รู้ทัน 6 กลโกง ภัยแฝงหารายได้เสริมออนไลน์ รับมืออย่างไร ไม่ให้โดนหลอก

Loading

      ปัจจุบัน งานออนไลน์ มีให้เลือกมากมายตามความสมัครใจ ทั้งคำชวนเชื่อที่ว่า ทำง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก อยู่บ้านก็ทำได้ หรือสุดแท้แต่จะเชิญชวน หากเจอบริษัทดีก็ดีไป แต่หากเจอมิจฉาชีพแฝงตัวมาหลอก ก็ต้องน้ำตาตกในไปตามๆ กัน   เว็บไซต์ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เผย 6 วิธีรับมือ เมื่อโดนหลอกให้ทำงาน หารายได้เสริมออนไลน์ ดังนี้ 1. หากพบคำเชิญชวนให้ทำงานออนไลน์ ผ่านทาง SMS หรือโฆษณาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook, Instagram, Twitter อย่าเข้าไปติดต่อสมัครเด็ดขาด โดยเฉพาะโพสต์ที่แอบอ้างสัญลักษณ์ของหน่วยงานราชการ หรือบริษัทที่เกี่ยวข้องมาเพิ่มความน่าเชื่อถือ แต่มิได้เป็นช่องทางทางการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง   2. ให้หลีกเลี่ยงข้อเสนอที่ฟังดูดีเกินจริง โดยเฉพาะงานที่มีผลตอบแทนสูง ทำง่าย ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก   3. ให้ปรึกษาสายด่วนของตำรวจไซเบอร์ ที่หมายเลข 1441 เพื่อปรึกษาว่างานดังกล่าว เป็นมิจฉาชีพหรือไม่   4. หากงานออนไลน์ดังกล่าวมีเงื่อนไขว่า ให้วางเงินมัดจำ…

เริ่มใช้แล้ว! กสทช.ลุย Cell Broadcast แบบเสมือนผ่านค่ายมือถือ

Loading

  กสทช.ประกาศความพร้อมผนึกค่ายมือถือ เปิดระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉิน Cell Broadcast แบบเสมือนระหว่างรอระบบเตือนภัยจริงของ ปภ.เสร็จ ส่วนระบบ 2G และ 3G จะได้รับการแจ้งเตือนผ่าน SMS     นายสรณ บุญใบชัยพฤกษ์ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ขณะนี้ผู้ให้บริการทั้ง 3 ราย คือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ในเครือ AIS บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ในเครือ TRUE และบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ได้ทำระบบ Cell Broadcast Center (CBC) พร้อมทดสอบการใช้งานระบบการแจ้งเตือนภัยแล้วระหว่างที่รอระบบ Cell Broadcast Entity (CBE) จาก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ที่ยังดำเนินการไม่เสร็จ นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รองเลขาธิการ รักษาการแทน เลขาธิการกสทช. กล่าวว่า สำหรับรูปแบบการส่งข้อความเตือนภัยในปัจจุบัน แบ่งดังนี้ (1) กรณีภัยพิบัติประเภทแผ่นดินไหว…

