(ชมคลิป) เขื่อนใหญ่ในเคียร์ซอนแตกน้ำทะลักท่วมเมือง ยูเครน-รัสเซียต่างกล่าวหากันเป็นตัวการระเบิดทำลาย

Loading

    เขื่อนโนวาคาคอฟกา ซึ่งเป็นเขื่อนขนาดใหญ่ในแคว้นเคียร์ซอนทางภาคใต้ยูเครนที่รัสเซียยึดครองอยู่ รวมทั้งเป็นแหล่งน้ำสำคัญที่ส่งไปยังคาบสมุทรไครเมียและโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งใหญ่ที่สุดในยุโรป ถูกระเบิดเสียหายยับเยินในวันอังคาร (6 มิ.ย.) ทำให้มวลน้ำมหาศาลทะลักเข้าท่วมเมืองที่อยู่ใกล้เคียง ตลอดจนพื้นที่ซึ่งอยู่ตอนล่างลงมา ประชาชนจำนวนมากต้องเร่งอพยพหลบภัย ทางด้านประมุขยูเครนกล่าวหารัสเซียเป็นผู้ระเบิดเขื่อนจากด้านใน ขณะที่รัฐมนตรีกลาโหมหมีขาวตอบโต้ว่าเคียฟคือตัวการก่อเหตุ โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนการเคลื่อนย้ายกำลังทหารเพื่อปฏิบัติการเล่นงานกองกำลังรัสเซีย       เขื่อนโนวาคาคอฟกา มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์สำหรับรัสเซีย โดยเป็นแหล่งน้ำหลักซึ่งจัดส่งน้ำให้แก่คาบสมุทรไครเมีย ตลอดจนโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ซาโปริซเซีย ที่เวลานี้ต่างอยู่ใต้การควบคุมของรัสเซีย ขณะที่อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เหนือเขื่อนนี้ก็เป็นหนึ่งในลักษณะหลักทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ภาคใต้ของยูเครน โดยมีความยาว 240 กิโลเมตร และกว้าง 23 กิโลเมตร   การระเบิดเขื่อนแห่งนี้ซึ่งตั้งอยู่บนแม่น้ำดนิโปร ที่ปัจจุบันกลายเป็นเส้นแบ่งพื้นที่ยึดครองของกองกำลังมอสโกกับของฝ่ายเคียฟ ในบริเวณภาคใต้ของยูเครน ทำให้เกิดภัยพิบัติด้านมนุษยธรรมครั้งใหม่ในจุดศูนย์กลางของเขตสงคราม และสร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่แนวรบ ขณะที่ยูเครนกำลังเตรียมพร้อมเปิดปฏิบัติการตอบโต้ครั้งใหญ่ที่รอคอยมานานเพื่อชิงดินแดนที่ถูกยึดไปคืนจากรัสเซีย   เขื่อนโนวาคาคอฟกาอยู่ภายใต้การควบคุมของรัสเซียตั้งแต่ช่วงต้นของสงคราม แม้กองทัพยูเครนชิงดินแดนด้านเหนือของแม่น้ำดนิโปรได้ตั้งแต่ปีที่แล้วก็ตาม และต่างฝ่ายกล่าวหากันมาตลอดว่า อีกฝ่ายวางแผนทำลายเขื่อน   ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ที่เรียกประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติของยูเครน เพื่อหารือเกี่ยวกับ “อาชญากรรมสงคราม” ของรัสเซียครั้งนี้ โพสต์บนแอปเทเลแกรมเมื่อวันอังคารว่า การทำลายเขื่อนโรงไฟฟ้าพลังน้ำคาคอฟกาของผู้ก่อการร้ายรัสเซีย ตอกย้ำว่า รัสเซียจำเป็นต้องถูกขับไล่พ้นจากดินแดนยูเครน   ผู้นำเคียฟอ้างว่า รัสเซียระเบิดโครงสร้างภายในเขื่อน…

