ผู้อำนวยการ FBI ชี้จีน ผู้ “ขโมยความมั่งคั่ง” จากการจารกรรมทางไซเบอร์

Loading

FILE PHOTO: FBI Director Christopher Wray testifies before a Senate Homeland Security and Governmental Affairs Committee hearing on threats to the homeland on Capitol Hill in Washington, U.S. November 5, 2019. REUTERS/Yuri Gripas/File Photo สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานอ้างคำกล่าวของ “คริสโตเฟอร์ เรย์” ผู้อำนวยการสำนักสอบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (เอฟบีไอ) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (7 ก.ค. 2020) กล่าวโจมตีการโจมตีทางไซเบอร์องจีนต่อสหรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจารกรรมทางไซเบอร์ ซึ่ง ผอ.เอฟบีไอ ชี้ว่า การกระทำดังกล่าวของเป็นการขโมยความมั่งคั่งที่มีมูลค่ามากที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ “คริสโตเฟอร์ เรย์” ชี้ว่า รัฐบาลจีนได้เร่งพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายการก้าวข้ามสหรัฐ อย่างไรก็ตามจีนกลับใช้วิธีจารกรรมข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญาของเทคโนโลยีเหล่านี้จากสหรัฐแทนที่จะลงทุนค้นคว้าด้วยตนเอง จากนั้นจึงเริ่มพัฒนาเทคโนโลยีมาแข่งขันกับบริษัทสหรัฐที่จีนได้ทำการจารกรรมข้อมูลไป…

สหรัฐประณามศาลรัสเซียสั่งจำคุกชาวอเมริกันคดีสายลับ

Loading

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐแสดงความไม่พอใจอย่างหนัก ต่อการที่ศาลของรัสเซียพิพากษาให้อดีตนาวิกโยธินชาวอเมริกันรับโทษจำคุก 16 ปี ในข้อหาจารกรรม และเรียกร้องการปล่อยตัวโดยเร็ว ด้านรัฐบาลมอสโกกล่าวว่า “ไม่ใช่เรื่องการเมือง” สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. ว่านายไมค์ ปอมเปโอ รมว.กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ แถลงเมื่อวันจันทร์ เพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังศาลแขวงกรุงมอสโกมีคำพิพากษาให้พลเมืองสหรัฐ คือนายพอล วีแลน อดีตนาวิกโยธินวัย 50 ปี รับโทษจำคุกเป็นเวลา 16 ปี ฐานมีความผิดจริงในข้อหาจารกรรมข้อมูลลับด้านความมั่นคงของรัสเซีย ว่าเป็นคำตัดสิน “ที่เลวร้าย” และไม่เป็นธรรมอย่างสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการไต่สวน “ซึ่งเป็นความลับ” และไม่มีการสืบพยานชัดเจน พร้อมทั้งเรียกร้องให้มีการปล่อยตัววีแลนโดยเร็วที่สุด ขณะที่นายจอห์น ซัลลิแวน เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำกรุงมอสโก กล่าวว่า “ผิดหวังอย่างมาก” กับคำพิพากษาของศาล “แต่ไม่ใช่เรื่องเหนือความคาดหมายมากนัก” เนื่องจากพอจะคาดการณ์ได้ตั้งแต่ต้นว่ากระบวนการของคดีจะเป็นไปในทิศทางใด ทว่าทิ้งท้ายเป็นนัยว่ารัฐบาลวอชิงตัน “ยินดีเจรจาต่อไป” ด้านนายวลาดิเมียร์ เซเรเบนคอฟ ทนายความของวีแลน ยืนยันจะมีการอุทธรณ์แน่นอน และอ้างการที่ลูกความของตัวเองอาจได้เป็นส่วนหนึ่งของการแลกเปลี่ยนนักโทษระหว่างสหรัฐกับรัสเซีย ต่อมานายดมิทรี เปสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน กล่าวว่าบทลงโทษของวีแลนเป็นไปตามครรลองของกระบวนการยุติธรรม  “ซึ่งมีการพิสูจน์และเป็นที่ยอมรับแล้ว” และยืนยันว่าพลเมืองสหรัฐรายนี้…

FBI จับนักวิจัยเชื้อสายเอเชียทำงานให้ “NASA” ปกปิดเกี่ยวข้องกับรัฐบาลปักกิ่ง-บ.จีน

