ไขข้อสงสัย!! Facebook Protect คืออะไร?? ต้องเปิดใช้งาน ไม่นั้นจะใช้งานเฟซบุ๊กไม่ได้

Loading

  เมื่อวานนี้หลาย ๆ คนคงจะได้รับการแจ้งเตือนจาก Facebook ให้เปิดใช้งาน Facebook Protect ซึ่งเป็นฟีเจอร์ความปลอดภัยของเฟซบุ๊ก​ (Facebook) ที่บังคับให้ผู้ใช้เปิดใช้งาน มิเช่นนั้นผู้ใช้จะไม่สามารถใช้บริการเฟซบุ๊กได้จนกว่าจะเปิดใช้งาน Facebook Protect ซึ่งก็มีผู้ใช้หลาย ๆ คนที่วิตกกังวล ว่าควรเปิดใช้งานดีหรือไม่ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ Facebook Protect กันดีกว่า ว่าตกลงแล้วคืออะไร??     เดิมทีเมื่อปีที่แล้ว Facebook Protect มีให้บริการในเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ซึ่งจะมุ่งเน้นไปที่บัญชีของนักการเมือง พรรคการเมือง หน่วยงานราชการ กรรมการการเลือกตั้ง และผู้ใช้ที่เป็นเจ้าของเพจที่ได้รับการรับรอง (เครื่องหมายถูกสีฟ้า) ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการการเลือกตั้ง ที่มีการกำหนดว่าผู้ใช้จะเป็นที่จะต้องตั้งค่าการยืนยันตัว 2 ขั้นตอน และเปิดให้เฟซบุ๊กสามารถมอนิเตอร์การใช้งานเพื่อตรวจสอบพฤติกรรมที่ผิดปกติเพื่อป้องกันการโดนแฮกนั่นเอง     ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ได้มีรายงานจาก Axios ว่าในปี 2021 นี้ เฟซบุ๊กจะมีการขยายประเทศที่ให้บริการ Facebook Protect กับประเภทบัญชีที่กว้างมากยิ่งขึ้น นั่นจึงเป็นสาเหตุให้ผู้ใช้บางคนในประเทศไทยได้รับการแจ้งเตือนดังกล่าว ซึ่งถ้าไม่เปิดใช้งานภายใน 15 วัน…

หน่วยงานกึ่งอิสระ ชี้ เฟสบุ๊คมีระบบวีไอพี ให้คนดัง-นักการเมือง รอดระบบคัดกรองเนื้อหา

Loading

  Oversight Board คณะกรรมการที่เป็นหน่วยงานกึ่งอิสระ ซึ่งทำหน้าที่ทบทวนตรวจสอบนโยบายต่างๆ ของสื่อสังคมออนไลน์เฟสบุ๊ค (Facebook) ออกมาวิจารณ์สื่อสังคมออนไลน์ชั้นนำแห่งนี้ว่า มีมาตรฐานแตกต่างให้กับบัญชีของบุคคลมีชื่อเสียงและนักการเมือง ให้ไม่ต้องเข้าสู่ระบบคัดกรองเนื้อหาในสื่อสังคมออนไลน์เหมือนกับบัญชีผู้ใช้ทั่วไปได้ ตามรายงานของรอยเตอร์ ทาง Oversight Board ระบุในบล็อกด้วยเมื่อวันพฤหัสบดี (21 ตุลาคม) ว่า เฟสบุ๊คไม่ได้เปิดเผยตรงไปตรงมาในเรื่องระบบที่เรียกว่า ‘Cross-Check’ ซึ่งเป็นระบบที่ทางเฟสบุ๊คใช้ตรวจสอบคัดกรองเนื้อหาของบัญชีบุคคลที่มีชื่อเสียง ก่อนหน้านี้ สื่อเดอะ วอลล์ สตรีท เจอร์นัล รายงานเรื่องระบบสองมาตรฐานของเฟสบุ๊ค และว่ามีบัญชีราว 5.8 ล้านบัญชีที่อยู่ภายใต้ระบบ ‘Cross-Check’ ดังกล่าว ซึ่งทางโฆษกของเฟสบุ๊ค แอนดี สโตน กล่าวกับสื่อเดอะ วอลล์ สตรีท เจอร์นัล ว่าระบบ ‘Cross-Check’ ออกแบบมาเพื่อเหตุผลสำคัญ คือการสร้างขั้นตอนเพิ่มเติมที่เฟสบุ๊คจะสามารถบังคับใช้นโยบายกับเนื้อหาที่ต้องการความเข้าใจมากขึ้น ทาง Oversight Board ยืนยันว่า เฟสบุ๊คปกปิดการมีอยู่ของระบบ ‘Cross-Check’ นี้ โดยระบุว่า เมื่อเฟสบุ๊คอ้างถึงกรณีที่เกี่ยวข้องกับบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ของอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์กับทางคณะกรรมการ ทางเฟสบุ๊คไม่ได้กล่าวถึงระบบ ‘Cross-Check’…