ยูเครนรับเอี่ยวเหตุระเบิด “สะพานไครเมีย” ในปี 2022

Loading

  สำนักข่าวซินหัว รายงานเมื่อ 28 พ.ค. ว่า วันเสาร์ (27 พ.ค.) หน่วยงานความมั่นคงยูเครน (SSU) ยอมรับว่ามีการดำเนิน “มาตรการบางอย่าง” ที่เชื่อมโยงกับเหตุระเบิดบนสะพานไครเมียเมื่อเดือนตุลาคม 2022   วาซิล มาลุค หัวหน้าหน่วยงานฯ ระบุว่ายูเครนดำเนินมาตรการบางอย่างตามกฎหมายของประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงขนบธรรมเนียมและประเพณีการทำสงคราม โดยคำนึงถึงข้อเท็จจริงว่าสะพานไครเมียเป็นเส้นทางโลจิสติกส์ที่ต้องตัดขาดจากฝ่ายศัตรู ทว่าขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะเปิดเผยรายละเอียดของ “ปฏิบัติการพิเศษ” ต่อสาธารณชน   อนึ่ง เมื่อวันที่ 8 ต.ค. 2022 เกิดเหตุระเบิดรุนแรงที่สะพานไครเมีย ความยาว 19 กิโลเมตร ซึ่งประกอบด้วยทางคู่ขนานสำหรับยานยนต์และรถไฟเหนือช่องแคบเคิร์ช โดยรถบรรทุกคันหนึ่งระเบิดบนสะพานฯ ทำให้ถังน้ำมันบนรถไฟ 7 ถัง ที่มุ่งหน้าสู่คาบสมุทรไครเมียเกิดไฟลุกไหม้ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 3 ราย และสะพานพังทลายบางส่วน     (แฟ้มภาพซินหัว : ผู้คนเดินผ่านอาคารที่พังเสียหายในเมืองมารีอูปอล วันที่ 18 ก.พ. 2023)…

รัสเซียโจมตีใส่สถานพยาบาลในดนีโปร เซเลนสกีชี้ สิ่งนี้สะท้อนความชั่วร้ายอย่างเด่นชัด

Loading

    เจ้าหน้าที่ทางการยูเครนเผยถึงเหตุการณ์กองทัพรัสเซียยิงขีปนาวุธโจมตีในสถานพยาบาลแห่งหนึ่งในเมืองดนีโปรของยูเครน เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 2 ราย และได้รับบาดเจ็บอีกอย่างน้อย 30 ราย ซึ่งในจำนวนนี้เป็นเพียงเด็กอายุ 3-6 ปีเท่านั้น ด้านประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ของยูเครน ชี้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนี้สะท้อนให้เห็นถึงความชั่วร้ายของรัสเซียอย่างเด่นชัด   ผู้นำยูเครนระบุว่า “ชาวรัสเซียได้ลงมือก่อการร้ายอีกครั้ง เพื่อยืนยันสถานะของการเป็นนักสู้ที่ต่อต้านทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวพันกับมนุษยธรรมและความซื่อสัตย์”   ด้าน เซอร์ฮีย์ ไลสัก ผู้แทนยูเครนที่รับผิดชอบและดูแลความสงบเรียบร้อยในภูมิภาคดังกล่าว ระบุว่า เมื่อช่วงคืนวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (25 พฤษภาคม) ตามเวลาท้องถิ่น เป็นค่ำคืนที่ยากลำบากของชาวยูเครนในเมืองดนีโปร มีเสียงระเบิดดังเกิดขึ้น ดนีโปรได้รับความเสียหายอย่างหนักในค่ำคืนนั้น   ทางการยูเครนชี้ว่า ในค่ำคืนดังกล่าวกองกำลังยูเครนยิงสกัดกั้นขีปนาวุธได้มากถึง 17 ลูก และตรวจพบว่ามีโดรนมากกว่า 31 ลำบินข้ามมาจากฟากฝั่งของรัสเซีย   ขณะที่ในเขตพื้นที่ของรัสเซียเองก็ได้รับความเสียหายบางส่วนจากการโต้กลับของกองกำลังยูเครนเช่นเดียวกัน แรงระเบิดจากโดรนของยูเครนสร้างความเสียหายให้กับอาคารที่พักอาศัยในเมืองครัสโนดาร์ของรัสเซียไม่น้อย แต่โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญหลายแห่งไม่ได้รับความเสียหาย อีกทั้งไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตแต่อย่างใด   การสู้รบระหว่างกองทัพรัสเซียและกองกำลังยูเครนในหลายพื้นที่แถบภูมิภาคดอนบาส หรือทางตะวันออกของยูเครน โดยเฉพาะที่เมืองบัคมุต ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง แม้สงครามรัสเซีย-ยูเครนในครั้งนี้จะสู้รบกันมานานกว่า 1 ปี…

