ข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า Swisscom กว่า 800,000 ราย รั่วไหลสู่สาธารณะ

Loading

Swisscom บริษัทผู้ให้บริการทางด้านโทรคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดในสวิตเซอร์แลนด์ เผลอทำข้อมูลส่วนตัวของลูกค้ากว่า 800,000 ราย รั่วไหลสู่สาธารณะ คิดเป็นเกือบ 10% ของประชากรประเทศสวิตเซอร์แลนด์ทั้งหมด Credit: Helpnetsecurity ข้อมูลที่รั่วไหลออกสู่สาธารณะ ประกอบไปด้วยข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าของ Swisscom เช่น ชื่อ-นามสกุล, ที่อยู่, วันเดือนปีเกิด, เบอร์โทรศัพท์ และข้อมูลอื่นๆ ซึ่ง Swisscom เองไม่ได้นิ่งนอนใจ ออกแถลงการณ์ผ่านหน้าเว็บไซต์เกี่ยวกับรายละเอียดของข้อมูลที่รั่วไหล สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ ทัั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่แบบ “Non-sensitive” ภายใต้กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล นั่นคือไม่มีข้อมูลที่ละเอียดอ่อน (Sensitive) เช่น พาสเวิร์ด, หมายเลขบัตรเครดิต, บทสนทนาต่างๆ และข้อมูลในการชำระเงิน การรั่วไหลของข้อมูลในครั้งนี้ คาดว่าเกิดจากเปลี่ยนแปลงสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ของบริษัทคู่ค้าของ Swisscom ซึ่งโดยปกติแล้วจะถูกจำกัดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ระบบจะบังคับให้มีการใส่ยูสเซอร์เนมและพาสเวิร์ดก่อนเสมอเพื่อเข้าถึงข้อมูล แต่แฮ็คเกอร์น่าจะอาศัยช่องโหว่บางอย่างเพื่อหลบหลีกการยืนยันตัวตนนี้ ท้ายที่สุดแล้ว Swisscom ตัดสินใจเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยให้มีความเข้มงวดมากขึ้น มีการเปิดใช้งานระบบยืนยันตัวตนแบบสองชั้น (Two-factor authentication) สำหรับบริษัทคู่ค้า รวมไปถึงการห้ามให้มีการค้นฐานข้อมูลลูกค้าคราวละมากๆ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ที่มา : techtalkthai ลิงค์ : https://www.techtalkthai.com/swisscom-data-breach-800000-customers-affected/  

ศาลเขมรปฏิเสธประกันตัวชาวออสซี่บินโดรนสปายเหนือพนมเปญ

Loading

เอเอฟพี – ผู้สร้างภาพยนตร์ชาวออสเตรเลียที่ถูกควบคุมตัวในปีก่อนจากข้อหาเป็นสายลับหลังบังคับโดรนบินเหนือขบวนชุมนุมหาเสียงของพรรคฝ่ายค้านในกรุงพนมเปญ ถูกปฏิเสธการประกันตัวในวันนี้ (30) เจมส์ ริคเกตสัน อายุ 68 ปี ถูกจับกุมตัวในกรุงพนมเปญเมื่อเดือน มิ.ย. หลังบังคับโดรนถ่ายภาพเหนือขบวนชุมนุมหาเสียงของพรรคกู้ชาติกัมพูชา (CNRP) ซึ่งในเวลานี้พรรค CNRP ถูกศาลสูงสั่งยุบพรรคตามคำร้องของรัฐบาล ในการปราบปรามฝ่ายตรงข้ามของนายกรัฐมนตรีฮุนเซน ผู้พิพากษาของศาลสูงระบุว่า คำร้องขอประกันตัวของริคเกตสัน ถูกปฏฺิเสธเนื่องจากยังอยู่ในระหว่างการสอบสวน ริคเกตสัน ถูกตั้งข้อหากระทำการรวบรวมข้อมูลที่อาจบ่อนทำลายการป้องกันประเทศ ซึ่งการบังคับโดรนบินเหนือกรุงพนมเปญนั้นเป็นสิ่งต้องห้ามหากไม่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการ ซึ่งผู้สร้างภาพยนตร์ชาวออสเตรเลียรายนี้อาจเผชิญต่อโทษจำคุกระหว่าง 5-10 ปี หากถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานจารกรรม ครอบครัวของริคเกตสัน ต่างผิดหวังต่อผลการดำเนินการในวันนี้ และเป็นห่วงสุขภาพของชายวัย 68 ปี รวมทั้งสภาพความเป็นอยู่ในห้องขังที่ใช้ร่วมกับคนอื่นๆ ราว 140 คน —————————————————— ที่มา : MGR Online / 30 ม.ค.2561 Link : https://mgronline.com/indochina/detail/9610000009732

‘สหรัฐฯ’จับ‘จนท.อเมริกัน’ 3 รายใน 1 ปี สงสัยส่งความลับให้‘หน่วยข่าวกรองจีน’

