เจาะลึก AI Governance สหภาพยุโรปและไทย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเราอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่โทรศัพท์มือถือไปจนถึงระบบขนส่ง การทำความเข้าใจและกำกับดูแล AI อย่างเหมาะสมจึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป รัฐบาลในหลายประเทศเริ่มตื่นตัวเกี่ยวกับ “ธรรมาภิบาล AI” หรือ AI governance ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของความโปร่งใส ความยุติธรรม หรือแม้แต่ความปลอดภัยในอนาคต ที่น่าสนใจคือ ในขณะที่สหภาพยุโรปได้ก้าวหน้าไปอีกขั้นด้วยการออกกฎหมาย EU AI Act ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2567 (แต่มีการบังคับใช้แบบค่อยเป็นค่อยไป มีขั้นมีตอน จะมีผลบังคับใช้เต็มรูปแบบช่วงกลางปี 2569) ประเทศไทยเองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจและได้มีการร่างคู่มือแนวทางการกำกับดูแล Generative AI ออกมาเช่นกันเมื่อช่วงปลายปี 2567 แล้วสองแนวทางนี้มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร? มาร่วมกันเจาะลึกถึงประเด็นเหล่านี้และเตรียมพร้อมรับมือกับยุคสมัยที่ AI จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกของเราอย่างลึกซึ้งกันครับ จากการเปรียบเทียบพระราชบัญญัติ AI ของสหภาพยุโรป (EU AI Act) และคู่มือแนวทางการกำกับดูแล Generative AI สำหรับองค์กรของไทย (Thai AI Guideline) มีประเด็นสำคัญดังนี้ ครับ ขอบเขตและสถานะทางกฎหมาย คู่มือแนวทางการกำกับดูแล Generative…