ข้อมูลคนไทยหลุดซ้ำๆ หน่วยงานไทยยังถูกโจมตีหนัก 1 ปี 3 เดือนไทยเจอภัยกว่า 2,700 ครั้ง

Loading

    ทีมข่าวไอที ก่อนที่ไทยจะเผชิญเหตุแผ่นดินไหวเพียงหนึ่งวัน (27 มี.ค.2568) มีข่าวว่าข้อมูลคนไทยหลุดออกมาขายซ้ำอีกครั้ง โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ออกมาแถลงข่าวกรณีข้อมูลคนไข้ในระบบ A-Med Care Plus 1.3 แสนรายถูกโจรกรรมเอาไปขายบนเว็บบอร์ดซื้อขายข้อมูลแห่งหนึ่งว่า ไม่ได้หลุดจากระบบ แต่เกิดขึ้นระหว่างโอนถ่ายข้อมูล     ล่าสุดเมื่อวานนี้ไปรษณีย์ไทยก็ออกมาแถลงว่าข้อมูลผู้ใช้บริการของตัวเองทั้ง ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัทพ์ อีเมล ถูกเอาไปเผยแพร่บน Dark Web แต่ข้อมูลที่ถูกเอามาเผยแพร่นี้ไม่มีข้อมูลธุรกรรมทางการเงิน และทางหน่วยงานก็ได้ปิดช่องทางเข้าถึงข้อมูลทันทีพร้อมคุมเข้มยกระดับมาตรการเก็บรักษาข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้บริการแล้ว     อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้สื่อข่าวลองเข้าไปดูในเว็บบอร์ดที่มีการขายข้อมูลเหล่านี้ยังพบอีกว่ายังมีการขายข้อมูลอีกชุดจากระบบ Health Data Center (HDC) ของกระทรวงสาธารณสุขอยู่ด้วยมีจำนวน 210 ไฟล์ ขนาดไฟล์รวมทั้งหมด 150 GB ในโพสต์ขายระบุด้วยว่าเป็นข้อมูลจำนวน 622 ล้านบรรทัด และปัจจุบันโพสต์ประกาศขายดังกล่าวยังคงปรากฏอยู่ในเว็บบอร์ดนั้น   ประกาศขายข้อมูล Health Data Center ของไทยบนเว็บบอร์ด Breachforums…

รัฐบาล คุมเข้มมือถือ-แท็บเล็ต ไม่ละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ห้ามมีแอปฯ ผิดกฎหมาย

Loading

องนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ได้สั่งการให้ สคส. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งตรวจสอบและป้องกันไม่ให้ โทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ต มีการลงแอปพลิเคชันที่ผิดกฎหมาย หรือมีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ซื้อมือถือ

กระทรวงดิจิทัลฯ เปิดตัว “Smart PDPA” แอปสุดล้ำ มั่นใจช่วยลดปัญหาข้อมูลรั่วไหล

Loading

  กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) เดินหน้าเสริมความแข็งแกร่งด้านการป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล เปิดตัว “Smart PDPA” แอปพลิเคชันอัจฉริยะที่จะช่วยปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนในยุคดิจิทัล     นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดเผยระหว่างการประชุม TOP EXECUTIVE ครั้งที่ 13 ว่า ปัจจุบันยังคงพบการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมไทย โดยเฉพาะการนำข้อมูลไปใช้ในการหลอกลวงและก่ออาชญากรรม กระทรวงฯ จึงได้พัฒนา “Smart PDPA” ขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการป้องกันและลดความเสี่ยงจากการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล   ฟีเจอร์เด่นที่น่าสนใจ   ดร.เวทางค์ พ่วงทรัพย์ รักษาการเลขาธิการ สคส. เผยว่า แอปพลิเคชัน Smart PDPA ได้รับการออกแบบให้ใช้งานง่าย ไม่ต้องลงทะเบียน พร้อมฟีเจอร์หลากหลาย ได้แก่  – ระบบยืนยันตัวตนผ่าน ThaID สำหรับการเข้าอาคารโดยไม่ต้องแลกบัตรประชาชน Cookie Checker สำหรับตรวจสอบการใช้งานคุกกี้ในเว็บไซต์ต่าง ๆ – ระบบเข้ารหัส PDF…

CrowdStrike หน้าที่และความรับผิดตาม PDPA เป็นของใคร

Loading

พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ PDPA กำหนดหน้าที่ขององค์กรที่อาจเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ CrowdStrike ไว้ดังนี้

ประเสริฐ เปิดผลงาน PDPC แก้ข้อมูลรั่วไหล ลดฮวบเหลือ 1.21 % เร่งเดินหน้าเชิงรุกป้องกัน

Loading

ประเสริฐ เปิดผลงาน PDPC แก้ข้อมูลรั่วไหล ลดฮวบเหลือ 1.21 % เร่งเดินหน้าเชิงรุกป้องกันและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลครบทุกมิติอย่างเป็นระบบ วางเป้าหมายลดการรั่วไหลเป็นศูนย์ สร้างความปลอดภัยประชาชน

ChatGPT ภาพหลอน และการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล

Loading

  หลาย ๆ ท่านอาจเคยได้ยินว่า Generative AI อาจให้ข้อมูลที่ผิดพลาดหรือไม่ตรงกับความเป็นจริงได้ ดังนั้น ผู้ใช้งานโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM: Larger language models) จึงต้องมีความตระหนักรู้ในข้อจำกัดของเทคโนโลยีประกอบด้วย   ข้อมูลที่ผิดพลาดอาจจะเป็นข้อเท็จจริงพื้นฐาน หรืออาจจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลก็ได้ ลองจินตนาการว่าหาก Generative AI ให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับตัวท่าน เช่น “วันเดือนปีเกิด” ท่านในฐานะของผู้ใช้งานโมเดลภาษาหเล่านั้นหรือเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่ถูกต้อง   และโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องที่อาจสร้างความเสื่อมเสียต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล   ท่านจะมีสิทธิตามกฎหมายอย่างไรบ้างหรือไม่ เพื่อจะทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลของตนที่ถูกประมวลผลหรือแสดงผลโดย Generative AI นั้นถูกต้อง หรือขอให้ลบข้อมูลเหล่านั้นออกจากการประมวลผลหรือการแสดงผลลัพธ์   การที่ระบบปัญญาประดิษฐ์หรือ AI สร้างข้อมูลหรือเนื้อหาที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นความจริง ในทางเทคนนิค เรียกว่า AI Hallucination หรือการประดิษฐ์ภาพหลอนโดย AI   คือกรณีนี้เป็นสถานการณ์ที่ AI สร้างข้อมูลหรือเนื้อหาที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นความจริง ซึ่งเป็นผลลัพธ์การตอบสนองที่สร้างโดย AI ที่ให้ข้อมูลที่เป็นเท็จหรือทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นข้อเท็จจริง     เปรียบเสมือนภาพหลอนในจิตวิทยาของมนุษย์ที่อาจเกิดจากข้อจำกัดของโมเดล AI เอง…