Meta โชว์ Voicebox ปัญญาประดิษฐ์สร้างเสียงจากข้อความ , เลียนแบบเสียงใครก็ได้โดยใช้ตัวอย่างแค่สองวินาที

Loading

  ทีมวิจัย Meta AI รายงานถึงปัญญาประดิษฐ์ Voicebox ที่แปลงข้อความเป็นเสียง (text-to-speech – TTS) ด้วยความแม่นยำสูง มีอัตราความผิดพลาดของคำต่ำ และยังสามารถเลียนแบบเสียงใครก็ได้ โดยต้องการตัวอย่างเสียงเพียงสั้นๆ เท่านั้น   ทีมงานสร้าง Voicebox จากหนังสือเสียงภาษาอังกฤษ, ฝรั่งเศส, สเปน, เยอรมนี, และโปรตุเกส รวมข้อมูล 50,000 ชั่วโมง ความสามารถของ Voicebox สามารถเลียนแบบเสียงจากตัวอย่างเสียงสั้นๆ เท่านั้น , สามารถเลียนแบบสไตล์การพูดข้ามภาษาได้ ด้วยการใส่ข้อความภาษาอื่นๆ เข้าไปแม้ว่าตัวอย่างเสียงจะพูดอีกภาษา , ใช้ลบเสียงรบกวนและตัดต่อข้อความได้ โดยการตัดช่วงเวลาที่ไม่ต้องการออกจากตัวอย่าง แล้วใส่แต่ข้อความเข้าไป   Voicebox มีประโยชน์หลายอย่าง เช่น การสร้างเสียงเพื่อทดแทนสำหรับผู้ป่วยที่พูดไม่ได้แล้ว ให้สามารถสื่อสารด้วยเสียงเดิมของตัวเอง แต่ Meta AI ก็ยอมรับว่ามันมีอันตรายมาก เพราะสามารถใช้สร้างข่าวปลอมได้หลากหลาย ในอนาคตทีมงานจะสร้างโมเดลที่สมจริงแต่ตรวจสอบได้ง่ายว่าเป็นเสียงที่สังเคราะห์ขึ้นมา   ที่มา – Meta AI…

รัฐสภายุโรปผ่านร่างกฎหมายปัญญาประดิษฐ์ของยุโรป (EU AI Act)

Loading

    เว็บไซต์ The New York Times รายงานเมื่อ 14 มิ.ย.66 ว่า รัฐสภายุโรปได้ผ่านร่างกฎหมายปัญญาประดิษฐ์เมื่อ 14 มิ.ย.66 เพื่อเข้าสู่การพิจารณาในวาระสุดท้ายก่อนมีผลบังคับใช้ เพื่อปกป้องผู้บริโภคของสหภาพยุโรปจากการใช้ปัญญาประดิษฐ์ที่อาจเป็นอันตราย ทั้งนี้ กฎหมาย AI ของสหภาพยุโรปจะใช้วิธีการอิงตามความเสี่ยง (Risk-Based Approach) จากศักยภาพสูงสุดที่จะสามารถทำอันตรายต่อมนุษย์ และให้ความสำคัญกับระบบ AI ที่นำมาใช้ในโครงสร้างพื้นฐานสำคัญด้านน้ำและพลังงาน และในระบบกฎหมาย นอกจากนี้ยังกำหนดข้อบังคับต่าง ๆ เช่น ห้ามใช้ระบบการจดจำใบหน้า (facial recognition) ตามเวลาจริง และห้ามใช้ชุดข้อมูลชีวมาตรจากสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสร้างฐานข้อมูล รวมถึงการใช้ข้อมูลที่มีลิขสิทธิ์ซึ่งมิใช่ของตนในการฝึกระบบ AI นอกจากนี้ ผู้สร้างระบบ AI จะต้องทำการประเมินความเสี่ยงก่อนการให้บริการ ซึ่งคล้ายกับกระบวนการอนุมัติยา และต้องวางมาตรการเพื่อป้องกันไม่ให้ AI สร้างเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย เป็นต้น อย่างไรก็ดี ปัจจุบัน สหรัฐฯ ได้ออกนโยบายและมาตรการทดสอบระบบ AI ก่อนเผยแพร่สู่สาธารณะเพื่อปกป้องสิทธิความเป็นส่วนตัวของชาวอเมริกัน ขณะที่จีนกำลังร่างกฎหมายควบคุมผู้ผลิต AI ในจีนให้ประเมินความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ก่อนนำออกสู่สาธารณะ…

