การหลอกลวงทั่วโลกพุ่ง 10.2% ‘Whoscall’ เตือนระวัง มิจฉาชีพใช้ AI ปลอมเสียง

Loading

Gogolook ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน Whoscall และผู้ให้บริการทางด้านเทคโนโลยี เพื่อความเชื่อมั่น (TrustTech) เตือนภัยมิจฉาชีพในประเทศไทยเริ่มใช้วิธีหลอกลวงใหม่ด้วยเทคโนโลยี AI ปลอมเสียง

เมื่อเอไออย่าง ChatGPT กำลังมาแทนที่นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล

Loading

เมื่อ 4-5 ปีก่อนเราเคยกล่าวกันว่า อาชีพนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลหรือ Data Scientist เป็นอาชีพที่น่าสนใจ เพราะองค์กรต่าง ๆ มีความต้องการที่จะวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่มากขึ้น จึงต้องเสาะหาผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้มากขึ้น ถึงกับมีคนกล่าวว่า นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลเป็นอาชีพสุดฮ็อต ขึ้นแท่น ‘The Sexiest Job’ แห่งศตวรรษที่ 21

เจาะลึกวิธีผู้ร้ายไซเบอร์ใช้ AI โจมตีองค์กร

Loading

แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) เตือนโลกรับมือผู้ร้ายไซเบอร์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) โจมตีองค์กร ชำแหละวิธีใช้ ChatGPT ช่วยเขียนมัลแวร์-นำ AI มาใช้ในการโจมตีทางไซเบอร์ ด้วยการเขียนสคริปต์ซอฟตฺแวร์ประสงค์ร้ายแบบที่ไม่ต้องใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญใด ๆ

สิทธิมนุษยชนกับการปรากฏตัวของ AI

Loading

AI ปฏิบัติการบนฐานอัลกอริทึม (algorithm) มีความสามารถในการคาดการณ์ ตัดสินใจ และให้คำแนะนำ ทั้งในฐานะผู้ช่วยตัดสินใจและผู้ตัดสินใจเองโดยอิสระ ผ่านกิจกรรมประจำวันของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็น การซื้อสินค้าตามรสนิยมและความต้องการ การใช้ระบบจดจำใบหน้าในกิจกรรมต่าง ๆ

กฎหมายเอไอจีน

Loading

  เมื่อเร็ว ๆ นี้ จีนบังคับใช้กฎระเบียบใหม่ล่าสุดเกี่ยวกับเนื้อหาที่สร้างโดยปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) โดยเป็นเวอร์ชันที่อ่อนลงของร่างกฎหมายที่เข้มงวดกว่า ซึ่งพยายามทำให้ประเทศอยู่ในการแข่งขันด้านเอไอ ควบคู่ไปกับการคงไว้ซึ่งการเซนเซอร์เนื้อหาออนไลน์อย่างเด็ดขาด   ความก้าวหน้าที่รวดเร็วของเอไอสำหรับการสร้างคอนเทนต์ ทำให้เกิดความตื่นตระหนกไปทั่วโลก เกี่ยวกับศักยภาพของเทคโนโลยีในการบิดเบือนข้อมูล และการใช้งานในทางที่ผิด ดังเช่นเทคโนโลยี “ดีพเฟค” ที่ทำให้เห็นภาพเสมือนของผู้คนซึ่งพูดในสิ่งที่พวกเขาไม่เคยพูด   บรรดาผู้สันทัดกรณีกล่าวว่า กฎระเบียบใหม่ 24 ข้อของจีน ดูเหมือนจะเป็นมาตรการที่ผ่อนคลายจากร่างข้อบังคับที่เข้มงวด ซึ่งเผยแพร่เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา เนื่องจากรัฐบาลปักกิ่งพยายามสนับสนุนให้คนในประเทศ เข้ามามีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมที่สหรัฐมีอิทธิพล   สำหรับกฎระเบียบใหม่ของรัฐบาลปักกิ่ง ซึ่งมีเป้าหมายให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป มีข้อกำหนดกับแนวทางสำคัญที่ควรทราบและปฏิบัติตามหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น เอไอสำหรับการสร้างคอนเทนต์ ต้องยึดมั่นใน “ค่านิยมหลักของระบบสังคมนิยม” ตลอดจนละเว้นจากการคุกคามความมั่นคงของชาติ และการส่งเสริมการก่อการร้าย ความรุนแรง หรือความเกลียดชังทางชาติพันธุ์   ประการถัดมา ผู้ให้บริการต้องกำกับเนื้อหาที่สร้างโดยเอไอให้ชัดเจน และใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อป้องกันการเลือกปฏิบัติทางเพศ อายุ และเชื้อชาติ เมื่อดำเนินการออกแบบอัลกอริธึม อีกทั้งซอฟต์แวร์ของพวกเขาไม่ควรสร้างเนื้อหาที่มี “ข้อมูลอันเป็นเท็จ และเป็นอันตราย”   นอกจากนี้ โปรแกรมเอไอต้องได้รับการฝึกให้รับแหล่งข้อมูลอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งไม่เป็นการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น และบุคคลต้องให้ความยินยอม…

The Imitation Game ดีเอ็นเออังกฤษรากเหง้าเอไอ | หนังเล่าโลก

Loading

  สัปดาห์ก่อนผู้คนในแวดวงเทคโนโลยีและสตาร์ทอัปต่างตื่นเต้นกับงาน Techsauce Global Summit 2023 งานประชุมด้านเทคโนโลยีระดับแนวหน้าของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นเดียวกับสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย ที่จัดงาน UK AI Week Bangkok และปิดฉากอย่างสวยงามด้วยงาน Turing Night ฉายภาพยนตร์เรื่อง The Imitation Game   The Imitation Game ปี 2014 ผลงานการกำกับของ มอร์เทน ไทล์ดัม (Morten Tyldum) ภาพยนตร์อัตชีวประวัติของอลัน ทัวริง นักคณิตศาสตร์ชาวสหราชอาณาจักร เน้นเรื่องราวตอนที่เขาทำงานอยู่ที่เบลชลีย์ พาร์คระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลอังกฤษมีโครงการลับถอดรหัสลับนาซีจากเครื่องอินิกมา โดยทีมงานสุดยอดอัจฉริยะเพียง 5-6 คนซึ่งอลันเป็นหนึ่งในนั้น แต่ละวันมีพนักงานตรวจจับข้อความจากนาซีเยอรมนีได้เป็นจำนวนมาก หากถอดรหัสข้อความธรรมดาสามัญเหล่านี้ได้ฝ่ายสัมพันธมิตรก็จะทราบได้ว่านาซีจะโจมตีที่ไหนแล้วแก้ไขสถานการณ์ได้ทัน   แต่ความยากอยู่ตรงที่เครื่องอินิกมาสามารถเข้ารหัสได้ถึง 15 ล้านล้านแบบ และตั้งรหัสใหม่ทุกเที่ยงคืน ข้อความแรกที่ฝ่ายสัมพันธมิตรตรวจจับได้มักมาในเวลา 6.00 น. เท่ากับว่า พวกเขามีเวลาเพียง 18 ชั่วโมงในการใช้มนุษย์…