คลิปเสียงหลุดชี้ อดีตนายกฯ บังกลาเทศสั่งปราบปรามผู้ประท้วงอย่างรุนแรง

Loading

อัยการในบังกลาเทศวางแผนที่จะใช้เสียงบันทึกดังกล่าวเป็นหลักฐานสำคัญเพื่อเอาผิดฮาซินา ซึ่งกำลังถูกพิจารณาคดีที่ศาลพิเศษในข้อหาอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ผู้สืบสวนของสหประชาชาติระบุว่า มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์จลาจลเมื่อฤดูร้อนปีที่แล้วมากถึง 1,400 คน โดยนางฮาซินาซึ่งหลบหนีไปยังอินเดียและพรรคของเธอ ปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมด 

เกิดเหตุประท้วงรุนแรงในกรุงไนโรบี ประเทศเคนยา

Loading

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน 2568 กล่าวว่า การเดินขบวนในเคนยาจัดขึ้นเพื่อรำลึกครบรอบ 1 ปีของการชุมนุมต่อต้านภาษี ซึ่งจุดพีคคือเมื่อฝูงชนจำนวนมากบุกเข้าไปในรัฐสภาและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยสังหารผู้คนไปหลายสิบราย

“ศาลโลก” คือใคร ? ชี้ขาดได้แค่ไหน ทำไมถึงกลายเป็นความหวังของกัมพูชา !

Loading

จากกรณีข้อพิพาทระหว่างประเทศไทยและกัมพูชาได้จุดประเด็นเรื่องการครอบครองดินแดนอีกครั้ง โดยล่าสุดกัมพูชาได้ยื่นฟ้องต่อศาลโลกในปมพิพาทชายแดน 4 จุดสำคัญ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2568 ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นวันครบรอบของการตัดสินคดีปราสาทพระวิหาร ปี พ.ศ. 2505 ที่ในครั้งนั้นประเทศไทยได้แพ้คดีต่อกัมพูชา โดยมาจากคำตัดสินของศาลโลก และนำมาซึ่งผลของการที่ไทยต้องเสียปราสาทพระวิหารให้กับทางกัมพูชา

รายงานอ้าง จีนส่ง ‘เอ็นจีโอ’ สอดแนมนักเคลื่อนไหวในหน่วยงานสิทธิยูเอ็น

Loading

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากนครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 29 เม.ย. ว่า โครงการ “ไชนา ทาร์เก็ตส์” ของไอซีไอเจ พุ่งเป้าไปที่การสืบสวนกลวิธีต่าง ๆ ซึ่งรัฐบาลจีนใช้ปิดปากนักวิจารณ์ในต่างประเทศ รวมถึงองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่จัดตั้งโดยรัฐบาล หรือกอนโกส (Gongos)

Global Risks Report 2025 ย้ำหายนะโลก! “เข้าสู่จุดเปลี่ยนที่ไม่อาจย้อนกลับ”

Loading

    โลกกำลังเดินหน้าสู่จุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ตามรายงาน Global Risks Report 2025 จาก World Economic Forum (WEF) ระบุว่า วิกฤตด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะสภาพภูมิอากาศรุนแรง และการล่มสลายของระบบนิเวศกำลังเป็นภัยคุกคามสำคัญที่สุดของมนุษยชาติ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว   ท่ามกลางโลกในปัจจุบันที่กำลังเผชิญกับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ การแบ่งขั้วทางสังคม และภัยคุกคามจากสงครามที่ขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะค่อย ๆ ฟื้นตัวจากความท้าทายหลัง โควิด-19 แต่สภาพแวดล้อมโลกกลับเต็มไปด้วยความขัดแย้งและความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง   รายงานนี้อ้างอิงจากการสำรวจความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญกว่า 900 คนทั่วโลก ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ความเสี่ยงหลักที่โลกต้องเผชิญในปี 2025 มีลักษณะที่ซับซ้อนและเกี่ยวพันกัน โดยเฉพาะสงครามระหว่างรัฐ วิกฤตการณ์สภาพภูมิอากาศ และการแบ่งขั้วทางการเมืองที่รุนแรงขึ้น   หนึ่งในประเด็นเร่งด่วนที่สุดคือ ความเสี่ยงจากสงครามระหว่างรัฐ ซึ่งกลายเป็นปัจจัยคุกคามอันดับ 1 ของปี 2025 อันเป็นผลจาก ความขัดแย้งทางทหาร ที่ปะทุขึ้นในหลายภูมิภาค เช่น สงครามในยูเครน ความตึงเครียดในตะวันออกกลาง และสถานการณ์ในไต้หวัน ความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ได้ทำให้การเผชิญหน้าทางทหารและการใช้มาตรการกดดันทางเศรษฐกิจรุนแรงขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การเผชิญหน้าในระดับที่อันตรายมากขึ้นในอนาคต   ขณะที่สภาพอากาศรุนแรง…

“อุยกูร์” คือใคร ? รากเหง้าประวัติศาสตร์พันปีสู่ความขัดแย้งร่วมสมัย

Loading

      “อุยกูร์” ชาติพันธุ์ที่มีรากเหง้าลึกในเอเชียกลาง ต้องเผชิญความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลัง “ซินเจียง” ถูกรวมเข้ากับจีน ทั้งนโยบายควบคุมประชากร ศาสนา อัตลักษณ์ จุดชนวนความขัดแย้ง ที่นานาชาติต่างร่วมประณามนี่คือการ “ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ทางวัฒนธรรม” ชาวอุยกูร์ (Uyghur) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีรากเหง้ามาจากชนเผ่าเร่ร่อนในแถบเอเชียกลางที่มีรากเหง้ามาจากชนเผ่าตุรกีโบราณ ที่เคยอาศัยอยู่ในแถบเอเชียกลาง พวกเขามีความเกี่ยวข้องกับเผ่าซงหนู (Xiongnu) และเผ่าตูเจวี๋ย (Tujue) ซึ่งเคยมีอิทธิพลในบริเวณที่ราบสูงมองโกเลียและทะเลทรายทากลามากัน ในช่วงศตวรรษที่ 8 ชาวอุยกูร์ได้สถาปนาอาณาจักรของตนเองที่เรียกว่า “อุยกูร์คานาเต” (Uyghur Khaganate) ซึ่งปกครองพื้นที่กว้างขวางและมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับราชวงศ์ถังของจีน อย่างไรก็ตาม อาณาจักรอุยกูร์ล่มสลายในศตวรรษที่ 9 หลังจากถูกกองกำลังคีร์กีซโจมตี ทำให้ชาวอุยกูร์จำนวนมากต้องอพยพลงใต้สู่ดินแดนที่ปัจจุบันคือ “เขตปกครองตนเองซินเจียง” ของจีน หลังจากการอพยพ ชาวอุยกูร์ได้ตั้งถิ่นฐานใหม่ใน “ซินเจียง” และกลายเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีบทบาทสำคัญในเส้นทางสายไหม พวกเขาค้าขายกับชาวเปอร์เซีย อาหรับ และจีน ทำให้ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากหลายอารยธรรม ในช่วงศตวรรษที่ 10 ชาวอุยกูร์เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามที่แพร่หลายแทนที่ศาสนาเทียนไถและศาสนาพุทธ วัฒนธรรมของอุยกูร์เริ่มแยกออกจากวัฒนธรรมของจีนและกลุ่มชนเผ่าเร่ร่อนอื่น ๆ ในเอเชียกลาง โดยมีภาษาอุยกูร์ที่ใช้ตัวอักษรอาหรับและมีวรรณกรรม ศิลปะ และดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง   “ซินเจียง”…