รู้จัก “พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์” เพื่อก้าวสู่ “รัฐบาลดิจิทัล”

Loading

  “พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์” แท้จริงแล้วคืออะไร และจะสามารถช่วยนำพาราชการไทยสู่ “รัฐบาลดิจิทัล” ได้จริงหรือไม่ ติดตามอ่านได้จากบทความนี้ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ คือ ร่างกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ในการพัฒนาประเทศด้วยการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินและการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดินและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ที่ได้ผ่านการเห็นชอบจากทางรัฐสภา คาดว่าจะเริ่มใช้ปี 2566 พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ มีแล้วดีอย่างไร? ข้อดีของการมี “พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์” มีดังนี้  – ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดิน  – ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน  – อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน  – ช่วยลดต้นทุนกระดาษและวัสดุสิ้นเปลือง  – ประหยัดพื้นที่จัดเก็บเอกสาร และยังเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการข้อมูลอีกด้วย ไม่ใช่เพียงภาครัฐหรือหน่วยงานราชการเท่านั้นที่สามารถใช้ได้ ทุกองค์กรก็สามารถใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพได้เช่นกัน ตัวช่วยเปลี่ยนองค์กรให้เป็น “Intelligent Office” ระบบสำนักงานอัจฉริยะ คือซอฟต์แวร์อัจฉริยะที่จะเข้ามาช่วยบริหารระบบงานภายในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับ “พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์” และ “ข้อกำหนด PDPA” ซึ่งภายในซอฟต์แวร์ตัวนี้จะช่วยจัดการงานเอกสาร และงานประชุมต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้  – ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document System)…

ETDA พาสำรวจ 5 ประเทศต้นแบบรัฐบาลดิจิทัล พัฒนา e-Government สร้างบริการสุดล้ำเพื่อประชาชน

Loading

  โลกแห่งเทคโนโลยีหมุนและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วขึ้นทุกวัน ทุกประเทศต่างล้วนปรับตัวตามให้ได้ไวมากที่สุด ขณะที่ เทคโนโลยีก็ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของประชากรโลกเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในหลายๆ เรื่อง ด้วยเหตุนี้ ทำให้หลายประเทศโดยเฉพาะในฝั่งภาครัฐ ต่างปรับตัว และการให้บริการก้าวสู่โลกออนไลน์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ด้วยรูปแบบการให้บริการที่หลายคนต่างคุ้นหู อย่าง e-Government หรือ รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ คือ การจัดการบริการต่างๆ ของภาครัฐให้กับประชาชนผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางในการติดต่อและขอรับบริการจากภาครัฐได้ง่าย รวดเร็ว และประหยัดเวลาในการตรวจสอบ การจัดทำเอกสารสำคัญต่างๆ ที่ภาครัฐร้องขอ ที่สำคัญประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย สำหรับ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) (Electronic Transactions Development Agency) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะหน่วยงานภาครัฐมีบทบาทสำคัญที่จะผลักดันและส่งเสริมให้เกิดระบบนิเวศดิจิทัล หรือ Digital Ecosystem ที่มั่นคงปลอดภัย น่าเชื่อถือ ทั้งระหว่างภาครัฐกับรัฐ ธุรกิจกับธุรกิจ หรือแม้แต่ภาครัฐกับภาคธุรกิจ เพื่อให้การทำงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ เชื่อมโยงระบบข้อมูลได้อย่างคล่องตัวและช่วยให้ประชาชนได้รับการบริการจากแต่ละหน่วยงานได้อย่างสะดวก พร้อมทั้งมีเป้าหมายสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ รองรับการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล อีกทั้งเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้เกิด e-Government ขึ้น เพื่อยกระดับความสามารถของภาครัฐในการให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดย e-Government…

เคาะงบ 6,200 ล้านบาท ตั้ง ‘คลาวด์กลางภาครัฐ’ เปลี่ยนผ่านสู่ ‘รัฐบาลดิจิทัล’

Loading

  วันที่ 29 มีนาคม 2565 นางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จัดให้มี ‘คลาวด์กลางภาครัฐ’ และให้ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินการ   นางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี   เนื่องมาจากการควบรวมกิจการและได้รับไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ทั้งหมด ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 พร้อมเห็นชอบกรอบงบประมาณรายจ่ายผูกพันต่อเนื่อง 3 ปี ตั้งแต่ปี 2566-2568 จำนวนเงินปีละ 2,072.14 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 6,216.4245 ล้านบาท โดยมีประมาณการรายจ่าย ดังนี้     Update…

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศกรมการปกครอง ยกเลิกเรียกสำเนาทะเบียนบ้าน-บัตรประชาชน รองรับการเป็นรัฐบาลดิจิทัล

Loading

  ราชกิจจานุเบกษาเผยประกาศกรมการปกครอง ยกเลิกใช้สำเนาบัตรประชาชน-สำเนาทะเบียนบ้าน อำนวยความสะดวก ลดภาระประชาชน รองรับการเป็นรัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธ.ค.2564 ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศกรมการปกครอง เรื่อง ยกเลิกการเรียกสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน โดยได้ระบุข้อความว่า ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 21/2560 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ.2560 ข้อ 17 ประกอบกับมติคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนตามนโยบาย Thailand 4.0 ครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2561 โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีมติให้ยกเลิกการใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน เพื่อรองรับการเป็นรัฐบาลดิจิทัล และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2563 มีมติเห็นชอบมาตรการอำนวยความสะดวกและลดภาระของประชาชน (การไม่เรียกสำเนาเอกสารที่ทางราชการออกให้จากประชาชน) ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร.เสนอ นั้น เพื่อให้การปฏิบัติราชการตามกฎหมายที่อยู่ในอำนาจของกรมการปกครองเป็นไปตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและมาตรการดังกล่าวอันเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน และลดภาระของประชาชน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.…