เอ็ตด้าชวนเจาะความล้ำ “AI เจนใหม่” โลกจะเปลี่ยนไปอย่างไร-ใครควบคุม

Loading

วันนี้เรามีเทคโนโลยี AI ที่ก้าวล้ำมาถึงจุดที่เริ่มคิด วิเคราะห์ วางแผน และตัดสินใจแทนมนุษย์ได้แล้ว โดย Agentic AI ซึ่งกำลังกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของโลกดิจิทัล จนหลายฝ่ายเกิดความกังวลและตั้งคำถามว่า หาก AI คิดเอง ตัดสินใจเองได้ ถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด หรือเกิดตัดสินใจผิดพลาดขึ้นมา ใครต้องรับผิดชอบ

เปิด’แผนเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ’ มือถือ-ทีวี-วิทยุ (ยัง) จำเป็นอยู่ไหม

Loading

หลังจากยืดเยื้อมานาน และเป็นประเด็นที่สังคมพูดถึงกันมานานหลายปีว่าเมื่อไร ระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินผ่านโทรศัพท์มือถือ (Cell Broadcast) ที่ประเทศไทยยังไม่มีการใช้งานเสียที แม้ว่าปัจจุบันประเทศไทยได้ข้อสรุปแล้วถึงระบบเตือนภัยผ่านโทรศัพท์มือถือ ซึ่งระหว่างรอทางกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ทำระบบ Cell Broadcast แล้วเสร็จภายในกลางปีนี้ ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือจะเป็นผู้ให้บริการระบบแบบเสมือนไปก่อน

ถกจริยธรรมสื่อยุคไซเบอร์ แนะกำหนดมาตรฐาน ควบคุมเนื้อหาล้ำเส้น ‘PDPA’

Loading

  สำนักข่าว The Reporters ร่วมกับ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดเสวนาเครือข่ายความปลอดภัยดิจิทัลป้องกันภัยไซเบอร์ ครั้งที่ 3 ในหัวข้อ ‘ข่าว…สิทธิใคร สื่อกับจริยธรรมในโลก PDPA และไซเบอร์’ โดยมี ดร.ชำนาญ งามมณีอุดม รองผู้จัดการกองทุนฯ, น.ส.มณีรัตน์ กำจรกิจการ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และนายวิรัช หวังปิติพาณิชย์ ทนายความ ร่วมแลกเปลี่ยนประเด็นการรายงานข่าวที่อาจกระทบสิทธิส่วนบุคคลในยุคดิจิทัล     ดร.ชำนาญ กล่าวว่า หลักการของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) คือการปกป้องสิทธิส่วนตัว ซึ่งบางครั้งขัดแย้งกับการทำหน้าที่สื่อ ปัญหาที่พบคือการรายงานข่าวที่ก้าวล้ำพื้นที่ส่วนตัวของบุคคลที่ไม่ใช่สาธารณะมากเกินไป ซึ่งควรได้รับความคุ้มครอง ด้านนายวิรัช ให้ความเห็นทางกฎหมายว่า สื่อไม่ควรระบุตัวตนบุคคลชัดเจนเกินไป แม้อาจลดความน่าสนใจ แต่ข้อมูลในสื่อคงอยู่ยาวนาน อาจส่งผลกระทบในอนาคตได้   ดร.ชำนาญ ระบุว่า กองทุนฯ พบว่าสื่อมีความระมัดระวังมากขึ้นในบางกรณี เช่น เหตุไฟไหม้รถบัส แต่ยังคงมีปัญหาการนำเสนอภาพคลิปจากกล้องหน้ารถหรือเรื่องส่วนตัวอื่น ๆ ซึ่งต้องพิจารณาถึงประโยชน์สาธารณะเทียบกับเรตติ้ง กองทุนฯ พยายามส่งเสริมข่าวคุณภาพ…

เบื้องหลังโจมตีแคชเมียร์จุดชนวนขัดแย้ง “อินเดีย-ปากีสถาน”

