เกมการเมืองกับนโยบายการเงิน : เมื่อ ‘ทรัมป์’ จ้องปลด ‘พาวเวลล์’

Loading

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 19 เม.ย. ว่า หลังทรัมป์กล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ว่า “หากผมต้องการให้พาวเวลล์พ้นจากตำแหน่ง ทุกอย่างจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว” ขณะที่ประธานเฟดยืนยันว่า เขาไม่มีแผนลาออกก่อนหมดวาระในเดือน พ.ค. 2569 และความเป็นอิสระของธนาคารกลางเหนือนโยบายการเงินเป็น “เรื่องของกฎหมาย” นั้น

เจ้าหน้าที่ทหารตึงกำลังอำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก

Loading

วันที่ 20 เม.ย. 2568 หน่วยเฉพาะกิจราชมนู กองกำลังนเรศวร ร่วมกับหน่วยเฉพาะกิจทหารพรานที่ 35 และหน่วยเฉพาะกิจตำรวจตระเวนชายแดนที่ 34 ตรึงกำลังในพื้นที่แนวชายแดน อ.แม่ระมาด จ.ตาก พร้อมนำอาวุธยิงสนับสนุนเข้าประจำจุดตามแผนเผชิญเหตุ ภายหลังเกิดเหตุการณ์ที่กองกำลังกลุ่มต่อต้านรัฐบาลเมียนมาใช้กำลังบุกโจมตีฐานทหารเมียนมา บริเวณบ้านมอพาซู อ.เมียวดี จ.เมียวดี ประเทศเมียนมา ในช่วงวันที่ 18–20 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยกองทัพเมียนมาได้ตอบโต้ด้วยการใช้อากาศยานทิ้งระเบิด

‘เว็บเบราว์เซอร์’ ช่องโหว่ฮิต เป้าหมาย ‘ตัวร้ายไซเบอร์’

Loading

รายงานเหตุการณ์ภัยไซเบอร์ระดับโลกล่าสุดจาก Unit 42 พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ ผู้ให้บริการด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ระดับโลก เผยว่า ปัจจุบันโจรไซเบอร์ได้ปรับกลยุทธ์ใหม่ เปลี่ยนจากการใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่และการขโมยข้อมูลแบบเดิม ไปสู่การมุ่งขัดขวางการดำเนินธุรกิจ