Loading

เอเอฟพี – รายงานข่าวเรื่องเจ้าหน้าที่สหรัฐฯถูกจับกุมเป็นรายที่ 3 ภายในระยะเวลา 1 ปี เนื่องจากต้องสงสัยว่าช่วยเหลือสปายสายลับของจีน เป็นการเปลือยให้เห็นสงครามอันดุเดือดเข้มข้นระหว่างหน่วยงานข่าวกรองของมหาอำนาจใหญ่ 2 รายนี้  กรณีหน่วยงานรับผิดชอบของทางการอเมริกัน เข้ารวบตัว เจอร์รี ชุน ซิง ลี อดีตเจ้าหน้าที่ของสำนักงานข่าวกรองกลางสหรัฐฯ (ซีไอเอ) เมื่อคืนวันจันทร์ที่ 15 ม.ค.ที่ผ่านมา ถูกระบุว่ามีความเกี่ยวข้องโยงใยกับการที่เมื่อ 5 ปีก่อนปักกิ่งกำจัดกวาดล้างเครือข่ายสายลับและสายข่าวภายในจีนของซีไอเออย่างสุดเหี้ยม ก่อนหน้านั้นในเดือนมิถุนายน 2017 ก็มีการจับกุมอดีตเจ้าหน้าที่ความมั่นคงของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯผู้หนึ่ง ชื่อ เควิน มัลลอรี ซึ่งเคยเป็นเจ้าหน้าที่ซีไอเอเหมือนกัน เขาถูกตั้งข้อหาว่าส่งมอบความลับต่างๆ ของสหรัฐฯให้พวกสายลับจีนเพื่อแลกกับเงินทองจำนวน 25,000 ดอลลาร์ ย้อนหลังขึ้นไปอีก 3 เดือน แคนแดช ไคลเบิร์น นักการทูตสหรัฐฯซึ่งมีฐานอยู่ในจีน ถูกตั้งข้อหาเนื่องจากรับเงินสดและของขวัญคิดเป็นมูลค่าหลายหมื่นดอลลาร์จากหน่วยงานข่าวกรองจีน ตามรายงานข่าวของนิวยอร์กไทมส์ หน่วยงานต่อต้านการจารกรรมของสหรัฐฯต้องทำงานอย่างหามรุ่งหามค่ำอย่างน้อยที่สุดก็ตั้งแต่ปี 2012 เพื่อสืบเสาะหาตัวคนที่อาจฝักใฝ่ปักกิ่ง ซึ่งแฝงฝังตัวอยู่ภายในหน่วยงานสืบราชการลับของอเมริกา นิวยอร์กไทมส์รายงานเอาไว้เมื่อปีที่แล้วว่า เริ่มตั้งแต่ปี 2010 จนกระทั่งถึงสิ้นปี 2012 ฝ่ายจีนสามารถเปิดโปงและสังหารแหล่งข่าวของซีไอเอซึ่งอยู่ภายในประเทศจีนไปเป็นจำนวน “อย่างน้อยที่สุดสิบกว่าคน”…

พบข้อมูลรหัสผ่านกว่า 1,400 ล้านรายชื่อพร้อมให้ดาวน์โหลดผ่านเว็บใต้ดิน

Loading

ทีมนักวิจัยจาก 4iQ บริษัทที่ปรึกษาด้านความมั่นคงปลอดภัย ออกมาเปิดเผยถึงฐานข้อมูลชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านในรูปของ Plain-text ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด รวมแล้วกว่า 1,400 ล้านรายการ เปิดให้ดาวน์โหลดผ่าน Dark Web หรือเว็บใต้ดินรวมไปถึง Torrent   ฐานข้อมูลดังกล่าวถูกค้นพบบนฟอรัมเว็บบอร์ดใต้ดินเมื่อวันที่ 5 ธันวาคมที่ผ่านมา เป็นฐานข้อมูลชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านในรูปของ Plain-text ที่รวบรวมมาจากเหตุการณ์ Data Breach ในอดีตจนถึงเดือนพฤศจิกายน 2017 จำนวนมากกว่า 252 ครั้ง ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ข้อมูลใหม่ที่เพิ่งรั่วออกสู่สาธารณะ แต่ก็ถือได้ว่าเป็นฐานข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ซึ่งประกอบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และอีเมล รวมแล้วประมาณ 1,400 ล้านรายการ และมีขนาดไฟล์ใหญ่ถึง 41 GB ฐานข้อมูลกว่า 1,400 ล้านรายการนี้ ประกอบด้วยบัญชีผู้ใช้ที่หลุดมาจาก Bitcoin, Pastebin, LinkedIn, MySpace, Netflix, YouPorn, Last.FM, Zoosk, Badoo, RedBox รวมไปถึงเกมอย่าง Minecraft…

