กองทัพเมียนมาแก้ประมวลกฎหมายอาญาความมั่นคง

Loading

การปลุกระดมให้เกิดการล้มล้างรัฐบาลและรัฐธรรมนูญ “ถือเป็นกบฏ” เนื่องจากเป็นลักษณะความผิดที่ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสังคม ขณะเดียวกัน รัฐบาลทหารเมียนมายังกำหนดลักษณะความผิดอาญาด้านความมั่นคงอีกหลายรูปแบบ     สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 16 ก.พ.ว่าคณะมนตรีการปกครองแห่งรัฐเผยแพร่แถลงการณ์เมื่อวันจันทร์ เกี่ยวกับการแก้ไขบางมาตราของประมวลกฎหมายอาญา และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ว่าด้วย “พฤติการณ์เข้าข่ายก่อสงครามต่อสหภาพเมียนมา” ซึ่งเกี่ยวกับความมั่นคงภายในประเทศ ให้ครอบคลุมถึงการปลุกระดม การสนับสนุนหรือสมคบคิดกับกลุ่มบุคคลใด โดยมีเป้าประสงค์เพื่อล้มล้างรัฐบาลและอำนาจตามรัฐธรรมนูญ “ถือเป็นความผิดร้ายแรง ฐานเป็นกบฏต่อแผ่นดิน” Anti-coup protesters rally outside National League for Democracy party (#NLD) offices in #Yangon#Myanmar pic.twitter.com/Eba1b11VJ4 — Ruptly (@Ruptly) February 15, 2021 Protesters in Myanmar continued to demand for the release of ousted civilian leader…

ที่มาของการเรียกชื่อประเทศ “Burma” และ “Myanmar” บนเวทีโลก

Loading

  เป็นที่ทราบกันว่าเมียนมาคือประเทศพม่าที่คนไทยเรียกขานกัน สองชื่อนี้ที่เป็นภาษาอังกฤษ คือ Burma และ Myanmar ถูกเลือกใช้เเตกต่างกันในประเทศต่างๆ และในเมียนมาเอง สหประชาชาติและ หลายประเทศ เช่น ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และไทย ใช้คำเรียกประเทศเพื่อนบ้านของไทยนี้ว่า Myanmar แต่สหรัฐฯ มีนโยบายให้ใช้คำเรียกเมียนมาว่า Burma แต่หากต้องเป็นงานที่ต้องเเสดงมารยาททางการทูตในกรณีพิเศษสหรัฐฯจะใช้คำว่า Myanmar แทน ตามคำอธิบายของโฆษกทำเนียบขาว เจน ซากี เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทั้งนี้คำเรียกทั้งสองชื่อมีที่มาทางประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์ เมื่อปี ค.ศ.1989 หลังจากที่รัฐบาลทหารพม่าปราบปรามผู้เรียกร้องประชาธิปไตยและสังหารคนหลายพันคน กองทัพผู้ปกครองประเทศเปลี่ยนชื่อพม่าจาก Burma เป็น Myanmar ผู้นำทหารยังเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงจาก Rangoon เป็น Yangon กองทัพให้เหตุผลว่า ชื่อเดิม Burma เป็นการสะท้อนถึงกลุ่มชาติพันธุ์ชาว Burman ของประเทศแต่มองข้ามความสำคัญของชนกลุ่มน้อยอื่นในประเทศที่มีอยู่ 134 กลุ่ม นอกจากนี้ชื่อ Burma ยังเป็นคำเรียกเมื่อครั้งที่ประเทศอยู่ใต้อำนาจจักรวรรดินิยมอังกฤษ     ในส่วนของคนในประเทศเอง นางออง ซาน…

กองทัพเมียนมาบล็อก’เฟซบุ๊ก’ ด้วยเหตุผล’ความมั่นคง’

Loading

  “เพื่อรักษาเสถียรภาพด้านความมั่นคงภายใน” รัฐบาลทหารเมียนมาสั่งปิดกั้นการเข้าถึงเฟซบุ๊ก และบริการในเครือทั้งหมด จนถึงวันอาทิตย์นี้ สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากรุงเนปิดอว์ ประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 4 ก.พ.ว่ากระทรวงการสื่อสารของเมียนมาออกแถลงการณ์ เมื่อคืนวันพุธที่ผ่านมา ว่าบริการเฟซบุ๊กในประเทศจะไม่สามารถใช้งานได้ จนถึงวันที่ 7 ก.พ.นี้ “ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคง” เนื่องจากตรวจสอบพบว่า “บุคคลบางกลุ่ม” กำลังบ่อนทำลายเสถียรภาพด้านความมั่นคงภายในเมียนมา ด้วยการเผยแพร่ข่าวเท็จ และข้อมูลอันบิดเบือน ขณะที่ เน็ตบล็อกส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์กรอิสระสังเกตการณ์ด้านการใช้อินเทอร์เน็ต ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เอ็มพีที ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจด้านการสื่อสารโทรคมนาคมของเมียนมา ไม่ได้เพียงปิดกั้้นการเข้าถึงเฟซบุ๊ก แต่ยังรวมถึงอินสตาแกรม เมสเซนเจอร์ เซอร์วิส และวอตต์สแอปป์ ซึ่งเป็นบริการในเครือของเฟซบุ๊กด้วย The move comes amid growing expressions of outrage over the coup by Myanmar citizens, who have turned to social media to express…

