6 กรณีศึกษา แบงก์กับเหยื่อโจรออนไลน์ในสิงคโปร์

Loading

    “Summary“ จาก 6 กรณีศึกษาในสิงคโปร์ พบว่าการร่วมรับผิดชอบของผู้ประกอบการมีเงื่อนไขให้พิจารณามากมาย เพราะ 5 ใน 6 เคสที่ยกมา คนสิงคโปร์ที่ตกเป็นเหยื่อต้องรับผิดชอบความเสียหายเอง 100% ยกเว้นเคสสุดท้ายที่พิสูจน์ได้ว่าสถาบันการเงินทำงานล้มเหลว   ร่างปรับปรุงแก้ไขพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบในหลักการตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เสนอเมื่อวันที่ 28 ม.ค.2568 ที่ผ่านมา กำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบของสำนักงานกฤษฎีกา ก่อนประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาเป็นลำดับต่อไป   นอกเหนือจากการระดมปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกลวงประชาชนบริเวณตะเข็บชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน การแก้ไขกฎหมายฉบับดังกล่าวจะช่วยปกป้องเหยื่ออาชญากรรมออนไลน์ได้เท่าทันและมีประสิทธิภาพขึ้น ครอบคลุม 3 สาระสำคัญเพิ่มเติม ได้แก่   1. การควบคุมดูแลไม่ให้มีการโอนเงินที่ได้จากการหลอกออนไลน์ไปแปลงเป็นสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งจะทำให้การติดตามคืนเป็นไปได้ยาก การหยุดยั้งนี้จะช่วยทำให้เจ้าหน้าที่สามารถติดตามอายัดเงินในบัญชีธนาคารได้มากขึ้น   2. การสร้างระบบการคืนเงินที่ค้างอยู่ในบัญชีธนาคารที่ยึดไว้หรือที่ระงับการโอนไว้โดยหน่วยงานของรัฐ ซึ่งจะทำให้คืนเงินให้ผู้เสียหายได้เร็วขึ้น   3. การร่วมรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเหยื่อของธนาคาร ค่ายมือถือ และสื่อโซเชียลมีเดีย หากพบกรณีที่ผู้ประกอบการไม่ยกระดับความระมัดระวังและความร่วมมือในการป้องกันตามมาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพที่ดีพอ   ร่างแก้ไขพ.ร.ก.ดังกล่าวมีต้นแบบมาจากประเทศสิงคโปร์ ซึ่งปัจจุบันมีการกำหนดกรอบความรับผิดชอบร่วมกัน (Shared Responsibility…

ดีอีเตือน! มิจฉาชีพแอบอ้าง “เฟส 3 ดิจิทัลวอลเล็ต” หลอกขโมยข้อมูล

Loading

    กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ตรวจพบข่าวปลอมรายสัปดาห์ ที่ประชาชนให้ความสนใจสูงสุดอันดับที่ 1 เรื่อง “รีบยืนยันตัวตนรับเงินดิจิทัลวอลเล็ตเฟส 3 ก่อนโดนตัดสิทธิ์” รองลงมาคือเรื่อง “เพจใบขับขี่ออนไลน์ทุกชนิด ลดราคาใบขับขี่ ผู้ใช้งานใหม่ 1,500 บาท” โดยขอให้ประชาชน อย่าหลงเชื่อข่าวปลอม เลือกเชื่อ เลือกแชร์ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ อาจทำให้สูญเสียทรัพย์สิน และข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งสร้างความเข้าใจผิด ความสับสนในสังคม     นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (BDE) ในฐานะโฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวถึงผลการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ระหว่างวันที่ 7 – 13 มีนาคม 2568 พบข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 831,525 ข้อความ โดยมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ทั้งสิ้น 655 ข้อความ สำหรับช่องทางที่มีการพบเบาะแสมากที่สุด คือ ข้อความที่มาจาก Social Listening จำนวน…