ประกาศยกระดับการแจ้งเตือน “ก่อการร้าย” ในไอร์แลนด์เหนือ

Loading

  “สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน” ประกาศ ยกระดับการแจ้งเตือนภัยคุกคามจากการก่อการร้ายในไอร์แลนด์เหนือ   วันที่ 29 มี.ค.66 เพจเฟซบุ๊ก Royal Thai Embassy, London UK ระบุว่า… ประกาศสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน เรื่อง การยกระดับการแจ้งเตือนภัยคุกคามจากการก่อการร้ายในไอร์แลนด์เหนือ   “ด้วยเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2566 นายคริส ฮีตัน-แฮริส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอร์แลนด์เหนือ ได้ประกาศยกระดับการแจ้งเตือนภัยคุกคามจากการก่อการร้ายในไอร์แลนด์เหนือ จากระดับ 3 ‘Substantial’ (เป็นไปได้ที่จะเกิดการโจมตี) เป็นระดับ 4 ‘Severe’ (เป็นไปได้สูงที่จะเกิดการโจมตี) โดยเป็นผลจากการประเมินสถานการณ์ของหน่วยข่าวกรองภายในประเทศของสหราชอาณาจักรจากเหตุการณ์ทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ส่งผลให้อาจเกิดความไม่ปลอดภัยต่อเด็กและประชาชนในพื้นที่สาธารณะ”   “ในการนี้ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน ขอให้คนไทยที่พำนักอยู่ในไอร์แลนด์เหนือหรือเดินทางไปไอร์แลนด์เหนือในระยะนี้ โปรดใช้ความระมัดระวัง ไม่ตื่นตระหนัก หากพบเป็นเหตุการณ์หรือสิ่งที่ไม่น่าไว้วางใจ ขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ และติดตามข่าวสารของทางการสหราชอาณาจักรอย่างใกล้ชิด   ทั้งนี้ หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือต้องการความช่วยเหลือ…

โรงแรมยูโรปา ในเบลฟาสต์ โรงแรมที่ถูกระเบิดมากสุดในยุโรป

Loading

  คอลัมน์ แกะรอยต่างแดน : โรงแรมยูโรปา ในเบลฟาสต์ โรงแรมที่ถูกระเบิดมากสุดในยุโรป ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา โรงแรมยูโรปา ในกรุงเบลฟาสต์ เมืองหลวงของไอร์แลนด์เหนือ เป็นที่รองรับ “นักข่าว” มากกว่ารองรับ “นักท่องเที่ยว” อันเนื่องมาจาก เป็นโรงแรมที่เกิดระเบิดบ่อยครั้งที่สุดในยุโรป โดยถูกระเบิดมากถึง 33 ครั้ง จากฝีมือของกองทัพสาธารณรัฐไอแลนด์ หรือ ไออาร์เอ จนได้ชื่อว่าเป็นโรงแรมที่ถูกระเบิดโจมตีมากที่สุดในยุโรป   โดยโรงแรมยูโรปาแห่งนี้ มีทั้งตกเป็นเป้าโจมตี และที่หลบภัยของนักข่าว ในช่วงเหตุนองเลือดในไอร์แลนด์เหนือ เมื่อช่วงทศวรรษ 1970 , 1980 และ 1990 ซึ่งหนึ่งในเหตุผลที่โรงแรมนี้กลายเป็นเป้าหมายอยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากเป็นที่ตั้งของสื่อระดับโลก และผู้สื่อข่าว ที่มาคอยทำรายงานข่าวเรื่องความขัดแย้งรุนแรงในไอร์แลนด์เหนือ   โรงแรมยูโรปา ถือเป็นสัญลักษณ์ของสุขนิยมและความทันสมัยของกรุงเบลฟาสต์ ในช่วงปลายทศวรรษ 1960 ก่อนจะกลายเป็น “เป้าหมาย” ของการโจมตีของกลุ่มไออาร์เอ “อีกครั้ง” เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม สหภาพโปรเตสแตนท์ ที่ต้องการให้ไอร์แลนด์เหนือยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร กับกลุ่มสาธารณรัฐคาทอลิก ซึ่งเป็นกลุ่มน้อย…