เผย 3 พฤติกรรมช้อปปิ้งออนไลน์ ด้วยบัตรเครดิต เสี่ยงตกเป็นเป้าของมิจฉาชีพ

Loading

    ผู้เชี่ยวชาญเผย 3 พฤติกรรมช้อปปิ้งออนไลน์ ด้วยบัตรเครดิต อาจเสี่ยงตกเป็นเป้าของมิจฉาชีพ ในยุคที่อินเตอร์เน็ตก้าวหน้าการ ช็อปปิ้งออนไลน์ โดยใช้เพียงบัตรเดียว จึงสะดวกสบายสำหรับทุกคนเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามพฤติกรรมดังกล่าวอาจนำไปสู่การหลอกลวงจากกลุ่ม มิจฉาชีพ มาที่หน้าประตูบ้านของคุณได้   จากการสำรวจล่าสุดของ Security.com ซึ่งเป็นบริษัทระบบรักษาความปลอดภัยในสหรัฐ พบว่าประมาณร้อยละ 63 ของประชากรใน สหรัฐเคยประสบกับการฉ้อโกงบัตรเครดิต โดยมีมูลค่าสะสมสูงถึง 6.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ   ภาพประกอบ ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านความปลอดภัยในบ้าน เตือนผู้คนให้ปรับปรุงพฤติกรรมอันตราย 3 ประการที่มักมองข้ามไปเมื่อซื้อของออนไลน์       1.นิสัยการใช้รหัสผ่านที่เดาง่าย โดยแต่ละบัญชีควรใช้รหัสผ่านที่ไม่ซ้ำกัน หมายความว่าหากเว็บไซต์ใดเว็บไซต์หนึ่งถูกแฮ็ก แฮกเกอร์ก็สามารถบุกรุกบัญชีอื่นๆ ของคุณได้อย่างง่ายดาย สำหรับวิธีลดความเสี่ยงนั้น ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ขั้นแรกคุณสามารถสมัครใช้งานตัวจัดการรหัสผ่าน ซึ่งสามารถสร้างรหัสผ่านที่ไม่ซ้ำกันและซับซ้อนได้ โดยอัตโนมัติ ตัวจัดการรหัสผ่านยังต้องการรหัสผ่านที่ไม่ซ้ำใครและซับซ้อน และหลีกเลี่ยงการใช้รหัสผ่านนั้นในเว็บไซต์อื่น   2.การช็อปปิ้งออนไลน์ผ่าน Wi-Fi สาธารณะ “การเชื่อมต่อ Wi-Fi สาธารณะนั้นไม่ปลอดภัยโดยเนื้อแท้ และไม่ควรใช้เพื่อการจับจ่ายซื้อของหรือป้อนข้อมูลบัตรเครดิต เนื่องจากข้อมูลของคุณอาจถูกเข้าถึงได้ง่าย” โดยเน้นย้ำว่าพฤติกรรมทั้งสองนี้มีความอันตรายมาก…

มิจฉาชีพล่าเหยื่อ ‘ผู้สูงอายุ’ ระวังหลงกลเจ้าหน้าที่รัฐเก๊ ‘ดูดเงิน’

Loading

    ไม่ใช่แค่คนไทยที่ไว้ใจกันเกิน รัฐบาลสหรัฐเผยมิจฉาชีพล่าเหยื่อ ‘ผู้สูงอายุ’ พบกลโกงออนไลน์รูปแบบใหม่ ‘ดูดเงิน’ กว่า 8.4 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า     “ยุคดิจิทัล” มาพร้อมกับความสะดวกสบายและโอกาสมากมาย  ทว่าในอีกด้านหนึ่ง เทคโนโลยีที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างไร้พรมแดนนี้ก็ได้กลายเป็นช่องทางอันแสนสะดวกให้กับเหล่า “มิจฉาชีพ” ในการก่ออาชญากรรมรูปแบบใหม่ๆ ที่สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินและจิตใจของผู้บริสุทธิ์อย่างมหาศาล เรื่องนักต้มตุ๋น มิจฉาชีพ กลโกงออนไลน์ ไม่ได้มีเพียงแค่ในประเทศไทยเท่านั้น เพราะตอนนี้ปัญกาการถูกหลอกลวงระบาดไปทั่วโลก รวมถึงดินแดน “สหรัฐ” ด้วย     ข้อมูลล่าสุดจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในไตรมาสที่ 3 ของปี 2567 ได้สะท้อนให้เห็นถึงความน่ากังวลของสถานการณ์ดังกล่าวอย่างชัดเจน โดยมีการรายงานมูลค่าความเสียหายจากการฉ้อโกงสูงถึง 2.5 พันล้านดอลลาร์ หรือราว 8.4 หมื่นล้านบาท  ซึ่งเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าจากปี 2563  เรื่องนี้อาจเป็นสัญญาณเตือนภัยว่าอาชญากรรมออนไลน์กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วและรุนแรง   กลุ่ม ‘สูงวัย’ เป้าหมายมิจจี้ “ผู้สูงอายุ” เป็นกลุ่มที่น่ากังวล โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป แม้ว่าจะมีรายงานการฉ้อโกงจากกลุ่มนี้เพียง 4%…

SMS หลอกลวง – QR Code ปลอม – แอปแฝง “ภัยไซเบอร์” ภาคการเงิน อยู่รอบตัว ต้องป้องกันตัวอย่างไร?