Loading

เอเจนซีส์ – กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯล่าสุดแถลงข่าวจับกุมตัว ศาสตราจารย์ ไซมอน ซอว์-เทือง อั่ง (Simon Saw-Teong Ang) วัย 63 ปี จากมหาวิทยาลัยในรัฐอาร์คันซอ ที่ถูกจับในวันศุกร์ (8 พ.ค.) ซึ่งทำงานให้กับองค์การนาซา เขาถูก FBI จับในข้อหาฉ้อโกงทางอิเล็กทรอนิกส์และปกปิดความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับรัฐบาลจีนและบริษัทจีน CNN สื่อสหรัฐฯรายงานวันนี้ (13 พ.ค.) ว่า ไซมอน ซอว์-เทือง อั่ง (Simon Saw-Teong Ang) วัย 63 ปี ศาสตราจารย์วิศวกรรมศาสตร์สาขาไฟฟ้าประจำมหาวิทยาลัยอาร์คันซอ-เฟเยตต์วิล (University of Arkansas-Fayetteville) หรือ (UA) ที่ทำงานให้กับมหาวิทยาลัยมาตั้งแต่ปี 1988 ปกปิดองค์การบริหารอวกาศ NSA ของสหรัฐฯ และมหาวิทยาลัยที่เขาทำงานให้ด้วยการปกปิดว่า ***เขามีตำแหน่งในมหาวิทยาลัยจีนและบริษัทจีน*** ทางโดยในคำร้องของ FBI ระบุว่า เป็นการละเมิดนโยบายผลกระโยชน์ทับซ้อน อ้างอิงจากคำร้องที่ยื่นต่อศาลแขวงสหรัฐฯสำหรับเขตตะวันตกของรัฐอาร์คันซอ กล่าวว่า “อั่งได้ให้การเท็จและไม่ยอมรายงานการทำงานนอกมหาวิทยาลัย UA…

บริษัทความปลอดภัยทางไซเบอร์จีนแฉถูกCIAแฮกข้อมูลมานานนับทศวรรษ

Loading

รอยเตอร์ – ฉี่หู่ 360 บริษัทแอนตี้ไวรัสสัญชาติจีน ระบุว่าพวกมือแฮคเกอร์ของซีไอเอเจาะระบบอุตสาหกรรมการบินจีนและเป้าหมายอื่นๆมานานกว่าทศวรรษ ในข้อกล่าวหาล่าสุดเกี่ยวกับกรณีสหรัฐฯทำการจากรรมข้อมูลบริษัทใดบริษัทหนึ่งที่มีสำนักงานในกรุงปักกิ่ง ในข้อความสั้นๆที่โพสต์ลงบนบล็อกๆหนึ่ง ซึ่งเผยแพร่ทั้งเป็นภาษาอังกฤษและจีนเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ทางฉี่หู่อ้างว่าพวกเขาตรวจพบการสอดแนมโดยการเปรียบเทียบตัวอย่างกับซอฟต์แวร์มุ่งร้ายที่พวกเขาเคยเจออยู่ในขุมเครื่องมือสอดแนมทางดิจิตัลของซีไอเอ ตามที่วิกิลีกส์ออกมาแฉเมื่อปี 2017 ฉี่หู่ 360 ซึ่งเป็นบริษัทด้านความมั่นคงทางไซเบอร์รายใหญ่ บอกด้วยว่าสำนักงานข่าวกรองกลางสหรัฐฯ(ซีไอเอ) มีเป้าหมายที่ภาคการบินและพลังงานของจีน, องค์การต่างๆที่วิจัยด้านวิทยาศาสตร์, เหล่าบริษัทอินเตอร์เน็ต และหน่วยงานต่างๆของรัฐบาล พร้อมระบุว่าการแฮกเป้าหมายด้านการบินอาจมีเป้าหมายคือการแกะรอยแผนการเดินทางของบรรดาบุคคลสำคัญ ทั้งนี้ ฉี่หู่ 360 ได้เผยแพร่รายการตัวอย่างซอฟต์แวร์มุ่งร้ายที่สกัดกั้นได้ เช่นเดียวกับผลการวิเคราะห์ช่วยเวลาของการสร้างซอฟต์แวร์เหล่านั้น ซึ่งบ่งชี้ว่าใครก็ตามที่ประดิษฐ์เครื่องมือประสงค์ร้ายดังกล่าวได้เจาะระบบในชั่วโมงการทำงานตามเวลาชายฝั่งตะวันออกสหรัฐฯ ซีไอเอและสถานทูตจีนในกรุงวอชิงตันยังไม่มีคำตอบกลับมา หลังจากรอยเตอร์ส่งข้อความไปสอบถามความคิดเห็นต่อคำกล่าวอ้างดังกล่าว สหรัฐฯ ก็เหมือนกับจีนและชาติมหาอำนาจของโลกอื่นๆ ที่ไม่ค่อยแสดงความคิดเห็นต่อคำกล่าวหาจารกรรมทางไซเบอร์ อย่างไรก็ตามมีหลักฐานปรากฏต่อสาธารณะมาอย่างยาวนาน ว่าทั้งสองประเทศต่างฝ่ายต่างแฮกข้อมูลกันทั้งคู่ อดัม ซีดัล ผู้ศึกษาด้านจีนและประเด็นความมั่นคงทางไซอร์เบอร์ แห่งสภาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในนิวยอร์ก มองว่ากรอบเวลาของการเปิดเผยเรื่องราวต่อสาธารณชนของ ฉี่หู่ 360 มีความเป็นไปได้ที่อาจสัมพันธ์กับกรณีที่เหล่าแฮกเกอร์ทหารจีน 4 นาย ถูกดำเนินคดีเมื่อเดือนที่แล้ว ต่อกรณีลอบเจาะล้วงข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัทผู้ตรวจสอบเครดิตในสหรัฐฯ อิควิแฟ็กซ์ (Equifax) และขโมยข้อมูลลับและข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าราว 150 ล้านคน เขาบอกว่าการออกมาแฉปฏิบัติการเก่าๆของซีไอเอ อาจเป็นหนทางหนึ่งในการส่งข้อความถึงวอชิงตัน ใขณะเดียวกันก็เป็นการล้างมลทินให้ฉี่หู่ 360…