แคสเปอร์สกี้เตือนระวังทูลร้าย ใช้อีเมลแอดเดรสเชื่อมโยงบัญชี Facebook แนะผู้ใช้เปลี่ยนพาสเวิร์ด

Loading

  นายเดนิส เลเกโซ นักวิจัยอาวุโสด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ทีมวิเคราะห์และวิจัยระดับโลก (GReAT) ของแคสเปอร์สกี้ กล่าวถึงกระแสข่าวเรื่องทูลที่สามารถรวบรวมอีเมลของผู้ใช้งานเฟซบุ๊กและเชื่อมโยงเข้ากับบัญชี ว่า ทูลนี้ช่วยให้สามารถเชื่อมโยงที่อยู่อีเมลกับบัญชีเฟซบุ๊ก แม้ว่าผู้ใช้หรือกลุ่มบนเฟซบุ๊กจะตั้งค่าเลือก “ไม่แสดงอีเมลแอดเดรส” วิธีการป้อนรายชื่ออีเมลแอดเดรสจำนวนมาก จะสามารถโจมตีบัญชีเฟซบุ๊กแบบ brute-force เพื่อค้นหาว่าอีเมลแอดเดรสใดลงทะเบียนกับชื่อบัญชีใด ฐานข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปใช้เพิ่มเติมเพื่อวัตถุประสงค์ที่ผิดจริยธรรมและผิดกฎหมายต่างๆ เช่น การก่อกวนหรือกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ เนื่องจากบัญชีโซเชียลมีเดียมีข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมาก ด้วยช่องโหว่ส่วนเสริมหน้านี้ ผู้โจมตีสามารถเพิ่มฐานข้อมูลของตนได้ ตัวอย่างเช่น สามารถเพิ่มชื่อเต็มและข้อมูลอีเมลแอดเดรสที่เชื่อมโยงกับบัญชีเฟซบุ๊กเหล่านี้ได้ แคสเปอร์สกี้ขอแนะนำว่า หากผู้ใช้เฟซบุ๊กกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว ควรลงทะเบียนบัญชีโซเชียลมีเดียกับอีเมลแอดเดรสที่ไม่ได้เชื่อมโยงกับบัญชีอื่น มีบริการเฉพาะที่เปิดใช้งานรูปแบบนี้และจะป้องกันไม่ให้อาชญากรไซเบอร์ใช้ข้อมูลดังกล่าวได้หากมีการรั่วไหล   ———————————————————————————————————————————- ที่มา : TechTalkThai    / วันที่เผยแพร่  26 เม.ย.2564 Link : https://www.techtalkthai.com/guest-post-kaspersky-facebook-email/

‘เกาหลีใต้’ จ่อฟ้องเฟซบุ๊ค ปล่อยข้อมูลส่วนตัวรั่ว

Loading

    กลุ่มผู้ใช้งานเฟซบุ๊ค ในเกาหลีใต้ เตรียมรวมตัวฟ้อง ฐานปล่อยให้ข้อมูลผู้ใช้งานรั่วไหลไปยังบริษัทอื่น ๆ โดยไม่ได้รับอนุญาต บริษัทกฎหมายจีฮยางและศูนย์ข้อมูลจินโบ ซึ่งเป็นหน่วยงานให้ความช่วยเหลือทางด้านกฎหมายการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล อยู่ในระหว่างรวบรวมข้อมูลจากผู้ร้องทุกข์ที่ต้องการฟ้องเฟซบุ๊คจนถึงสิ้นเดือน พ.ค. เมื่อเดือน พ.ย. 2563 คณะกรรมการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลแห่งเกาหลีใต้ (PIPC) ระบุว่า เฟซบุ๊คได้ละเมิดกฎหมายของเกาหลีใต้ด้วยการส่งมอบข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานอย่างน้อย 3.3 ล้านคน จากจำนวนผู้ใช้งานทั้งสิ้น 18 ล้านคนให้กับบุคคลที่ 3 ตั้งแต่เดือนพ.ค. 2555 ถึงเดือนมิ.ย. 2561 ข้อมูลดังกล่าวประกอบไปด้วยประวัติการศึกษา อาชีพ สถานที่เกิด และสถานภาพความสัมพันธ์ รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับเพื่อนของผู้ใช้งาน ซึ่งทางหน่วยงานได้สั่งปรับเฟซบุ๊คเป็นเงิน 6.7 พันล้านวอน (6 ล้านดอลลาร์) และยื่นคำฟ้องคดีอาญาฐานปล่อยให้ข้อมูลรั่วไหล บริษัทกฎหมายจีฮยางระบุว่า “สิทธิในการตัดสินใจใช้ข้อมูลส่วนบุคคลควรที่จะต้องมีกฎหมายคุ้มครองอย่างเข้มงวด ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชน” พร้อมกล่าวว่า การกระทำของเฟซบุ๊คถือเป็นปัญหาที่ร้ายแรง รายงานระบุว่า มีผู้ใช้งานเฟซบุ๊คกว่า 500 ล้านคนทั่วโลกที่ประสบปัญหาดังกล่าว ส่งผลให้ประชาชนตั้งคำถามถึงระบบการรักษาความปลอดภัยทางข้อมูลของเฟซบุ๊ค   ——————————————————————————————————————————————– ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ …

