จุดยุทธศาสตร์ ‘สะพานยาลู’ เกมอำนาจ ‘จีน-เกาหลีเหนือ’

Loading

สะพานข้ามแม่น้ำยาลูแห่งใหม่ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างพรมแดนทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ที่เชื่อมกับพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาหลีเหนือนั้น ได้รับการก่อสร้างแล้วเสร็จมานานกว่า 10 ปี แต่จนถึงตอนนี้ ยังคงไม่มีการเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการ สะพานจึงอยู่ในสภาพถูกทิ้งร้างตั้งแต่เดือน ก.พ. 2567

เมื่อโลกแยกขั้ว : จีนกับรัสเซียเผชิญหน้ามะกันกับยุโรปตะวันตก/กาแฟดำ สุทธิชัย หยุ่น

Loading

  เมื่อโลกแยกขั้ว : จีนกับรัสเซียเผชิญหน้ามะกันกับยุโรปตะวันตก   สงครามยูเครนจะทำให้เกิดการแบ่งโลกเป็นสองขั้วทางด้านเศรษฐกิจและทหารหรือไม่ เป็นหัวใจที่ถกแถลงกันอย่างกว้างขวางในวันนี้   ขั้วหนึ่งคือรัสเซียกับจีน   อีกซีกหนึ่งคือสหรัฐกับยุโรปตะวันตกหรือ NATO   โอกาสของการทำสงครามระดับโลกอาจจะไม่ได้อยู่ในลำดับที่ “เป็นไปไม่ได้” เหมือนที่เคยเชื่อกัน   นักวิเคราะห์ทางยุทธศาสตร์ระดับโลกกำลังเสนอว่าเราต้องเริ่ม “คิดในสิ่งที่ไม่เคยกล้าคิด” หรือ Thinking the Unthinkable   ฉากทัศน์แห่งสงครามระดับโลกอันมีสาเหตุจากสงครามยูเครนจึงกำลังกลายเป็น “รูปการณ์” ที่จะทิ้งลงตะกร้าไม่ได้อีกต่อไป     รัสเซียมีงบประมาณทางทหาร ใช้จ่ายด้านการทหารสูงสุดเป็นอันดับสามของโลกรองจากสหรัฐ และจีน   และจะเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ   แต่ไม่ได้ยกระดับด้านสร้างแสนยานุภาพทางทหารเพียงคนเดียว   ในทศวรรษที่ผ่านมา รัสเซียสามารถขอความช่วยเหลือจากจีนได้   สองประเทศพันธมิตรมีพลังรวมกันมากกว่าที่คนส่วนใหญ่เต็มใจยอมรับ   เมื่อรัสเซียบุกแหลมไครเมียเมื่อปี 2014 จีนสนับสนุนการเคลื่อนไหวนี้โดยปริยายด้วยการงดออกเสียงในสหประชาชาติ   และเมื่อมีการคว่ำบาตรใหม่ของสหภาพยุโรปต่อรัสเซีย ปักกิ่งแสดงจุดยืนว่าการคว่ำบาตรเพิ่มเติม “อาจนำไปสู่ปัจจัยใหม่และซับซ้อนมากขึ้น” ในยูเครน   มองลึกลงไป รัสเซียและจีนร่วมมือกันตามแนวเศรษฐกิจ เทคโนโลยี การทหาร…