Loading

    แค่กดปุ่มผิด! คลิกลิงก์ไม่ระวัง! หรือแชร์ข้อมูลส่วนตัวสุ่มสี่สุ่มห้า! เงินในบัญชีอาจหายวับไปในพริบตา ไร้วี่แววและยากที่จะติดตามคืน  คำกล่าวนี้ไม่เกินจริง เพราะข้อมูล จาก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ รายงานว่า เพียง 5 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค.2567-ก.พ.2568) คนไทยสูญเงินไปกับ การหลอกลวงทางออนไลน์ ไปแล้ว 11,348 ล้านบาท   ไม่ว่าจะเป็นการถูกมิจฉาชีพหลอกลวง “ซื้อ-ขาย”สินค้าหรือ บริการ ,หลอกล่อให้โอนเงิน เพื่อแลกของรางวัล รับสิทธิพิเศษต่างๆที่ไม่มีอยู่จริง ,แฝงตัวหลอกเหยื่อวางเงินประกัน รับจ้างทำงานเสริมที่บ้าน เรื่อยไปจนถึง ข้อความเสนอการลงทุนปลอม ที่ให้ผลตอบแทนสูงเกินจริง ว่อนในโลกออนไลน์ ไหนจะโฆษณาปล่อยกู้ ดอกเบี้ยต่ำ ที่ถ้าตกลง ก็ต้องเจอกับค่าธรรมเนียมล่วงหน้า   ล่าสุด ไม่นานมานี้ ยังมีกรณี แอปพลิเคชันกู้เงินเถื่อน ถูกฝังมาในโทรศัพท์มือถือแบรนด์ดัง แบบที่ไม่ได้รับการยินยอมจากผู้ใช้ และมีการส่งโฆษณาชวนกู้เงิน ผ่านทางแจ้งเตือนของโทรศัพท์     อีกทั้งทุกวันนี้เรายังเจอกับ QR Code ปลอม ภัยคุกคามที่มาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี การปรับแต่ง “สลิปโอนเงินปลอม”…

มิจฉาชีพขยันยันวันหยุด! แคสเปอร์สกี้แนะนำวิธีเที่ยว สงกรานต์ปลอดกลโกงออนไลน์

Loading

    แคสเปอร์สกี้ แนะนำวิธีเที่ยวสงกรานต์สบายใจห่างไกลกลโกง ออนไลน์ ชี้ภัยคุกคามทางไซเบอร์ การหลอกลวงออนไลน์มักเกิด ขึ้นถี่มากในช่วงวันหยุดเทศกาล นายเซียง เที่ยง โยว ผู้จัดการหัวไปประจ่าถนิภาคเอเชียตรวันออกเฉียงใด แคสเปอร์สก็ กล่าวถึงกับคุกคามทางไซเบอร์อย่าง การหลอกลวงออนไลน์ที่มักจะเกิดขึ้นถี่มากในช่วงวันหยุดเทศกาล   ทั้งนี้เนื่องจากช่วงวันหยุดสงกรามต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุข ผู้คนมีกิจกรรมมากมายทั้งงานเลี้ยง พบปะ ท่องเที่ยว เดินทาง และเป็นธรรมดาที่ผู้คนจระมัดระวังกับมาตรการความปลอดลอดภัยทางกายภาพมากกว่าการป้องกันทางออนไลน์ นิจฉายัพจึงใช้ ประโยชน์จากจุดนี้ เล่นกลกับความไว้วางใจและหลอกล่อให้เหยื่อเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวและการเงิน มารู้จักกลโกงตัวตึงในประเทศไทย ㆍ ร้านค้าออนไลน์ปลอมล่อหลอกด้วยส่วนลด ร้านคำออมไลน์ของมิจฉาชีพจะเลียนแบบบเว็บไซด์อีคอมเมิร์ซที่ถูกกฎหมาย นำเสนอสินค้าตามเทศกาลในราคาลดพิเศษ เว็บไซต์นี้มักดูเหมือนร้านคำในพื้นพื้นที่ หวังหลอกล่อเงินจากการซื้อสินค้า เหยื่อมักจะเข้าถึงร้านค้าปลอมโดยคลิกลิงกไม โฆษณาหรือปีอปอัป ร้านคำปลอมเหล่านี้มักเปิดให้บริการเพียงช่วงสั้นๆ เพรารมักจะถูกร้านคำจริงที่ถูกกฎหมายแจ้งเตือนเสีย ก่อน ㆍ ของขวัญวันหยุดจากหน่วยงานปลอม มิจฉาชีพแอบอ้างตัวเป็นหน่วยงาน (เช่น หน่วยงานของรัฐ ธนาคาร ไปรษณีย์ กรมศุลกากร) และแจ้งว่าเหยื่อจะได้รับรางวัล จากการจับฉลาก สินค้าลดราคา ที่พักฟรีในโรงแรม หรือสิทธิประโยชน์พิเศษอื่นๆ เพียงแค่เหยื่อช่ารถเงินค่าธรรมเนียมล่าง หน้า มิจฉาชีพจะส่งลังก์ปลอมเพื่อหลอกล่อให้เหยื่อกรอกข้อมูลส่วนตัว เช่น หมายเลขบัญชีธนาคารแลชรหัสผ่าน…