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริซห์เชียเสี่ยงใกล้เกิดอุบัติเหตุกัมมันตภาพรังสี

Loading

    ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency — IAEA) เตือนอีกครั้งว่า โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ซาปอริซห์เชียของยูเครนที่อยู่ในพื้นที่ที่กองกำลังรัสเซียควบคุมอยู่ กำลังอยู่ในภาวะที่มีความเสี่ยงสูงมาก หลังเกิดเหตุพลังงานที่จ่ายเข้ามาหยุดชะงักจนต้องมีการเร่งเปลี่ยนมาใช้เครื่องปั่นไฟที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นการฉุกเฉิน   ราฟาเอล กรอสซี ผู้อำนวยการ IAEA เปิดเผยว่า นี่เป็นครั้งที่ 7 แล้วที่โรงไฟฟ้าแห่งนี้ประสบภาวะขาดพลังงานเพื่อใช้ควบคุมการทำงานของเตาปฏิกรณ์ปรมาณู นับตั้งแต่รัสเซียรุกรานยูเครนเมื่อเกือบ 15 เดือนก่อน โดยระบุในข้อความที่ทวีตออกมาด้วยว่า “สถานการณ์ด้านความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ที่โรงไฟฟ้าแห่งนี้มีความเปราะบางอย่างสุดขีด”   #Ukraine’s #ZNPP this morning lost all external electricity for 7th time during conflict, forcing it to rely on emergency diesel generators for power; nuclear safety situation at…

ถอดบทเรียนยูเครน จีนเล็งเสริมขีดความสามารถทำสงครามนอกแบบ

Loading

    นายพลจีนถอดบทเรียนวิกฤติยูเครน เรียกร้องหลอมรวมขีดความสามารถสมัยใหม่อย่างเอไอ เข้ากับยุทธวิธีสงครามตามแบบก่อนเผชิญหน้าตะวันตก   สำนักข่าวรอยเตอร์รายงาน นายพลหวัง ไฮ่เจียง ผู้บัญชาการภาคตะวันตก กองทัพปลดแอกประชาชนจีน (PLA) เขียนบทความพิเศษลงหน้าหนึ่ง หนังสือพิมพ์ทางการ Study Times ฉบับวันจันทร์ (15 พ.ค.) การทำสงครามลูกผสมรูปแบบใหม่เกิดขึ้นในความขัดแย้งยูเครน มีการผสมผสานทั้ง “สงครามการเมือง สงครามการเงิน สงครามเทคโนโลยี สงครามไซเบอร์ และสงครามการรับรู้”   ในปัจจุบันและอนาคต ความขัดแย้งในท้องถิ่นและความวุ่นวายจะเกิดขึ้นบ่อย ปัญหาระดับโลกรุนแรง โลกเข้าสู่ความวุ่นวายและการเปลี่ยนแปลงช่วงใหม่ เหตุการณ์แบบหงส์ดำ (เกิดขึ้นได้ยากมาก) และแรดสีเทา (สถานการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นสูง แต่ผู้เกี่ยวข้องแยกแยะไม่ออก) อาจเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ โดยเฉพาะด้วยการสกัดกั้น โอบล้อม ตัดขาด กดขี่ และภัยคุกคามจากชาติตะวันตกบางชาติ”   รอยเตอร์ระบุว่า ในนามของความมั่นคงแห่งชาติและเพื่อป้องกันภัยคุกคามที่รับรู้ได้จากตะวันตก ความพยายามเตรียมตัวรับมือความท้าทายด้านความมั่นคงของจีนไม่ได้ลดน้อยลง แม้เศรษฐกิจชะลอตัวและโควิด-19 ระบาด ปีนี้ค่าใช้จ่ายด้านกลาโหมส่อเพิ่มขึ้นเป็นปีที่ 8 ติดต่อกัน ซึ่งขนาดและขอบเขตการเตรียมการของกองทัพจีนไม่ได้มีแค่ตะวันตกที่จับตา แต่เพื่อนบ้านรวมถึงไต้หวันที่จีนอ้างว่าเป็นของตนก็จับตาอย่างใกล้ชิดด้วย   แต่แม้ทุ่มเทงบประมาณลงไปหลายแสนล้านดอลลาร์แต่กองทัพจีนไม่ได้ทำสงครามมานานมาก…