ตัวตนข้าราชการสองหน้า แฉข้อมูลลับให้สื่อจนริชาร์ด นิกสัน ทิ้งเก้าอี้ปธน. คดีวอเตอร์เกต

Loading

(ซ้าย) ริชาร์ด นิกสัน (ขวา) มาร์ก เฟลต์ ฉากหลังเป็นภาพการจัดแสดงหลักฐานจากวาระครบ 30 ปี การงัดสำนักงานพรรคเดโมแครต ที่วอเตอร์เกต (ภาพจาก PAUL J. RICHARDS / AFP) คดีวอเตอร์เกต (Watergate) อันลือลั่นซึ่งว่าด้วยการแฉข้อมูลทางการเมือง แม้จะล่วงเลยมาหลายสิบปีแล้ว จนถึงปัจจุบัน คดีนี้ยังอยู่ในความทรงจำในฐานะเรื่องอื้อฉาวที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา หรืออาจเป็นประวัติศาสตร์โลก คดีวอเตอร์เกต การแฉข้อมูลเบื้องลึกว่าด้วยการดำเนินการของประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน และผู้ใกล้ชิดซึ่งกระทำการโดยผิดกฎหมายเพื่อให้มีชัยเหนือคู่แข่งทางการเมือง และชนะการเลือกตั้ง แต่จุดที่ทำให้ถูกเปิดโปง คือกรณีที่ทีมงานเข้าไปติดตั้งเครื่องดักฟังในศูนย์รณรงค์หาเสียงของพรรคเดโมแครต และถูกตำรวจจับได้ ขณะที่สื่อสารมวลชนที่รายงานเบื้องหลังของการงัดแงะครั้งนั้นอย่างต่อเนื่อง จนข้อมูลเบื้องลึกถูกเปิดโปงใหญ่โต จากคดีงัดแงะเล็กน้อยกลายเป็นคดีอื้อฉาวระดับประเทศอันเป็นผลทำให้ประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน ประกาศลาออกจากตำแหน่ง และน้ำตาตกต่อหน้าการแถลงข่าว สื่อมวลชนกลุ่มที่ปฏิบัติการนี้เองมีแหล่งข่าวปริศนารายสำคัญซึ่งสาธารณชนรู้จักในนามแฝงว่า “ดีพโธรต” (Deep Throat) แล้วเขาคือใคร? หากเอ่ยถึงในข้อเท็จจริงโดยรวมแล้ว คดีวอเตอร์เกทในช่วงต้นยุค 70s มีตัวละครสำคัญที่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อคดีคือบทบาทสื่อมวลชนทั้งของวอชิงตัน โพสต์ (The Washington Post) และนิวยอร์ก ไทม์ส (The New York Times) โดยเฉพาะบทบาทการทำข่าวสืบสวนสอบสวนโดยบ๊อบ…

