เดนมาร์กคุมเข้ม ปฏิเสธนักวิจัยต่างชาติ หวั่นข้อมูลวิจัยรั่วไหล เสี่ยงถูกจารกรรม

Loading

มหาวิทยาลัยในเดนมาร์ก โดยเฉพาะอารฮุส ซึ่งเป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศ ระบุว่าเหตุผลหลักที่ปฏิเสธนักวิจัยต่างชาติคือ “ความเสี่ยงที่ข้อมูลอ่อนไหวจะรั่วไหลไปยังรัฐบาลต่างชาติ” โดยศาสตราจารย์ Brian Vinter รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ของอารฮุสกล่าวว่า “บางคนอาจไม่มีเจตนาร้าย แต่เมื่อประเมินจากภาพรวมแล้ว เราต้องเลือกป้องกันไว้ก่อน”

4 ประเทศปิดดีล ‘กำแพงภาษีทรัมป์’ แลกอะไรบ้าง?

Loading

ในขณะที่ไทยและหลายประเทศ เดินหน้าความพยายามเจรจาข้อตกลงการค้ากับสหรัฐฯ อย่างเต็มกำลัง จนถึงวันนี้ (17 กรกฎาคม) มีเพียง 4 ประเทศ ที่สามารถบรรลุข้อตกลงกับสหรัฐฯ ได้สำเร็จ ได้แก่ สหราชอาณาจักร จีน เวียดนาม และอินโดนีเซีย แต่เงื่อนไขหรือสิ่งที่ต้องแลกมา เพื่อให้รัฐบาลสหรัฐฯ และประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ พอใจจนยอมลดอัตราภาษีนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย 

Radware เผยแฮ็กเกอร์ประเทศเพื่อนบ้านล็อกเป้าไทย หน่วยงานรัฐฯตกเป็นกลุ่มเสี่ยงอันดับหนึ่ง

Loading

ในสถานการณ์ที่ประเทศไทยกำลังมีคู่ขัดแย้งที่ชายแดน สิ่งหนึ่งที่หลายท่านอาจไม่ทันสังเกตเห็นก็คือการรุกรานอธิปไตยทางไซเบอร์ แน่นอนว่าการโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติในเครือข่ายดิจิทัลที่เชื่อมถึงกัน แต่สิ่งที่แตกต่างออกไปในภาวะเหตุการณ์ขัดแย้ง อย่างน้อยที่สุดธุรกิจไทยหรือหน่วยงานรัฐบาลได้กลายเป็นเป้าหมายที่ถูกล็อกเป้าชัดเจน ดังนั้นการป้องกันตัวของเราต้องรัดกุมมากขึ้น โดย Radware ได้เปิดเผยถึงกิจกรรมการโจมตีที่พวกเขาเฝ้าจับตามาหลายเดือนของกลุ่มนักเคลื่อนไหวที่กำลังล็อกเป้าไทยนามว่า AnonSecKh (Bl4ckCyb3r)

เกิดเหตุแผ่นดินไหวที่ประเทศเมียนมา

Loading

เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2568 กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหวได้รายงานถึงเหตุแผ่นดินไหวบนบกขนาด 4.8 ความลึก 10 กิโลเมตร ที่ประเทศเมียนมา ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 580 กม.

สหราชอาณาจักร ตรวจพบข้อมูลชาวอัฟกันรั่วไหล

Loading

ความปลอดภัยของชาวอัฟกานิสถานหลายหมื่นหรืออาจจะถึงหลักแสนคนกำลังตกอยู่ในความเสี่ยง หลังจากกองทัพ UK ทำข้อมูลขนาดใหญ่ที่รัฐบาลพยายามจะเก็บเป็นความลับรั่วไหลออกไปโดยไม่ตั้งใจรายละเอียดเกี่ยวกับความผิดพลาดนั้นเพิ่งได้รับการเปิดเผยต่อสาธารณะเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (15 ก.ค.) ถึงแม้ว่าเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นมานานกว่า 3 ปีแล้วก็ตาม

“สมรภูมิรบในอวกาศ” บีบีซีเปิดเบื้องหลังบทบาทกองทัพอวกาศสหรัฐฯ ในยุทธการถล่มอิหร่านครั้งล่าสุด

Loading

ภายในฐานทัพของกองทัพอวกาศสหรัฐฯ (US Space Force) ซึ่งพวกเราเรียกกันว่า “การ์เดียนส์” (Guardians) ซึ่งแปลว่า “ผู้พิทักษ์” แทนคำว่า “กองทัพ” เมื่อมองไปยังหน้าจอที่อยู่ภายในฐานทัพ ซึ่งตั้งอยู่ชานเมืองเดนเวอร์ ในรัฐโคโลราโด แล้ว พวกเขาจะสามารถติดตามขีปนาวุธลำหนึ่งที่ถูกส่งมาจากส่วนหนึ่งส่วนใดของโลก ตั้งแต่จุดปล่อยขีปนาวุธไปจนถึงเป้าหมายที่คาดว่าจะหวังผลการโจมตี