ช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา แก็งคอลเซ็นเตอร์ระบาดหนัก อ้างเป็นหน่วยงานรัฐ และสารพัดกลลวงต่างๆ นาๆ ให้คนหลงเชื่อทุกรูปแบบ เป็นมาแล้วทั้งเจ้าหน้าที่ DSI , ปปง., สรรพากร บางรายโดนหลอกว่าเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร แจ้งบัญชีถูกอาญัติ , ซิมการ์ดถูกระงับสัญญาณ , ส่งพัสดุผิดกฎหมาย สุดท้ายอาจมีเอื่ยวกับคดีฟอกเงิน หัวจะปวด
Techhub ได้ทำข้อมูลและวิเคราะห์เสียงของคนบนโซเชียล ผ่านเครื่องมือ ZOCIAL EYE เพื่อดูว่าคนไทยพูดถึงปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในแง่มุมไหนบ้าง ในช่วงที่ผ่านมา
ตั้งแต่เดือน ม.ค.-พ.ย 65 มีคนบนโซเชียลที่โพสต์ข้อความแบบสาธารณะเกี่ยวข้องกับ แก๊งคอลเซ็นเตอร์มากกว่า 180,317 ข้อความ โดยพบการมีส่วนร่วม ถึง 23,815,763 ข้อความที่เกี่ยวโยงกับแก๊งคอลเซ็นเตอร์โดยปัญหาหลักๆ ของคนใช้อินเตอร์เน็ตมาจากการหลอกให้โอนเงิน จากมิจฉาชีพออนไลน์ และ SMS ปลอม
พบ 6 ช่องโหว่เทคโนโลยี กลลวงแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลากหลายรูปแบบที่ทุกคนต้องรู้ไว้ จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อ
1. VOIP แปลงสัญญาณ สร้างเบอร์ลวง
ใช้ระบบโทรศัพท์ข้ามประเทศ สื่อสารทางเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต โดยที่ไม่จำเป็นต้องแสดงเบอร์โทร หรือสร้างเบอร์ปลอมเพื่อทำให้เหยื่อเกิดความสับสน และค้นหาต้นตอไม่เจอ
2. Deepfake ปลอมเป็นตำรวจโผล่ VDO call
ใช้เทคโนโลยี AI ช่วยปลอมแปลงใบหน้าของบุคคล แสดงในรูปแบบวีดีโอคอล ซึ่งถ้ามองผ่านๆ ก็อาจแยกไม่ออกและถูกหลอกเอาได้ง่ายๆ
3. หลอกให้โหลดแอป Remote ตัวดัง
ใช้เทคนิคหลอกให้เหยื่อหลงเชื่อและดาวน์โหลดแอปรีโมทที่สามารถเข้าถึง หรือควบคุมอุปกรณ์ทั้ง โทรศัพท์ , คอมพิวเตอร์ ได้จากระยะไกล เพื่อหวังจะดูดเงินในบัญชี หรือล้วงข้อมูลลับไป
4. หลอกเอาข้อมูลส่วนตัวผ่าน OTP
ใช้รหัสลับที่สร้างขึ้นมาแบบชั่วคราวบนมือถือ เป็นประโยชน์เพื่อสวมรอยและแอบอ้างยืนยันตัวตน ที่มักใช้ร่วมกับบัญชีบัตรเครดิต รวมถึงการซื้อสินค้าออนไลน์ที่ได้รับความนิยม
5. ส่ง Link ปลอม แฮกข้อมูลโทรศัพท์
ใช้ไฟล์แนบที่ไม่น่าไว้ใจ ส่งผ่านข้อความและลิ้งก์ปลอมล่อลวงให้กดผ่าน inbox ในโซเชียล พวกนี้ต้องดูให้ดีเพราะหากเผลอเปิดดู อาจถูกล้วงเอาข้อมูลในเครื่องไปแบบไม่ทันรู้ตัว
6. สร้างเว็บไซต์ แอปลวง หลอกฉกข้อมูล
ใช้เว็บปลอม หรือแอปที่ดูหน้าเชื่อถือ หลอกให้ดาวน์โหลดและติดตั้งไฟล์ที่มีความเสี่ยง ในรูปแบบ APK ที่อาจแฝงอันตรายตามมา
ที่มาพร้อมกลลวงสุดฮิตอย่าง
1. หลอกให้หลงเชื่อ
2. ขอตรวจสอบเงินในบัญชี
3. หลอกให้โอนเงิน
และอีกสารพัดกลลวงที่หลอกให้เหยื่อหลงเชื่อ และฉกเอาเงินในบัญชี หรือข้อมูลส่วนตัวไป
TIP : รู้ทัน ป้องกันกลลวงแก๊งคอลเซ็นเตอร์ได้ แค่ดาวน์โหลดแอปตรวจสอบเบอร์ลวงอย่าง Whocall หรือแจ้งข้อมูลเบอร์โทร , SMS หลอกลวงได้ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ AIS, DTAC และ TRUE
ที่มา : techhub / วันที่เผยแพร่ 30 พ.ค.65
Link : https://www.techhub.in.th/knowledge-callcenter-technology/