3 มุมมองความท้าทาย ’เอไอ‘ บนจุดตัดด้านจริยธรรม และธรรมาภิบาล

Loading

  การบังคับใช้กฎหมายด้านเอไอเพื่อให้มีจริยธรรม และธรรมาภิบาลเป็นความท้าทายใหม่ที่เข้ามาในทุกอุตสาหกรรม และการกำกับดูแลของภาครัฐว่าจะมีทิศทางอย่างไร เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาให้รอบด้านทุกมิติ   ภายในงานเสวนา: AI Ethic: Trust & Transparency จัดโดย “กรุงเทพธุรกิจ”   พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ สกมช.กล่าวว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากของการใช้เอไอคือ สังคมมีความเป็นห่วงมากเกินไป ว่าเป็นดาบสองคม แต่ไม่รู้จักว่าจะใช้งานทางบวกอย่างไร และระวังเรื่องทางลบอย่างไร ด้านบวกหากไม่ใช่ ก็เปรียบเสมือนดาบทื่อ กลายเป็นไม่นำมาใช้ประโยชน์ใดๆ เลย   ส่วนเรื่องการออกกฎหมายนั้น เชื่อว่า เป็นเรื่องที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องติดตามอย่างใกล้ชิด และ เป็นเรื่องของการบังคับใช้มาสเตอร์แพลน ที่ย่อมต้องตามมากับพัฒนาการ การใช้เอไอนั่นคือ การใช้งานอย่างมีจริยธรรม และมีกฎหมาย ต้องให้ความสำคัญกับการให้ความรู้ควบคู่กับการพัฒนาคนให้ใช้งานอย่างมีจริยธรรม ต่อไปเมื่อมีการนำเอไอมาใช้ จะเชื่อได้อย่างไร ถ้าเอไอตอบคำถามผิด จะรู้หรือมีกลไกในการตรวจสอบอย่างไร เพราะการตรวจเอไอไม่ได้ง่ายเหมือนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่สามารถทดสอบออกมาได้ว่าโปรแกรมนี้ถูกหรือไม่   “เอไอขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ข้อมูลที่หลากหลายคำตอบที่ได้ จะดีที่สุดกับองค์กรของท่านหรือไม่ หรือดีในแง่ของจริยธรรมหรือไม่ ทั้งนี้ ในระหว่างที่กฎหมายกำลังขับเคลื่อน เราต้องตอบตัวเองให้ได้ ว่าจะมีการจำกัดดูแลกลไกของมันได้อย่างไร”…