Loading

ความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียและปากีสถานดำดิ่งลงใกล้จุดต่ำสุดในรอบหลายปี หลังเกิดเหตุโจมตีนักท่องเที่ยวในแคชเมียร์จนมีผู้เสียชีวิต 26 คน ซึ่งทั้งสองชาติแลกหมัดประกาศมาตรการตอบโต้ ท่ามกลางความกังวลว่าความขัดแย้งระลอกนี้อาจบานปลายไปสู่การจับอาวุธ เหตุกราดยิงนักท่องเที่ยวที่พาฮาลแกม เมื่อวันที่ 22 เม.ย.2568 ถือเป็นเหตุโจมตีในแคชเมียร์ครั้งรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2019 จุดชนวนความขัดแย้งระลอกใหม่กับปากีสถาน ที่อินเดียชี้นิ้วว่าคอยให้ท้ายกลุ่มติดอาวุธที่ก่อเหตุรุนแรง เหตุการณ์นี้ผิดแผกไปจากเหตุร้ายในอดีต เพราะครั้งนี้พุ่งเป้าไปที่การโจมตีนักท่องเที่ยว ต่างจากเหตุร้ายส่วนใหญ่ในแคชเมียร์ที่ก่อนหน้านี้เป้าหมายมักกระจุกตัวอยู่เฉพาะกลุ่มเจ้าหน้าที่ความมั่นคง ภาพผลพวงของเหตุร้ายที่เกิดขึ้นนำมาซึ่งคำถามว่าเหตุใตจึงต้องมาก่อเหตุตอนนี้ คำตอบอาจเป็นที่จังหวะเวลา นอกจากจะเป็นฤดูท่องเที่ยวกลางฤดูใบไม้ผลิที่มีคนจำนวนมากนิยมไปชมความสวยงามของดินแดน ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นสวิตเซอร์แลนด์แห่งอินเดียแล้ว ยังเป็นจังหวะพอดีกับที่ เจดี แวนซ์ รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ เดินทางเยือนอินเดีย เหตุโจมตีที่เกิดขึ้นทำให้อินเดียต้องอับอายขายหน้าจากความหละหลวมที่ปล่อยให้เกิดเหตุร้าย เศรษฐกิจในแคชเมียร์พึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยว คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 7 ของ GDP จะเห็นว่าหลังเผชิญโควิด-19 ระบาด มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าพื้นที่มากขึ้นเรื่อยๆ จากหลักแสน เพิ่มเป็นหลักล้านและหลายล้านคน อ่านข่าว : กลุ่มมือปืนโจมตีนักท่องเที่ยวในแคชเมียร์ เสียชีวิตกว่า 20 คน แต่หากมองไปมากกว่าเรื่องของเม็ดเงินแล้ว การที่คนหลั่งไหลไปท่องเที่ยวพื้นที่พิพาทซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นบริเวณที่มีการประจำการกำลังทหารมากที่สุดในโลก ตอกย้ำวาทกรรมของรัฐบาลอินเดียที่ว่าสามารถสร้างสันติให้พื้นที่นี้เป็นปกติสุขได้สำเร็จแล้ว เมื่อเกิดเหตุร้ายขึ้นจึงเป็นการส่งสัญญาณให้โลกรู้ว่า ที่นี่ไม่ได้สงบสุขเหมือนที่อินเดียพยายามสร้างภาพให้โลกเห็น สิ่งที่ตามมากับความเสียหน้าครั้งใหญ่ คือผลกระทบต่อความเชื่อมั่น รายได้จากการท่องเที่ยวช่วงที่กำลังคึกคักก่อนเข้าหน้าร้อนขณะนี้ได้หดหายไปหมดสิ้น รวมถึงเสถียรภาพในอินเดียและภาพลักษณ์ของอินเดียในเวทีโลก ส่วนประเด็นเหตุผลเบื้องหลัง The Resistance…

Akirabot โจมตีเว็บไซต์กว่า 400,000 แห่ง ด้วยคอนเทนต์สแปมที่สร้างจาก AI

Loading

    การใช้งาน AI นอกจากจะสร้างความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้งานทั่วไป และกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ แล้ว ยังสร้างความสะดวกสบายให้กับเหล่าแฮกเกอร์อีกด้วย   จากรายงานโดยเว็บไซต์ The Hacker News ได้กล่าวถึงการตรวจพบเครื่องมือของแฮกเกอร์ตัวใหม่ในรูปแบบของโปรแกรมทำงานอัตโนมัติ บนอินเทอร์เน็ต (Internet Bot หรือ Bot) ที่มีชื่อว่า AkiraBot ที่กำลังทำการก่อกวนเว็บไซต์ต่าง ๆ ร่วม 4 แสนเว็บไซต์ ด้วยคอนเทนต์ที่ถูกสร้างขึ้นจาก Generative AI (ปัญญาประดิษฐ์สำหรับการสร้างสื่อ) โดยในช่วงเดือน กันยายน ค.ศ. 2024 (พ.ศ. 2567) ได้ทำการก่อกวนเว็บไซต์สำเร็จไปแล้วถึง 80,000 เว็บไซต์     โดยบอทดังกล่าวนั้นแฮกเกอร์ที่สร้างขึ้นมามีจุดประสงค์ที่จะใช้ในการทำ SEO (Search Engine Optimization) เพื่อดันชุดคำ (Keywords) ที่เกี่ยวข้องกับบริการของตนอย่าง Akira และ ServicewrapGO ให้ขึ้นหน้าแรกในการค้นหาผ่าน Search…

สังคมโลก : นิทรรศการสายลับ

Loading

บุคคลที่ได้รับความสนใจ คือ นายคาร์ล มุลเลอร์ หนึ่งในศัตรูสำคัญรายแรก ๆ ที่ถูกหน่วยข่าวกรองภายในประเทศจับกุมได้สำเร็จเมื่อปี 2458 ซึ่งในเวลานั้น เจ้าหน้าที่เอ็มไอ5 สงสัยว่ามุลเลอร์เป็นสายลับชาวเยอรมัน ทว่าสิ่งที่นำพาจุดจบมาสู่เขา กลับเป็นผลไม้อย่าง “มะนาว”