‘An Armada for the Nation’ คิดใหม่ ทำใหม่ ยุทธศาสตร์การต่อเรือเพื่ออนาคต

Loading

จากบทความ ‘ทำไมไทยต้องต่อเรือฟริเกตในประเทศ?’ ทำให้เห็นว่าการมีเรือฟริเกตเป็นความจำเป็นด้านความมั่นคงทางทะเล ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ประโยชน์ต่ออุตสาหกรรม บทความยังมีการพูดถึงข้อเสนอ ปัญหาทางเทคนิค และนโยบายสำคัญที่เกี่ยวข้อง ส่วนบทความนี้จะทำการศึกษาต่อยอดจากมุมมองในบทความดังกล่าว ในแง่มุมใหม่ๆ เพื่อผู้ที่สนใจจะได้พิจารณาเพิ่มเติมอีก 4 เรื่อง ที่น่าจะส่งผลลัพธ์เชิงบวกต่อโครงการเรือฟริเกตที่ไม่ใช่สำหรับกองทัพเรือเท่านั้น แต่เป็นเรือฟริเกตสำหรับประเทศไทยด้วย

ไม่มีทางเลือก! สถานการณ์บีบญี่ปุ่นเปลี่ยนนโยบายป้องกันฯ ครั้งแรกในรอบสิบปี

Loading

ฟูมิโอะ คิชิดะ กับสถานการณ์รายล้อมไปด้วยระบอบการปกครองที่เป็นปรปักษ์มากขึ้นจากจีน รัสเซีย และเกาหลีเหนือ (ภาพไฟแนนเชียลไทม์)   ไฟแนนเชียลไทม์ รายงาน (12 ต.ค.) ฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เตรียมการป้องกันของญี่ปุ่นสำหรับ ‘สถานการณ์ที่เป็นไปได้’ ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ความมั่นคงของประเทศเพื่อตอบโต้จีน รัสเซีย และเกาหลีเหนือ   รายงานบทวิเคราะห์กล่าวว่า โดยธรรมชาติแล้ว ฟูมิโอะ คิชิดะ เป็นนักการทูตที่เคารพกฎหมาย แต่สถานการณ์รายล้อมไปด้วยระบอบการปกครองที่เป็นปรปักษ์มากขึ้นจากจีน รัสเซีย และเกาหลีเหนือ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นจึงไม่มีทางเลือกนอกจากต้องเปลี่ยนรูปแบบการป้องกันประเทศของเขา   เป็นเวลากว่า 70 ปี ที่นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้มอบความไว้วางใจให้ประชาชนของตนมีความปลอดภัย ด้วยการเป็นพันธมิตรด้านความมั่นคงกับสหรัฐฯ ยึดถึอลัทธิปฏิบัตินิยมทางเศรษฐกิจของเพื่อนบ้าน และควบคุมกองทัพ โดยรัฐธรรมนูญที่มุ่งสันติ   แต่ตอนนี้ คิชิดะต้องตอบคำถามอย่างเร่งด่วนว่า ประเทศสามารถป้องกันตนเองและตอบสนองต่อความขัดแย้งในภูมิภาคที่อาจเกิดขึ้นได้หรือไม่   ในการให้สัมภาษณ์กับ Financial Times คิชิดะ กล่าวว่า เขาจะทำการตรวจสอบความสามารถในการป้องกันของญี่ปุ่นอย่างครอบคลุมในแง่ของ “สภาพแวดล้อมด้านความปลอดภัยที่เข้มงวดมากขึ้นในเอเชียตะวันออก” รวมถึงความก้าวหน้าในเทคโนโลยีขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ การปรากฏตัวของกองทัพจีน และการรุกรานยูเครนของรัสเซีย   “เราจำเป็นต้องตรวจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วนว่า…