ภาพวันแม่กับการใช้เทคโนโลยี

Loading

  การเผยแพร่ภาพแม่กับลูกเนื่องในโอกาสวันแม่ เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาของเจ้าหญิงแห่งเวลส์ แทนที่จะสื่อถึงชาวโลกว่าพระองค์ทรงมีสุขภาพดีเป็นปกติแล้วและกำลังมีความสุขอยู่กับพระโอรสและพระธิดา กลับสร้างปัญหาสาหัสแบบคาดไม่ถึง   กล่าวคือ ไม่นานหลังจากภาพนั้นกระจายออกไป สำนักข่าวใหญ่หลายแห่งแถลงว่า ตนได้บอกให้ผู้รับภาพงดเผยแพร่ต่อเพราะสงสัยว่าภาพนั้นได้รับการตกแต่งด้วยเทคโนโลยีร่วมสมัยส่งผลให้ไม่สะท้อนความเป็นจริงเต็มร้อย   ต่อมา เจ้าหญิงทรงรับว่าพระองค์ทรงตกแต่งภาพนั้นจริงและทรงขออภัยในความไม่เดียงสาของความเป็นช่างภาพมือใหม่ซึ่งทดลองใช้เทคโนโลยีที่ไม่ค่อยคุ้นเคย   เหตุการณ์นั้นบานปลายเป็นประเด็นใหญ่ภายในเวลาอันสั้น เนื่องจากมีผู้ชี้ว่าทางในวังของอังกฤษได้ใช้วิธีสร้างภาพให้ดูดีเกินความเป็นจริงมานาน และฝ่ายต่อต้านการมีกษัตริย์ได้พยายามขุดคุ้ยเรื่องในแนวนี้มาเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง   ในบางกรณีถึงกับใช้เทคโนโลยีใหม่แอบถ่ายภาพ หรือดักฟังการสนทนาของราชวงศ์ส่งผลให้เรื่องไปถึงโรงศาล การเผยแพร่ภาพดังกล่าวจึงอาจเป็นน้ำผึ้งอีกหนึ่งหยดที่ส่งผลให้เกิดจุดพลิกผันอันสำคัญยิ่งในราชวงศ์อังกฤษได้   ผู้ดูโดยทั่วไปคงไม่รู้ว่าภาพดังกล่าวนั้นได้รับการตกแต่ง แต่สำนักข่าวใหญ่ ๆ มีทั้งเทคโนโลยีร่วมสมัยและความเชี่ยวชาญในการดูภาพจึงรู้ เมื่อรู้แล้วก็มิได้อำไว้เพราะเกรงใจราชวงศ์ หากแถลงออกมาเนื่องจากยึดจรรยาบรรณในด้านวิชาชีพของตนสูงกว่าความเกรงใจในตัวบุคคล หรือสถานะทางสังคมของเขารวมทั้งราชวงศ์   เหตุการณ์นี้ชี้ให้เห็นประเด็นใหญ่เกี่ยวกับเทคโนโลยีอีกครั้ง กล่าวคือ เทคโนโลยีมีประโยชน์มหาศาล แต่มีโทษ หรือคำสาปแฝงมาด้วยเสมอ   โทษอาจเกิดจากความไม่เข้าใจ ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือความมักง่าย และความตั้งใจใช้เทคโนโลยีโดยขาดจรรยาบรรณ หรือเจตนาร้าย   ภาพ : เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ทรงขอโทษที่ตกแต่งภาพทางการจากสำนักพระราชวังเคนซิงตัน จนสำนักข่าวดังหลายแห่งลบออกจากระบบ   ด้านประโยชน์นั้นเราคุ้นเคยกับมันในชีวิตประจำวันจนแทบไม่นึกถึง ผู้กำลังอ่านบทความนี้คงมีเครื่องมือทำด้วยเทคโนโลยีร่วมสมัยและอาจใช้มันอ่านอยู่ด้วยรวมทั้งโทรศัพท์อัจฉริยะ คอมพิวเตอร์จำพวกพกพาและคอมพิวเตอร์จำพวกตั้งโต๊ะ   ส่วนผู้อ่านการพิมพ์บนหน้ากระดาษก็อาจมิได้นึกถึงว่ากระดาษและตัวหนังสือที่ปรากฏต่อหน้าจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่ใช้เทคโนโลยีหลายอย่างด้วยกัน   ส่วนด้านโทษก็มีมาก…

อย่าให้ ‘เอไอ’ อยู่เหนือกติกาโลก

Loading

  เมื่อเราอยู่ในยุคที่ เอไอ เฟื่องฟู เราต้องคิดให้ทันว่า สิ่งที่เราเห็นทั่วไป เป็นข้อมูลจริงหรือเปล่า สุดท้ายความจริงแล้วคืออะไร เราอาจต้องเตือนใจไว้ทุกครั้งว่า อย่าเชื่อทุกสิ่งที่เห็นในทันที   “ปัญญาประดิษฐ์” หรือเอไอ กลายเป็นเทคโนโลยีเพียงหนึ่งเดียวในยุคนี้ที่ถูกพูดถึงมากที่สุด ทุกคนเชื่อว่า เอไอ จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงทุกสรรพสิ่งในโลก เสมือนดึงฉาก เอไอ ในหนังฮอลลีวู้ดเมื่อหลายปีที่แล้วออกมาสู่โลกแห่งความเป็นจริง   ความแพร่หลายของการใช้เอไอ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลายวงสนทนา เอ่ยอ้างถึง Generative AI ซึ่งเป็น เอไอ ที่ถูกออกแบบให้มีความสามารถ อัจฉริยะถึงขั้นสามารถ “สร้างสิ่งใหม่” จากชุดข้อมูลที่มีอยู่   ปฏิเสธไม่ได้ว่า การเติบโตของเอไอ มาพร้อมความท้าทาย หากมองว่า เอไอ คือ เทคโนโลยีหนึ่งที่มีทั้งด้านมืดและด้านสว่าง แน่นอนว่า วันนี้เราเริ่มเห็น “ความร้ายกาจ” ของเอไอในด้านมืดมากขึ้น โดยเฉพาะการสร้างคอนเทนต์ที่ไม่เหมาะสม การเพิ่มขึ้นของข่าวปลอม การใช้เอไอปลอมเป็นบุคคลแล้วนำไปสู่กระบวนการหลอกลวง สร้างผลเสียตามมาหาศาล   นั่นเป็นเพราะกติกาของโลกวิ่งไล่ตามการพัฒนาของเอไอไม่ทัน แต่ก็มีหลายองค์กร พยายามหาแนวทางการอยู่ร่วมกับเอไอ ได้แบบมีขอบเขต มีกติกา…

