ไม่ได้ไปต่อ เทคโนโลยีจดจำใบหน้า ไม่ผ่านกฎหมายความเป็นส่วนตัว

Loading

  เทคโนโลยีการจดจำใบหน้านั้นมีประโยชน์อย่างมาก ซึ่งก่อนหน้านี้ ในประเทศจีนได้นำเทคโนโลยีดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในหลาย ๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็น การบังคับใช้กฎหมาย ใครไม่ข้ามทางม้าลาย ใบสั่งส่งถึงบ้าน หรือบ้วนน้ำลายหรือทิ้งขยะในที่สาธารณะก็ต้องจ่ายเช่นกัน พร้อมกันนี้ ในแง่ของการสร้างเศรษฐกิจดิจิทัล จีนใช้ระบบสแกนใบหน้าเพื่อจ่ายค่าเดินทางด้วยรถไฟฟ้า ทำให้คนจีนไม่ต้องควักเงิน บัตร หรืออะไรต่างออกมาจ่ายเงิน เพียงแค่เดินผ่านไประบบจะทำการหักเงินในบัญชีอัตโนมัติ ทั้งนี้ ในปัจจุบันเทคโนโลยีการจดจำใบหน้ากำลังได้รับความนิยมทั่วโลก แม้จะมีการต่อต้านจากกลุ่มสิทธิมนุษยชนและรัฐบาลทั่วโลก แต่บริษัทใหญ่ ๆ อย่างเช่น Amazon และ Clearview ยังคงพัฒนาเทคโนโลยีและพยายามขายเทคโนโลยีดังกล่าวให้กับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย แต่เรื่องนี้กำลังถูกยุติในฝั่งยุโรป โดยรัฐสภายุโรป (EP) MEPs ได้เรียกร้องอย่างเป็นทางการให้แบนการใช้เทคโนโลยีการจดใบหน้าในพื้นที่สาธารณะ เพราะเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน นอกจากนี้ MEPs รู้สึกว่าเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถนำไปสู่การเลือกปฏิบัติระหว่างชนกลุ่มน้อย ผู้หญิง ผู้สูงอายุ และสมาของกลุ่ม LGBT เพราะมีความเป็นไปได้ว่าโปรแกรมเมอร์ที่เขียนอัลกอริทึ่มของระบบ อาจใส่อคติลงไป ทำให้ Ai อาจมีอคติเช่นกันครับ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน และมีปัญหาให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง หากเรื่องนี้ถูกบังคับใช้เมื่อใด ประเทศที่อยู่สมาชิกประเทศยุโรปจะต้องไม่มีการใช้ Facial Recognition ในที่สาธารณะทั้งหมด รวมถึงประเทศที่มีการใช้กฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เช่น…

“กมธ.ดีอีเอส” ห่วงระบบไอที “สธ.” อ่อนแอ หวั่นประชาชนถูกละเมิดสิทธิ

Loading

  กมธ.ดีอีเอส สภาฯ ห่วงระบบไอที “สธ.” อ่อนแอ หวั่นประชาชนถูกละเมิดสิทธิ ด้าน “สธ.” ยอมรับจุดอ่อน ด้านการดูแลข้อมูล เผย ข้อมูลคนไข้โควิด-19 ยังไร้คนดูแล ห่วงเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่มีหน่วยงานรับช่วงต่อ เมื่อวันที่ 16 ก.ย. 64 คณะกรรมาธิการการสื่อสารโทรคมนาคมและดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) สภาผู้แทนราษฎร ที่มี น.ส.กัลยา รุ่งวิจิตรชัย ส.ส.สระบุรี พรรคพลังประชารัฐ เป็นประธาน กมธ. ได้นัดประชุมเพื่อพิจารณา เรื่อง กรณีภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของโรงพยาบาลในระบบสาธารณสุข โดยเชิญตัวแทนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าชี้แจง   โดย นายอนันต์ กนกศิลป์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจง โดยยอมรับว่าการกำกับและดูแลจะมีกฎหมายเพื่อกำกับดูแลโรงพยาบาลเอกชน อย่างไรก็ดี ยังมีความกังวล ต่อกรณีดิจิทัล เฮลท์ ที่ไม่มีกฎหมายกำกับ ดังนั้น แนวทางดูแลเบื้องต้น คือ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแล หรือให้กลุ่มเฮลท์แทคขึ้นทะเบียน ทั้งนี้…

ข้อพิจารณาจากบางส่วนข้อมูลของหนังสือ “The room where it happened : A white house memoir” กับกฎหมายและระเบียบราชการไทย

Loading

  เนื้อหาของหนังสือ “The room where it happened : A white house memoir” เขียนโดยนายจอห์น โบลตัน อดีตที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ซึ่งคาดว่า จะส่งผลด้านวิกฤตศรัทธาต่อตัวประธานาธิบดีทรัมป์ไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะต่อการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายน 2563 และก่อนหน้าที่หนังสือเล่มนี้จะวางจำหน่ายเมื่อ 23 มิถุนายน 2563 ประธานาธิบดีทรัมป์แสดงออกถึงความไม่พอใจและพยายามขัดขวาง ทั้งให้สภาความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว (The White House National Security Council, NSC) ทำการตรวจสอบเนื้อหาที่อาจเปิดเผยหรือเชื่อมโยงถึงสิ่งที่เป็นความลับในครอบครองของราชการ เพราะนายโบลตันผู้เขียน เคยได้รับความไว้วางใจให้เข้าถึงสิ่งที่เป็นความลับทุกระดับชั้นของทางราชการในฐานะที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคง พร้อมกันนั้นยังมีการร้องขอต่อศาลรัฐบาลกลาง (Federal Government of United States) เพื่อออกคำสั่งให้นายโบลตันระงับการจัดพิมพ์และวางจำหน่าย ด้วยเหตุผลที่ว่าการดำเนินการตรวจสอบของฝ่ายรัฐยังไม่แล้วเสร็จ อย่างไรก็ดี ศาลรัฐบาลกลางปฎิเสธคำร้องของฝ่ายรัฐดังกล่าว     เนื้อหาสาระ“The room where it happened…