เกิดอะไรขึ้นกับกลุ่มรัฐอิสลามในปี 2023

Loading

GETTY IMAGES บีบีซี มอนิเตอริง รวบรวมข้อมูลในรอบปี พบว่า กลุ่มที่เรียกตัวเองว่ารัฐอิสลาม (The Islamic State group – IS) ซึ่งครั้งหนึ่งเคยยึดครองดินแดนอันกว้างใหญ่จากทางตะวันออกเฉียงเหนือของซีเรียข้ามไปยังตอนเหนือของอิรัก แสดงให้เห็นสัญญาณว่าการโจมตีลดลงอย่างมีนัยสำคัญในปี 2023   ความเคลื่อนไหวไอเอสลดลงเกินกว่าครึ่งหากเปรียบเทียบกับปีก่อน และบรรดาผู้นำก็ได้รับความเสียหายออย่างหนัก   เครือข่ายในอียิปต์เงียบงัน โดยเข้าร่วมกับสาขาในลิเบียและเยเมน ขณะที่เครือข่ายในอัฟกานิสถานออกมากล่าวอ้างความรับผิดชอบต่อเหตุโจมตีเล็ก ๆ   เช่นเดียวกับ ปฏิบัติการในแอฟริกาที่ไอเอสออกมากล่าวอ้างว่าอยู่เบื้องหลังการโจมตีเพียงไม่กี่ครั้ง จะมีก็แต่สาขาที่ซาเฮลซึ่งแผ่ขยายอิทธิพลไปทางตะวันออกของมาลี อ้างว่ามีการโจมตีครั้งใหญ่ในไนเจอร์ และมุ่งเน้นกิจกรรมการโฆษณาชวนเชื่อ   ตัวเลขบอกอะไรเรา ในปี 2023 ไอเอสอ้างว่าก่อเหตุโจมตีทั่วโลก 838 ครั้ง (ระหว่าง 1 ม.ค.-30 พ.ย. 2023 ไม่รวมเดือน ธ.ค.) หากเทียบกับ 1,811 ครั้งในช่วงเดียวกันของปี 2022 โดยถือเป็นจำนวนที่ลดลงถึง 53%   การวิเคราะห์และค้นพบตัวเลขการโจมตีอิงจากคำกล่าวอ้าง ข้อความ และโฆษณาชวนเชื่ออย่างเป็นทางการของไอเอสและบรรดาผู้สนับสนุน ตัวเลขดัวกล่าวอาจเกินจริงหรือถูกมองข้ามไปในบางโอกาส…

สงครามใต้พิภพ (1) สงครามอุโมงค์จากอดีตสู่ปัจจุบัน

Loading

“สงครามอุโมงค์เอื้อให้กองทหารที่เผชิญหน้ากับข้าศึกที่มีความเหนือกว่าทางเทคโนโลยีนั้น มีหนทางที่มีประสิทธิภาพในการตอบโต้กับการใช้กำลังทางอากาศที่เหนือกว่า” The Jerusalem Center for Public Affairs (2014)   เรื่องของอุโมงค์ในฉนวนกาซาไม่ใช่เรื่องใหม่อย่างแน่นอน หากแต่เดิมนั้นอุโมงค์ไม่ได้ทำหน้าที่ในทางทหาร หากเป็นอุโมงค์ถูกจัดทำเพื่อใช้ในการลักลอบนำสิ่งของต่างๆ ผ่านการปิดพรมแดนของรัฐบาลอียิปต์ที่ด่านราฟาห์ (Rafah) การลักลอบเช่นนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 1980 แล้ว และยิ่งเมื่อเกิดการปิดล้อมทางเศรษฐกิจที่เกิดจากทั้งทางอียิปต์และอิสราเอลในปี 2007 อุโมงค์เช่นนี้ก็ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นกับชีวิตที่ดำเนินไปในกาซา   กล่าวคือ อุโมงค์กลายเป็นเส้นทางของการลำเลียงสิ่งของต่าง ๆ เข้าสู่พื้นที่ของกาซ่า และโดยนัยคืออุโมงค์เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการตอบโต้กับการปิดล้อมทางเศรษฐกิจ   พร้อมกันนี้อุโมงค์ดังกล่าวก็มีพัฒนาการมากขึ้น ทั้งในเรื่องของขนาด ความซับซ้อน และความแข็งแรง จนในเวลาต่อมา อุโมงค์เริ่มถูกใช้ในอีกภารกิจหนึ่งคือ อุโมงค์ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางทหาร จนทำให้นักการทหารในโลกปัจจุบันต้องหันกลับมาพิจารณาเรื่องราวเก่าแก่ในวิชาประวัติศาสตร์สงคราม คือ สงครามอุโมงค์ (Tunnel Warfare) ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของ “สงครามใต้พิภพ” (Subterranean Warfare) เพราะเป็นสงครามที่ทำในระดับใต้พื้นผิวของโลก (Underground Warfare) [คำว่า “subterranean” เป็นคำคุณศัพท์ที่ใช้อธิบายถึง สิ่งที่อยู่ใต้พื้นผิวที่เรามองไม่เห็น]   คำอธิบายที่น่าสนใจของตัวประกันหญิงอาวุโสชาวอิสราเอลชื่อ Yocheved Lifshitz…

นานาชาติผนึกกำลังคุ้มครองเรือในทะเลแดงจาก “กบฏฮูตี”