ฟิลิปปินส์อาสาวางกรอบกฎหมายกำกับดูแล AI ให้ภูมิภาคอาเซียน

Loading

ความสามารถอันล้นเหลือของปัญญาประดิษฐ์ ทำให้หลายภาคส่วนเกิดความกังวลเกี่ยวกับการใช้งาน AI ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านลิขสิทธิ์และจริยธรรม ทำให้ประเด็นการออกกฎเกณฑ์เพื่อกำกับดูแลและควบคุมการใช้งาน AI จึงถูกพูดถึงมากขึ้นเรื่อย ๆ

‘ทรู’ นำทัพ ‘รัฐ-เอกชน’ ถกประเด็นใหญ่ ‘AI’ จริยธรรม และ ‘การกำกับดูแล’

Loading

  ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI อาจเรียกได้ว่าเป็นเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก เป็นพลังสำคัญเพื่อการพัฒนาประเทศไทยให้เจริญเติบโต แก้ไขปัญหาสาธารณสุข ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดช่องว่างทางการศึกษา ฯลฯ ขณะเดียวกัน การพัฒนาของ AI อย่างไม่หยุดยั้งก็นำมาซึ่ง “ความท้าทายใหม่”   ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI อาจเรียกได้ว่าเป็นเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก เป็นพลังสำคัญเพื่อการพัฒนาประเทศไทยให้เจริญเติบโต แก้ไขปัญหาสาธารณสุข ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดช่องว่างทางการศึกษา ฯลฯ ขณะเดียวกัน การพัฒนาของ AI อย่างไม่หยุดยั้งก็นำมาซึ่ง “ความท้าทายใหม่” ไม่ว่าประเด็นด้านความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว ทักษะ และช่องว่างในขีดความสามารถทางการแข่งขัน   และเพื่อให้มั่นใจว่าการพัฒนา AI ที่เกิดขึ้นเป็นไปอย่างถูกต้อง ทรู คอร์ปอเรชั่น จึงได้จัดงานสัมมนา AI Gets Good โดยมีตัวแทนจากภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคธุรกิจ ร่วมอภิปรายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อ “ทำอย่างไรให้มั่นใจว่า AI จะสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมไทย?”     กำกับดูแล = อุปสรรคหรือส่งเสริม?…

ภาครัฐเร่งพัฒนาจริยธรรม เทคโนโลยี AI หลังเอกชนตื่นตัวลงทุนมากขึ้น

Loading

  ETDA ร่วมกับ สวทช. เผยความพร้อมองค์กรในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ AI สำหรับบริการดิจิทัล เตรียมวางหลักเกณฑ์ด้านธรรมาภิบาล   สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้จัดทำการศึกษาเกี่ยวกับความพร้อมขององค์กร เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI ในภาคธุรกิจหรืออุตสาหกรรม   การใช้ดัชนีการวัด 5 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านยุทธศาสตร์และความสามารถขององค์กร 2. ด้านข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐาน 3. ด้านบุคลากร 4. ด้านเทคโนโลยี 5. ด้านธรรมาภิบาล   ผลที่ได้จากการประเมินตามด้านต่าง ๆ จะนำไปสู่การแบ่งความพร้อมขององค์กรได้เป็น 4 ระดับ คือ ระดับ Unaware = ยังไม่มีความตระหนัก/ อยู่ในช่วงเริ่มต้นเรียนรู้ Aware = มีความตระหนักและเริ่มนำ…