัฐฯ (The United States Secret Service – USSS) เข้าตรวจสอบสถานที่ทำเนียบขาวตามภารกิจเวลา 18.00 น. และค้นพบผงสีขาวต้องสงสัยบริเวณส่วนกลางของพื้นที่ปีกตะวันตกในทำเนียบขาว จึงได้ยกระดับแจ้งเตือนความปลอดภัย โดยสั่งอพยพเจ้าหน้าที่ทั้งหมดออกจากอาคารและปิดทำเนียบขาวเป็นการชั่วคราว รวมถึงเรียกเจ้าหน้าที่ดับเพลิงพร้อมด้วยทีมวัตถุอันตรายของหน่วยงานดับเพลิงและบริการการแพทย์ฉุกเฉินเขตปกครองพิเศษโคลัมเบีย (DC Fire & EMS) เข้าตรวจสอบเวลา 20.49 น. ซึ่งผลทดสอบเบื้องต้นพบว่าเป็นโคเคน ด้านนาย Anthony Guglielmi โฆษกของ USSS กล่าวว่า เจ้าหน้าที่กำลังตรวจสอบสารดังกล่าวเพิ่มเติม รวมทั้งสอบสวนหาสาเหตุและวิธีการนำสารเข้ามายังทำเนียบขาว และอ้างถึงหน่วยงาน DC Fire & EMS ที่ระบุว่าสารซึ่งพบในพื้นที่นั้น “ไม่ถือเป็นภัยคุกคาม” ทั้งนี้ ขณะพบสารดังกล่าวประธานาธิบดีโจ ไบเดน ไม่ได้อยู่ที่ทำเนียบขาว —————————————————————————————————————————————— ที่มา :               …

สำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าของสหรัฐฯ ทำข้อมูลผู้รับบริการรั่วไหลนานหลายปี

Loading

  สำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าของสหรัฐฯ (USPTO) ทำข้อมูลที่อยู่ของผู้ยื่นเอกสารขอออกสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าประมาณ 61,000 ราย ระหว่าง ก.พ.63 ถึง มี.ค.66 รั่วไหลสู่สาธารณะโดยไม่ตั้งใจ ส่งผลกระทบประมาณร้อยละ 3 ของผู้ยื่นเอกสารทั้งหมดในช่วงเวลาดังกล่าว   ทั้งนี้ USPTO ได้ส่งประกาศแจ้งเตือนพร้อมทั้งคำขอโทษไปยังผู้ที่ได้รับผลกระทบทราบแล้ว โดยระบุว่าปัญหาเกิดจากช่องโหว่ของซอฟต์แวร์เชื่อมต่อระบบ หรือ Application Programing Interface – API ที่อนุญาตให้แอปพลิเคชันที่ทั้งเจ้าหน้าที่และผู้จัดเก็บไฟล์สามารถเข้าถึงระบบเพื่อตรวจสอบสถานะของเครื่องหมายการค้าที่รอดำเนินการและจดทะเบียนแล้ว แต่ระบบไม่ได้ปกปิดข้อมูลที่อยู่ของผู้รับบริการ ทำให้ผู้อื่นสามารถเห็นข้อมูลดังกล่าวผ่านทางออนไลน์ได้   หลังจาก USPTO ทราบถึงปัญหาก็ได้ทำการแก้ไขเมื่อ 1 เม.ย.66 โดยการบล็อกการเข้าถึง API ที่ไม่สำคัญในระบบทั้งหมด รวมถึงลบข้อมูลที่ส่งผลกระทบจำนวนมากออกจากระบบจนกว่าจะมีการแก้ไขอย่างถาวร   อย่างไรก็ดี USPTO เชื่อว่าข้อมูลที่หลุดนี้จะไม่ถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด       ————————————————————————————————————————————— ที่มา :             เว็บไซต์ TechCrunch …

สหภาพยุโรปเตรียมออกกฎหมายควบคุมการใช้ข้อมูลผู้บริโภคและองค์กรในยุโรป

Loading

ประเทศในสหภาพยุโรปและฝ่ายนิติบัญญัติของสหภาพยุโรปบรรลุข้อตกลงในการออกพระราชบัญญัติข้อมูล (Data Act) เมื่อ 27 มิ.ย.66 เพื่อควบคุมบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ (Big Tech) และบริษัทอื่น ๆ ในการใช้ข้อมูลของผู้บริโภคและองค์กรในยุโรป รวมถึงป้องกันรัฐบาลนอกสหภาพยุโรปเข้าถึงข้อมูลอย่างผิดกฎหมาย ทั้งนี้จะครอบคลุมไปถึงข้อมูลของผู้บริโภคที่สร้างบนอุปกรณ์อัจฉริยะ เครื่องจักร และสินค้าอุปโภคบริโภคต่าง ๆ กฎหมายนี้กำหนดให้ผู้ให้บริการระบบคลาวด์จะต้องให้คำแนะนำแก่ผู้รับบริการเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการถ่ายโอนข้อมูลที่ผิดกฎหมาย ต้องมีการสร้างหรือพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงานร่วมกันของภาคส่วนต่าง ๆ หากเป็นการใช้ข้อมูลที่ซ้ำกัน  นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้บริโภคและบริษัทสามารถคัดลอกหรือถ่ายโอนข้อมูลจากผู้ให้บริการรายเดิมไปยังผู้ให้บริการรายใหม่ได้ง่ายขึ้น และคาดว่าจะส่งผลให้การบังคับให้ผู้บริโภคแบ่งปันข้อมูลแก่บุคคลที่สามลดน้อยลง —————————————————————————————————————————————— ที่มา :                             เว็บไซต์ Reuters                         / วันที่เผยแพร่  28…

รายงานวุฒิสภาสหรัฐฯ เผยถึงความล้มเหลวด้านข่าวกรองและการบังคับใช้กฎหมายของสหรัฐฯ

Loading

  วุฒิสภาสหรัฐฯ ได้เผยแพร่รายงานเมื่อ 27 มิ.ย.66 ระบุว่า สำนักงานสอบสวนกลาง (FBI) กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ และหน่วยงานรัฐบาลกลางอื่น ๆ เพิกเฉยหรือมองข้ามคำเตือนและการเรียกร้องให้ดำเนินการขั้นเด็ดขาดเพื่อระงับเหตุรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งยังล้มเหลวในการแบ่งปันข้อมูลข่าวกรองกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย จนนำไปสู่เหตุจลาจลและการโจมตีอาคารรัฐสภาสหรัฐฯ เมื่อ 6 ม.ค.65 นอกจากนี้ก่อนการโจมตีเพียงไม่กี่วัน การเฝ้าระวังและติดตามภัยคุกคามบนสื่อสังคมออนไลน์ของ FBI ได้ลดลงอย่างมาก เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงสัญญาที่เกี่ยวกับบุคคลที่สามในสื่อสังคมออนไลน์ ภายในรายงานยังเน้นคำพูดของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ FBI สองคนที่ได้ให้สัมภาษณ์ว่า “พวกเขาไม่ทราบว่ารัฐสภาอาจจะถูกปิดล้อม” อย่างไรก็ดี ผู้แทนของ FBI กล่าวแย้งว่า FBI มีการทำงานร่วมกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในช่วงก่อนและในวันที่ 6 ม.ค.65 อาทิ การตั้งกองบัญชาการร่วม และหลังเหตุการณ์ก็ได้แบ่งปันข้อมูลอย่างรวดเร็ว           —————————————————————————————————————————————— ที่มา :                     …