สหรัฐอพยพนักการทูตบางส่วนออกจากเลบานอน หวั่นเป็นเป้าหมายอิหร่าน

Loading

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงเบรุต ประเทศเลบานอน เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. ว่าสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำกรุงเบรุตออกแถลงการณ์ เกี่ยวกับการอพยพเจ้าหน้าที่การทูตซึ่งไม่มีภาระงานสำคัญในเวลานี้ พร้อมทั้งสมาชิกในครอบครัว ให้เดินทางออกจากเลบานอน โดยให้เหตุผลเกี่ยวกับ “สถานการณ์ด้านความมั่นคงในตะวันออกกลางซึ่งคาดเดาไม่ได้”

“ศาลโลก” คือใคร ? ชี้ขาดได้แค่ไหน ทำไมถึงกลายเป็นความหวังของกัมพูชา !

Loading

จากกรณีข้อพิพาทระหว่างประเทศไทยและกัมพูชาได้จุดประเด็นเรื่องการครอบครองดินแดนอีกครั้ง โดยล่าสุดกัมพูชาได้ยื่นฟ้องต่อศาลโลกในปมพิพาทชายแดน 4 จุดสำคัญ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2568 ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นวันครบรอบของการตัดสินคดีปราสาทพระวิหาร ปี พ.ศ. 2505 ที่ในครั้งนั้นประเทศไทยได้แพ้คดีต่อกัมพูชา โดยมาจากคำตัดสินของศาลโลก และนำมาซึ่งผลของการที่ไทยต้องเสียปราสาทพระวิหารให้กับทางกัมพูชา

อินโด-แปซิฟิกกับงบกลาโหม ความจำเป็นหรือใต้แรงกดดัน?

Loading

เมื่อไม่นานมานี้ นายพีต เฮกเซธ รมว.กลาโหมสหรัฐ กล่าวถ้อยแถลงอย่างฮึกเหิม ระหว่างการประชุมด้านความมั่นคงระดับภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก “แชงกรี-ลา ไดอะล็อก” ที่สิงคโปร์ โดยเรียกร้องให้นานาประเทศในภูมิภาคแห่งนี้เพิ่มงบประมาณด้านการป้องกันประเทศ

กัมพูชาออกมาตรการตอบโต้ไทย ให้คนไทยเข้าประเทศได้ 7 วันจากเดิม 60 วัน

Loading

วันที่ 8 มิถุนายน 2568 พลโท โสก เวียสนา อธิบดีกรมตรวจคนเข้าเมืองของกัมพูชา ระบุว่า ตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายนเป็นต้นไป ชาวไทยทุกคนที่เดินทางเข้าสู่กัมพูชา จะได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศเพียง 7 วันเท่านั้น และเมื่อครบกำหนด จะต้องเดินทางออกและประทับตราหนังสือเดินทางใหม่ เพื่อเป็นการตอบสนองตามคำสั่งของผู้นำประเทศที่ต้องการให้มีมาตรการตอบโต้เท่าเทียมกัน

ล้วงกองทัพกัมพูชา มีเขี้ยวเล็บอะไร?

Loading

สถานการณ์ชายแดนไทยกัมพูชายังคงเป็นสถานการณ์ที่สร้างความกังวลให้กับคนไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะข่าวการเสริมกำลังทหารและอาวุธหนักจากฝ่ายกัมพูชาเข้ามาประชิดชายแดน และท่าที่ของการเจรจาที่ฝ่ายกองทัพไทยเปิดเผยว่าไม่ได้ผลเท่าที่ควร ซึ่งก็ต้องเป็นสิ่งที่ฝ่ายไทยต้องหาทางแก้ปัญหากันต่อไป เพราะเชื่อว่าที่สุดแล้ว สงครามไม่ควรเป็นคำตอบของทุกปัญหา

จับตาสหรัฐฯ มุ่งรัฐยะไข่ผ่านบังกลาเทศ จะขัดจีนหรือไม่

Loading

ในช่วงที่ผ่านมาสหรัฐฯ เริ่มส่งสัญญาณในเรื่องการสนับสนุนระเบียงมนุษยธรรมในรัฐยะไข่ โดยอาศัยรัฐบาลบังกลาเทศเป็นผู้ดำเนินการ แต่ก็ถูกตีความว่าอาจจะเป็นการพยายามเสริมอิทธิพลให้กองกำลังอาระกัน จนเป็นการกระตุ้นให้จีนเพิ่มการสนับสนุนรัฐบาลเผด็จการทหารในกรุงเนปิดอว์