ฮือฮา!! พันเอกเผยกองทัพสหรัฐฯ แอบทดสอบลับใช้ AI บังคับ “โดรน” โจมตีไซต์ SAM พบเจอรูปแบบสุดโหดหันไปโจมตี “มนุษย์คนควบคุม”

Loading

ภาพประกอบข่าวทางอินเทอร์เน็ต   เอเจนซีส์ – ที่ประชุมซัมมิตของราชสมาคมการบินอังกฤษ ที่เกิดขึ้นสัปดาห์ที่ผ่านมาในกรุงลอนดอน เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เผยอเมริกากำลังทดสอบ AI ให้บังคับโดรนทหารเพื่อโจมตีพิกัดมิสไซล์จากภาคพื้นสู่อากาศตามรหัส SAM แต่พบ AI เลือกวิธีการสุดโหดหันไปสังหารมนุษย์ผู้ควบคุมแทนเพื่อภารกิจสำเร็จ แต่หลังข่าวแพร่รายงานตามหน้าสื่อ เพนตากอนโร่ออกมาปฏิเสธไม่เคยทำการทดสอบเช่นนี้มาก่อน ด้านผู้นำจีน สี จิ้นผิง ในวันอังคาร (30 พ.ค.) เตือนระดับสูงให้ต้องทำการควบคุมเทคโนโลยี AI อย่างกว้างขวาง เชื่อร้ายกาจทางความมั่นคง   ฟ็อกซ์นิวส์ของสหรัฐฯ รายงานวานนี้ (1 มิ.ย.) ว่า กลายเป็นที่ฮือฮาไปทั่วในการประชุมที่จัดโดยราชสมาคมการบินอังกฤษ (The Royal Aeronautical Society) ที่มีแขกรับเชิญผู้มีเกียรติขึ้นกล่าว 70 คน ท่ามกลางผู้เข้าร่วมจำนวนมากทั่วโลกกว่า 200 คน และรวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญทางอุตสาหกรรมทหารและนักวิชาการ   ในงานสัมมนา ‘Future Combat Air and Space Capabilities’ ที่ถูกจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-24 มิ.ย.…

ผู้นำจีนเตือน “ความเสี่ยงด้านความมั่นคง” จาก “ปัญญาประดิษฐ์”

Loading

  ประธานาธิบดีจีนขอให้หน่วยงานทุกแห่งที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการเพิ่มขึ้น เพื่อควบคุมเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งถือเป็น “อันตรายต่อความมั่นคง”   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. ว่าประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ผู้นำจีน กล่าวระหว่างการประชุมคณะกรรมาธิการด้านความมั่นคงแห่งชาติ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา เรียกร้องการยกระดับ “ธรรมาภิบาลด้านความมั่นคง” เกี่ยวกับเครือข่ายด้านความมั่นคงและปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ)   สีกล่าวต่อไปว่า ทุกภาคส่วนต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับ “สถานการณ์เลวร้ายที่สุด” และ “ฉากทัศน์ที่รุนแรง” พร้อมทั้งต้านทาน “ทุกปัญหาซึ่งจะถาโถมเข้ามาใส่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม” ขณะเดียวกัน ผู้นำจีนเตือนเกี่ยวกับ “ความซับซ้อนและความรุนแรงของปัญหาด้ายความมั่นคงแห่งชาติ ที่จีนกำลังเผชิญเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ”   China’s ruling Communist Party is calling for beefed-up national security measures, highlighting the risks posed by advances in artificial intelligence…