ข้อมูลลับสุดยอดของกองทัพสหรัฐและ NSA หลุดจาก Amazon S3

Loading

UpGuard บริษัทที่ให้บริการประเมินความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยได้พบเซิร์ฟเวอร์ S3 อีกตัวหนึ่งที่เป็นของหน่วยงานข่าวกรอง (INSCOM) ภายใต้ความดูแลของ NSA และกองทัพสหรัฐ สืบเนื่องจากเมื่อไม่กี่วันก่อนหน้านี้ UpGuard ได้พบข้อมูลรั่วไหลใน Amazon S3 ของ DOD ไปแล้วซึ่งมีข้อมูล Social Media จากคนทั่วโลกกว่า 1.8 พันล้านโพสต์  นักวิจัยพบ VM ที่มีข้อมูลลับสุดยอด นักวิจัยกล่าวว่าพบไฟล์เสมือนของเครื่อง Linux พร้อมกับ Virtual Hard drive (ที่เก็บข้อมูลของเครื่อง) แม้ว่าจะไม่สามารถนำบูตเครื่องขึ้นมาหรือเข้าถึงไฟล์ใน Virtual Hard drive ได้เนื่องจากมาตรการด้านความมั่นคงปลอดภัยของกลาโหม (DOD) ที่ให้เข้าถึงเครื่องได้จากเครือข่ายภายในเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามนักวิจัยสามารถค้นหาเนื้อหาของไฟล์ใน SSD image ที่เก็บข้อมูลสำคัญซึ่งบางไฟล์ที่ถูกจัดอยู่ในประเภทลับสุดยอดและความมั่นคงปลอดภัยของบุคคลต่างชาติ ไฟล์ที่หลุดออกมามีร่องรอยของแพลตฟอร์ม Red Disk ในโฟลเดอร์ของ VM ดังกล่าวได้ชี้ไปถึงระบบที่เป็นส่วนหนึ่งของ Red Disk หรือแพลต์ฟอร์มการประมวลผลของ Cloud ที่ถูกใช้ในระบบกระจายข่าวกรองภาคพื้นของกองทัพ (DGCS-A) โดยกระทรวงกลาโหม ซึ่งตอนแรก Red Disk ถูกคาดหวังว่าจะใช้เป็นศูนย์รวมข้อมูลของหน่วยข่าวกรองเพื่อให้กองทัพสหรัฐได้ค้นหาและเข้าถึงข้อมูลได้อย่างทันท่วงทีตามสิทธิ์ของผู้ใช้งาน โดยใช้เงินลงทุนไปกว่า…

โจมตีตู้เอทีเอ็ม ช่องทำเงินของมัลแวร์

Loading

เทรนด์ไมโคร รายงานภาพรวมการโจมตีตู้เอทีเอ็ม ช่องทางทำเงินของมัลแวร์ทั่วโลก ซึ่งมีปริมาณเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แนะวิธีลดความเสี่ยงทั้งธนาคารลูกค้าผู้ใช้งาน นายเอ็ด คาบรีรา  ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์  บริษัท เทรนด์ ไมโคร  ได้เผยแพร่บทความระบุว่า   เทรนด์ ไมโคร และศูนย์อาชญากรรมไซเบอร์แห่งยุโรป (European Cybercrime Center – EC3) ของ ยูโรโพล (Europol) ได้รายงานเกี่ยวกับภาพรวมของมัลแวร์เอทีเอ็มให้กับสาธารณชนได้รับทราบ  โดยรวบรวมข้อมูลจากรายงานของปี 2559 ที่มีการเผยแพร่ในรูปแบบส่วนตัวไปยังสถาบันการเงินและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายทั่วโลก รายงานนี้ครอบคลุมข้อมูลทุกด้านของมัลแวร์ที่ตั้งเป้าโจมตีเครื่องเอทีเอ็ม รวมถึงผู้กระทำผิดที่อยู่เบื้องหลังการโจมตี ปัจจุบันเครื่องเอทีเอ็มพร้อมให้บริการสำหรับการโอนเงินระหว่างบุคคล (P2P) โดยมีความโดดเด่นในเรื่องของความพร้อมบริการเงินสด มีต้นทุนการทำธุรกรรมที่ต่ำลง รองรับสกุลเงินต่างๆ และสามารถซื้อขายสกุลเงินดิจิทัลที่เรียกว่า Crypto Currency ได้ และรายงานข้อมูลที่ได้จากระบบ Coin ATM Radar พบว่า ปัจจุบันมีเครื่องเอทีเอ็มสำหรับบิตคอยน์แล้วเป็นจำนวนเกือบ 1,600 เครื่องทั่วโลก ทั้งนี้ ในอนาคตจะเห็นการทำธุรกรรมเงินสดแบบไม่ต้องใช้บัตร แต่ดำเนินการผ่านโทรศัพท์มือถือที่ใช้เทคโนโลยี Near Field Communication (NFC), Bluetooth และ…