ยกระดับจิตสำนึกพนักงาน สร้างวัฒนธรรมองค์กรตระหนักภัยไซเบอร์

Loading

  ในโลกดิจิทัลที่ภัยคุกคามทางไซเบอร์ทวีความรุนแรงและซับซ้อนยิ่งขึ้น ข้อมูลจาก การ์ทเนอร์ ชี้ให้เห็นถึงความท้าทายสำคัญที่องค์กรกำลังเผชิญ เมื่อพนักงานถึง 93% รับทราบถึงพฤติกรรมของตนเองที่อาจนำมาซึ่งความเสี่ยง และน่าตกใจยิ่งกว่านั้นคือ 74% ยอมที่จะละเมิดนโยบายความปลอดภัยเพื่อบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าแนวทางการสร้างความตระหนักรู้แบบเดิมๆ อาจไม่เพียงพอต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านั้นอย่างยั่งยืน   Leigh McMullen รองประธาน นักวิเคราะห์ และ Gartner Fellow ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่งได้นำเสนอแนวคิดอันน่าสนใจภายใต้หัวข้อ “ปลุกสำนึกพนักงานให้เห็นความสำคัญของความเสี่ยงไซเบอร์มากขึ้น” เพื่อเป็นแนวทางให้องค์กรต่างๆ ปรับกลยุทธ์ในการเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยที่เข้มแข็งและยั่งยืน   แม้ว่าองค์กรส่วนใหญ่จะทุ่มเททรัพยากรไปกับการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์และการลดความเสี่ยง แต่ผลลัพธ์ที่ได้กลับไม่เป็นที่น่าพอใจนัก สาเหตุสำคัญไม่ได้อยู่ที่การขาดความเข้าใจในหลักการพื้นฐาน แต่เป็นเพราะพนักงานส่วนใหญ่มองข้ามผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับตนเองและองค์กร พวกเขาคุ้นชินกับการหาทางลัดในการทำงาน ซึ่งรวมถึงการละเลยมาตรการความปลอดภัยโดยไม่ได้ตระหนักถึงผลลัพธ์ที่ตามมาอย่างแท้จริง   เพื่อแก้ไขปัญหานี้ องค์กรจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนมุมมองและสร้างการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมอย่างจริงจัง ผู้บริหารด้านความปลอดภัยต้องก้าวข้ามกรอบของการสื่อสารเชิงเทคนิค ไปสู่การสร้างความรู้สึกร่วมและความเข้าใจในระดับบุคคล เพื่อให้พนักงานตระหนักถึงความเสี่ยงทางไซเบอร์ในฐานะที่เป็นเรื่องใกล้ตัวและมีผลกระทบที่จับต้องได้   นอกเหนือจาก การบังคับใช้บทลงโทษ องค์กรควรให้ความสำคัญกับการสร้างกลไกเชิงวัฒนธรรม ที่อาศัยแรงกดดันจากกลุ่มเพื่อนร่วมงานและการปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้อง ตัวอย่างที่น่าสนใจในอดีตคือแคมเปญ “ปากพล่อย พลอยล่มจม” ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองของสหรัฐอเมริกา ซึ่งสามารถสร้างความตระหนักถึงผลกระทบของการเปิดเผยข้อมูลแม้เพียงเล็กน้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเชื่อมโยงการกระทำของแต่ละบุคคลเข้ากับผลลัพธ์ที่ร้ายแรงต่อส่วนรวม ในบริบทขององค์กรปัจจุบัน คำถามที่น่าพิจารณาคือ เราจะออกแบบโปรแกรมด้านพฤติกรรมและวัฒนธรรมความปลอดภัยอย่างไรให้มีประสิทธิภาพเทียบเท่า   หัวใจสำคัญคือการทำให้พนักงานตระหนักว่าการละเมิดนโยบายความปลอดภัยไม่ใช่เพียงแค่การฝ่าฝืนกฎระเบียบ แต่เป็นการกระทำที่ “ไม่ภักดีต่อองค์กร”…

EOD ทำลายไปป์บอมบ์จุดตรวจตากใบ หลังโจรใต้ขว้างใส่แต่ไม่ทำงาน

Loading

EOD ทำลายไปป์บอมบ์ที่จุดตรวจ อ.ตากใบ หลังโจรใต้ขว้างใส่ แต่ระเบิดไม่ทำงาน ตร.เร่งไล่วงจรปิดล่าตัวคนร้าย เชื่อเป็นกลุ่มเดิม เบื้องต้น เชื่อว่าเป็นคนร้ายกลุ่มเดิมๆ ที่เคยก่อเหตุร้ายต่างๆในพื้นที่ อ.ตากใบ ส่วนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเชื่อว่า เป็นฝีมือการกระทำของกลุ่มสมาชิกผู้ก่อเหตุรุนแรง

สหรัฐฯ ควบคุมตัวชายชาวอินเดียถูกกล่าวหาว่าก่อเหตุระเบิดในรัฐปัญจาบ

Loading

สำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐฯ หรือ เอฟบีไอ และหน่วยปฏิบัติการบังคับใช้กฎหมายและการย้ายถิ่นฐาน รายงานการจับกุม นายฮาร์พรีต ซิงห์ ชายชาวอินเดียที่เมืองซาคราเมนโต ตามที่เขาถูกกล่าวหาว่าวางแผนก่อการร้ายในรัฐปัญจาบทางภาคเหนือของอินเดีย