สงครามจารกรรมระอุ สหรัฐไล่ทูตจีนฐานแอบสอดแนมฐานทัพ

Loading

หนังสือพิมพ์ The New York Times รายงานว่ารัฐบาลสหรัฐขับไล่เจ้าหน้าที่สถานฑูตจีน 2 คนใน หลังจากที่พวกเขาขับรถไปยังฐานทัพที่มีความมั่นคงสูงในรัฐเวอร์จิเนีย จากเรื่องที่กิดขึ้น อาจเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี ที่นักการทูตจีนต้องสงสัยว่าอาจทำงานด้านจารกรรมในสหรัฐ รายงานระบุว่า มีชาวจีน 6 คนที่เกี่ยวข้องกับการไปด้อมๆ มองๆ ฐานทัพสำคัญ หนึ่งในนั้นรวมถึงบรดาาภรรยาของเจ้าหน้าที่ทางการทูต เมื่อถูกจับได้ คนกลุ่มนี้ก็พยายามหลบเลี่ยงทหารสหรัฐที่ติดตามมา กว่าจะหยุดได้ก็เมื่อไม่สามารถไปต่อได้ เนื่องจากรถดับเพลิงปิดกั้นเส้นทางของพวกเขา เจ้าหน้าที่สหรัฐเชื่อว่าเจ้าหน้าที่จีนอย่างน้อยหนึ่งคนเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยสืบราชการลับที่ปฏิบัติงานโดยอำพรางเป็นเจ้าหน้าที่ทางการทูต เรื่องนี้เกิดขึ้นในเดือนกันยายนซึ่งทั้งรัฐบาลสหรัฐและรัฐบาลจีนไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะ แต่กรณีนี้ยิ่งเพิ่มความกังวลอย่างมากต่อรัฐบาลทรัมป์ที่กำลังจับตามองจีนว่าอาจกำลังขยายความพยายามสอดแนมในสหรัฐ เนื่องจากทั้งสองประเทศเผชิญหน้ากันมากขึ้นในด้านยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจ และเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองสหรัฐยังกล่าวว่าจีนเป็นภัยคุกคามต่อสหรัฐด้านการจารกรรมมากกว่าประเทศอื่น ๆ เจ้าหน้าที่ของสหรัฐเผยว่า ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา มีเจ้าหน้าที่ของจีนที่มีหนังสือเดินทางทางการทูตไปปรากฏตัวที่ศูนย์วิจัยหรือหน่วยงานของสหรัฐอย่างเงียบๆ หลายครั้ง โดยการเข้ามาสอดแนมฐานทัพเป็นเพียงหนึ่งในกรณีดังกล่าวเท่านั้น การขับทูตครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่สหรัฐบังคับให้พนักงานสถานทูตจีนสองคนเดินทางออกไปเมื่อปี 2530 และแสดงให้เห็นว่าฝ่ายสหรัฐใช้มาตรการที่แข้งกร้าวมากขึ้นกับผู้ต้องสงสัยชาวจีนว่าอาจจะเข้ามาจารกรรม ในวันที่ 16 ตุลาคม ไม่กี่สัปดาห์หลังจากการบุกรุกและการขับเจ้าหน้าที่ทูตจีน กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐได้ประกาศข้อจำกัดเกี่ยวกับกิจกรรมของนักการทูตจีนในสหรัฐ ซึ่งกำหนดให้ทูตจีนต้องแจ้งให้ทราบก่อนที่จะพบกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่รัฐ หรือสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัย ในเวลานั้น เจ้าหน้าที่อาวุโสของกระทรวงการต่างประเทศกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า กฎนี้จะใช้กับคณะทูตทั้งหมดของจีนในสหรัฐและดินแดนของสหรัฐ เพื่อเป็นการตอบโต้ต่อกฎระเบียบของจีนเมื่อหลายปีก่อน ที่บังคับให้นักการทูตสหรัฐต้องขออนุญาตหากจะเดินทางนอกที่พำนักอยู่ หรือเพื่อเยี่ยมชมสถาบันบางแห่ง —————————————…