‘เซเลนสกี’ เยือนฝรั่งเศส-เยอรมนี ขอความช่วยเหลือเพิ่มให้ยูเครน

Loading

    ประธานาธิบดียูเครน โวโลดิเมียร์ เซเลนสกี เยือนฝรั่งเศสอย่างไม่มีการประกาศล่วงหน้าในคืนวันอาทิตย์ เพื่อหารือกับประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาคร็อง เรื่องความช่วยเหลือชุดใหม่ที่จะให้กับยูเครนเพื่อใช้ตอบโต้การโจมตีของรัสเซีย   สำนักงานประธานาธิบดีฝรั่งเศสเปิดเผยว่า ประธานาธิบดีมาคร็องเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำต้อนรับประธานาธิบดีเซเลนสกีในกรุงปารีส และจะยืนยันการสนับสนุนของฝรั่งเศสและยุโรปที่มีต่อยูเครนในการป้องกันตนเอง   นอกจากนี้ คาดว่าผู้นำทั้งสองคนจะหารือกันเรื่องความช่วยเหลือทางทหารและมนุษยธรรมที่จะให้กับยูเครน และมุมมองในการสร้างสันติภาพของยุโรปในระยะยาว   ก่อนหน้านี้ในวันอาทิตย์ ประธานาธิบดีเซเลนสกีเดินทางเยือนเยอรมนี และพบหารือกับนายกรัฐมนตรีโอลาฟ โชลซ์ ในประเด็นเกี่ยวกับแผนการตอบโต้การโจมตีของรัสเซีย รวมทั้งการยืนยันจากผู้นำยูเครนว่าจะมุ่งเน้นปลดปล่อยพื้นที่ในยูเครนที่รัสเซียครอบครองอยู่ แต่จะไม่โจมตีภายในดินแดนของรัสเซีย     ก่อนหน้านี้ สื่อวอชิงตันโพสต์ รายงานอ้างถึงเอกสารลับที่เล็ดลอดมาจากหน่วยงานข่าวกรองสหรัฐฯ ว่า เซเลนสกีเคยพิจารณาส่งกำลังทหารยึดครองดินแดนในรัสเซียเพื่อใช้เป็นเครื่องมือต่อรองกับทางการกรุงมอสโกเพื่อให้เข้าสู่การเจรจาสันติภาพและยุติสงครามในยูเครน   หากเป็นเช่นนั้นจริงจะขัดกับหลักการของชาติตะวันตกที่ส่งความช่วยเหลือด้านอาวุธให้แก่ยูเครนภายใต้เงื่อนไขว่าจะต้องไม่ถูกใช้โจมตีเป้าหมายในรัสเซีย   เมื่อถูกถามถึงรายงานดังกล่าว ปธน.เซเลนสกีกล่าวว่า “เราจะไม่โจมตีในดินแดนของรัสเซีย เราจะปลดปล่อยดินแดนของเราเท่านั้น” พร้อมย้ำว่า “เราไม่มีทั้งเวลาและกำลัง (ในการโจมตีรัสเซีย)” “เราไม่มีอาวุธเหลือพอที่จะทำเช่นนั้นด้วย”   เวลานี้ พื้นที่ที่รัสเซียครอบครองอยู่ คือ แคว้นไครเมีย และบางส่วนของภาคตะวันออกของยุเครนที่ประชากรส่วนใหญ่พูดภาษารัสเซีย     ครั้งนี้ถือเป็นการเยือนกรุงเบอร์ลินครั้งแรกของประธานาธิบดีเซเลนสกีนับตั้งแต่สงครามเริ่มขึ้นเมื่อปีที่แล้ว และก่อนหน้านี้หนึ่งวัน รัฐบาลเยอรมนีเพิ่งประกาศความช่วยเหลือทางทหารชุดใหม่มูลค่ามากกว่า 3,000…