Loading

การโจมตีเรือขนส่งสินค้าของกลุ่มกบฏฮูตีในทะเลแดง ซึ่งเป็นเส้นทางเดินเรือสำคัญไปยังทวีปต่าง ๆ ตอนนี้ บริษัทขนส่งและบริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่ง ตัดสินใจระงับการเดินเรือผ่านน่านน้ำทะเลแดงเป็นการชั่วคราว ล่าสุดมีรายงานว่า เรือพาณิชย์บางลำที่จำเป็นต้องเดินเรือผ่านทะเลแดง ต้องใช้การ์ดประจำเรือเพื่อรักษาความปลอดภัย

‘พรรณนภา จันทรารมย์’ ทูตไทยในอิสราเอลตอบทุกประเด็น ภารกิจพาตัวประกันไทยกลับบ้าน

Loading

พรรณนภา จันทรารมย์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล   ‘พรรณนภา จันทรารมย์’ ทูตไทยในอิสราเอลตอบทุกประเด็น ภารกิจพาตัวประกันไทยกลับบ้าน   ๐ อยากให้เล่าถึงสถานการณ์ในวันเกิดเหตุจับตัวประกันว่าเป็นอย่างไร กว่าที่เราจะได้ทราบว่ามีคนไทยที่ได้เสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บ และถูกจับเป็นตัวประกัน สถานทูตทราบเรื่องการจับตัวประกันคนไทยจากภาพที่ปรากฏในสื่อต่าง ๆ และจากการที่เพื่อน ๆ แรงงานแจ้งว่าเพื่อนของพวกเขาถูกจับตัวไป และจากการที่ครอบครัวแรงงานไทยหลายคนไม่สามารถติดต่อแรงงานไทยได้ก็ได้แจ้งชื่อมายังสถานทูค ทางสถานทูตจึงได้จัดทำรายชื่อคนที่คาดว่าถูกจับเป็นตัวประกัน และรายชื่อคนสูญหายเบื้องต้นและประสานแจ้งทางการอิสราเอลให้ช่วยสืบหา ซึ่งใช้เวลาเกือบ 2 สัปดาห์กว่าที่สถานทูตจะได้รับรายชื่อบุคคลรายแรกที่คาดว่าถูกจับเป็นตัวประกันจากทางการอิสราเอล และได้มีการทยอยแจ้งเป็นระลอก ๆ   ในส่วนคนไทยที่ได้รับบาดเจ็บ สถานทูตได้รับแจ้งจากนายจ้างเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งในช่วงต้นที่สถานทูตกำลังมีภารกิจอพยพคนไทย ก็ได้มอบหมายให้ฝ่ายแรงงานของสถานทูตไปเยี่ยมและติดตามสิทธิประโยชน์จากทางการอิสราเอล   ขณะที่ในส่วนของผู้เสียชีวิตคนไทยเป็นการแจ้งจากองค์กรตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ (Interpol) มายังสถานทูต ซึ่งระยะเวลาการได้รับแจ้งอย่างเป็นทางการมีความแตกต่างกัน ทั้งจากการที่มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก และจากการที่สภาพศพต้องรอ DNA จากญาติของบุคคลที่คาดว่าจะเสียชีวิตมาตรวจสอบก่อนที่จะยืนยันอย่างเป็นทางการ   ๐ ระหว่างนั้นนอกจากตัวประกันที่ถูกจับไปแล้ว ยังมีภารกิจในการอพยพแรงงานไทยกลับบ้านด้วย การทำงานภายใต้ข้อจำกัดมากมายและภาวะสงครามเป็นอย่างไร ภารกิจอพยพในช่วงต้นมีปัญหาเรื่องการเดินทาง อุปสรรคใหญ่ที่เกิดขึ้นจากการที่แรงงานยังไม่สามารถออกจากพื้นที่สีแดงได้ เนื่องจากมีจรวดโจมตีเป็นระลอก ส่งผลให้การเข้าพื้นที่เพื่อช่วยเหลือแรงงานไทยจะต้องประสานผ่านกองทัพอิสราเอลเพื่อขออนุญาตเข้าพื้นที่ และเพื่อให้มีการคุ้มกันเพื่อความปลอดภัย อุปสรรคต่อมาคือสถานทูตจำเป็นต้องหาบริษัทเพื่อเช่ารถรับ-ส่งแรงงาน…

มีกลุ่มติดอาวุธกี่กลุ่มในกาซา และพวกเขาเป็นใคร

Loading

มุสซา อาบู มาร์ซุก ผู้นำอาวุโสกลุ่มฮามาส บอกกับบีบีซีในการให้สัมภาษณ์ครั้งล่าสุดว่า กลุ่มฮามาสไม่ได้ควบคุมตัวตัวประกันทั้งหมดในฉนวนกาซาเอาไว้ เขาบอกว่า ตัวประกันบางคนถูกจับโดยกลุ่มติดอาวุธอื่น ๆ ที่เข้าร่วมการโจมตีอิสราเอลเมื่อวันที่ 7 ต.ค. ที่ผ่านมา

กดดันฮามาส! อิสราเอล แจ้งสหรัฐฯ เริ่มสูบน้ำทะเลเข้าท่วมอุโมงค์ที่ไม่มีตัวประกัน

Loading

 ซีเอ็นเอ็น รายงานอ้างเจ้าหน้าที่ระดับสูงคนหนึ่งของสหรัฐฯว่า อิสราเอลได้แจ้งให้สหรัฐฯทราบว่า อิสราเอลเริ่มทดลองใช้วิธีสูบน้ำทะเลไหลเข้าท่วมอุโมงค์ในเขตฉนวนกาซา หวังกดดันฮามาสให้โผล่ขึ้นมาบนพื้นดิน เป็นหนึ่งในยุทธวิธีที่ใช้เพื่อทลายแหล่งกบดานของกลุ่มฮามาส