วิธีตรวจสอบ facebook ของคุณ เป็น 1 ใน 533 ล้านบัญชี ที่ข้อมูลหลุด หรือไม่

Loading

วิธีตรวจสอบ facebook ของคุณ เป็น 1 ใน 533 ล้านบัญชี ที่ข้อมูลหลุดหลังจาก facebook ถูกแฮกหรือไม่ คงทราบข่าวเกี่ยวกับข้อมูลหลุด facebook 533 ล้านบัญชี รั่วไหลสู่สาธารณะแล้วเมื่อวานนี้ ทั้งชื่อ นามสกุล วันเกิด รวมถึงเบอร์โทรศัพท์ด้วย เพื่อความแน่ใจว่าเราคือ 1 ใน 533 บัญชีหรือไม่ ต้องรีบตรวจสอบโดยด่วน   วิธีตรวจสอบ facebook ของคุณ เป็น 1 ใน 533 ล้านบัญชี ข้อมูลหลุดด้วยหรือเปล่า? เช็คที่ haveibeenpwned.com แล้วใส่ที่อยู่อีเมลที่สมัคร facebook ลงไป แน่นอนนอกจากไม่เพียงพบข้อมูลหลุดของ facebook หรือไม่เท่านั้น ยังรวมถึงภัยอื่นๆที่เกิดขึ้นกับอีเมลของคุณด้วย ตอนนี้ผู้สร้าง Have I Been Pwned กำลังพิจารณาว่าจะรวมการค้นหาหมายเลขโทรศัพท์ด้วยหรือไม่     ตรวจสอบเบอร์โทรศัพท์ที่ให้กับ facebook…

‘เฟซบุ๊ก’ ทำข้อมูลรั่วกว่า 533 ล้านบัญชีทั่วโลก เผย มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ก็ไม่รอด

Loading

  เมื่อวันที่ 3 เมษายนที่ผ่านมา เดลีเมลล์ รายงานว่า ชื่อ ที่อยู่ ข้อมูลส่วนตัว รวมไปถึงบัญชีผู้ใช้ของ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ซีอีโอของเฟซบุ๊กก็เป็นหนึ่งในแหล่งข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกขโมย และถูกนำมาเผยแพร่ทางออนไลน์โดยฝีมือของแฮกเกอร์ รวมไปถึงข้อมูลของ คริส ฮิวจ์ส และดัสติน มอสโควิส ผู้ร่วมก่อตั้งเฟซบุ๊กด้วยเช่นกัน         อารอน กัล ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ฮัดสัน ร็อก บริษัทข่าวกรองด้านการก่ออาชญากรรมไซเบอร์ของอิสราเอล เปิดเผยว่า ฐานข้อมูลที่รั่วไหลออกมาดังกล่าว ดูเหมือนจะเป็นชุดเดียวกับหมายเลขโทรศัพท์ที่เชื่อมโยงกับเฟซบุ๊ก ที่หมุนเวียนกันใช้ในกลุ่มแฮกเกอร์ ตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยข้อมูลดังกล่าวถูกซื้อ-ขายในหมู่อาชญากรไซเบอร์มาได้ระยะหนึ่งแล้ว และในตอนนี้ข้อมูลการรั่วไหลดังกล่าวสามารถถูกเข้าถึงได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ๆ กัลยังได้เปิดเผยอีกว่าข้อมูลดังกล่าวนั้นเป็นข้อมูลที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง เพราะว่าเขาสามารถตรวจสอบบางข้อมูลได้ ด้วยการเปรียบเทียบกับหมายเลขโทรศัพท์ของบางคนที่รู้จัก นอกจากนี้ยังมีความพยายามของสื่อบางแหล่งยังระบุว่าสามารถตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์ที่รู้จักกับข้อมูลที่รั่วไหลออกมาได้       ทั้งนี้ข้อมูลที่รั่วไหลออกมานั้นเป็นข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของบัญชีเฟซบุ๊กกว่า 533 ล้านบัญชี หรือคิดเป็นราว ๆ 1 ใน 4 ของผู้ใช้งานทั้งหมด จาก…