สแกมเมอร์จีนใช้ AI ปลอมเป็นเพื่อน หลอกเงินนับล้าน

Loading

  สแกมเมอร์ในจีนใช้เทคโนโลยี AI ปลอมตัวเป็นเพื่อนนักธุรกิจของชายคนหนึ่งและหลอกยืมเงิน สูญหลายล้านหยวน   เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันพุธที่ 24 พฤษภาคม 2566 กล่าวว่า สแกมเมอร์ หรือมิจฉาชีพบนโลกออนไลน์ ในประเทศจีน ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ (AI) ในการหลอกลวงเหยื่อ จนสูญเงินนับล้านหยวน   สื่อของรัฐในเมืองฝูโจว มณฑลฝูเจี้ยน เผยแพร่ข้อมูลว่า เหยื่อผู้เสียหายรายนี้ ใช้นามว่านายกั๋ว ได้รับวิดีโอคอลเมื่อเดือนที่แล้วจากบุคคลที่ปรากฏภาพและเสียงของเพื่อนสนิท แต่แท้จริงแล้วผู้โทรมาเป็นมิจฉาชีพ ซึ่งใช้เทคโนโลยี AI อัจฉริยะเพื่อเปลี่ยนหน้าและเสียงให้เหมือนกับบุคคลที่เหยื่อรู้จัก เพื่อหลอกล่อขอยืมเงิน   จากนั้นนายกั๋ว ซึ่งหลงเชื่อตามภาพและเสียงในวีดีโอคอล ได้โอนเงินให้เพื่อนตัวปลอมเป็นจำนวน 4.3 ล้านหยวน (ประมาณ 21 ล้านบาท) หลังจากที่มิจฉาชีพอ้างว่าเพื่อนอีกคนต้องการเงินจากบัญชีธนาคารของบริษัทเพื่อจ่ายค้ำประกันการประมูล   มิจฉาชีพทำทีขอหมายเลขบัญชีธนาคารส่วนบุคคลของนายกั๋ว เพื่อหลอกว่าจะโอนเงินคืนให้ จากนั้นก็อ้างว่าได้โอนเงินคืนให้ทั้งหมดแล้ว พร้อมโชว์หลักฐานการโอนผ่านหน้าจอเพื่อยืนยัน   เมื่อมีการแจ้งเตือนจากธนาคารว่ามีเงินเข้าออกจากบัญชีตนเอง นายกั๋วจึงไม่ได้ตรวจสอบอย่างละเอียดและเชื่อใจการกระทำของเพื่อนปลอม   “ในตอนนั้น ผมได้เห็นหน้าและได้ยินเสียงของบุคคลที่วิดีโอคอลหาผมว่าเป็นเพื่อนที่ทำธุรกิจด้วยกันจริง ดังนั้นผมจึงไว้ใจและไม่ได้ตรวจสอบ” สื่ออ้างคำให้การของนายกั๋ว…

กลุ่ม G7 เรียกร้องให้มีมาตรฐานควบคุมความน่าเชื่อถือของ AI

Loading

    ผู้นำกลุ่มประเทศ (G7) เรียกร้องให้มีการจัดทำและประกาศใช้มาตรฐานทางเทคนิคเพื่อควบคุมความน่าเชื่อถือของปัญญาประดิษฐ์ โดยชี้ว่ากติกาที่มีอยู่ตามเทคโนโลยีไม่ทัน   เหล่าผู้นำจากแคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป เดินทางไปร่วมประชุมกันที่เมืองฮิโระชิมา ประเทศญี่ปุ่น   ในแถลงการณ์ร่วมของ G7 ชี้ว่ากฎเกณฑ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลต้องสอดคล้องกับคุณค่าประชาธิปไตยที่ทุกประเทศมีร่วมกัน และชี้ว่าต้องมีการทำความเข้าใจโอกาสและความท้าทายของปัญญาประดิษฐ์เชิงสังเคราะห์ (เช่น ChatGPT)   โดยที่ประชุมเห็นพ้องกันให้มีการจัดการประชุมในระดับรัฐมนตรีในชื่อ Hiroshima AI Process เพื่อหารือในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์เชิงสังเคราะห์ เช่น ประเด็นลิขสิทธิ์ และการเผยแพร่ข่าวปลอม ภายในสิ้นปีนี้   นอกจากนี้ ผู้นำ G7 ยังเรียกร้องให้องค์การระหว่างประเทศอย่าง องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ร่วมวิเคราะห์ผลกระทบของการพัฒนานโยบายที่เกี่ยวข้องด้วย   เออร์ซูลา ฟอน เดอร์ เลเยน (Ursula von der Leyen) ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ฝ่ายบริหารของสหภาพยุโรปชี้ว่าต้องการให้ปัญญาประดิษฐ์มีความแม่นยำ ชื่อถือได้ ปลอดภัย…