‘เมียนมา’ กว่าล้าน โหลดแอพ ‘Bridgefy’ เลี่ยงกองทัพตัดสัญญาณเน็ต

Loading

  “เมียนมา” กว่าล้านคน โหลดแอพพลิเคชั่น “Bridgefy” ใช้สื่อสารหลังกองทัพเมียนมาทำรัฐประหาร เลี่ยงตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ตอีกในอนาคต ชาวเมียนมากว่าล้านคนโหลดแอพพลิเคชั่น “Bridgefy” (บริดจ์ไฟ) เป็นธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีฐานอยู่ในเม็กซิโก ซึ่งได้ขึ้นชื่อว่า แอพฉุกเฉินยอดนิยม ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถสื่อสารกับเพื่อนและครอบครัว ในกรณีที่ไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ โดยใช้ระบบ “Bluetooth Mesh System” ในการค้นหาคนที่เล่นบริดจ์ไฟ เหมือนกันในรัศมี 100 เมตร และเชื่อมต่อกันในห้องแชตสาธารณะ โดยไม่ต้องพึ่งอินเทอร์เน็ต หรือสัญญาณโทรศัพท์มือถือ เช่น กรณีเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ และในเหตุการณ์ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยที่ฮ่องกง เมื่อปีที่แล้ว ในเหตุการณ์กองทัพเมียนมาทำรัฐประหารเมื่อช่วงเช้าของวันจันทร์ (1 ก.พ.) ที่มีการตัดสัญญาณโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ตในกรุงเนปิดอว์, ย่างกุ้ง และพื้นที่บางส่วนของประเทศ ฮอร์เก ริออส ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ของบริดจ์ไฟ เปิดเผยว่า ในระหว่างเย็นวันจันทร์ถึงวันอังคารที่ผ่านมา มีผู้ดาวน์โหลดมากกว่า 1.1 ล้านคนในเมียนมา จากจำนวนผู้ใช้โซเชียลมีเดีย ราว 22 ล้านคน บริดจ์ไฟทวีตข้อความว่า หวังว่าประชาชนในเมียนมาจะพบว่า แอพของเรามีประโยชน์ในช่วงเวลาอันยากลำบาก แม้ว่า ขณะนี้การสื่อสารจะกลับมาใช้ได้ตามปกติตั้งแต่เย็นวันจันทร์…

ฝั่งเมียนมาตรึงเครียด! ทหารพม่าปิดด่าน ห้ามคนผ่าน ตัดการสื่อสาร

Loading

                            วันที่ 1 ก.พ.64 จากกรณีทหารประเทศเมียนมาได้เข้าควบคุมตัวผู้นำระดับสูงในรัฐบาลนำโดยนางอองซาน ซูจี และคณะ พบว่าสถานการณ์ตามแนวชายแดนไทย-เมียนมา ด้าน จ.เชียงราย ก็เริ่มมีความตึงเครียดเช่นกัน โดยทางหน่วยทหารที่ประจำอยู่ใน จ.ท่าขี้เหล็ก จำนวน 3 หน่วยได้ถูกสั่งการให้เตรียมความพร้อมเพื่อให้สามารถออกปฏิบัติการตามคำสั่งได้ตลอดเวลา แต่เบื้องต้นมีรายงานว่าได้มีการส่งกองกำลังบางส่วนไปประจำอยู่ตามด่านตรวจสำคัญต่างๆ ที่เชื่อมระหว่างเมือง เช่น ด่านหมากยาง บนถนนอาร์สามบีเชื่อมระหว่างท่าขี้เหล็กกับเมืองเชียงตุง และห้ามไม่ให้ประชาชนทั่วไปเดินทางผ่านด่านดังกล่าวแล้ว ยกเว้นของเจ้าหน้าที่ทหารโดยปฏิบัติการดังกล่าวมีตั้งแต่เช้ามืดที่ผ่านมาก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ควบคุมตัวคณะรัฐบาลรักษาการของเมียนมาแล้ว ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นระบุว่าการยึดอำนาจของหหารเมียนมาดังกล่าวจะใช้ระยะเวลาเพียง 1 ปีก่อนพิจารณาดำเนินการในอนาคตต่อไป                            นอกจากนี้ยังมีการตัดการสื่อสารระหว่างหน่วยงานต่างๆ กับรักษาการรัฐบาลพลเรือนและรัฐบาลท้องถิ่นที่เมืองตองจีเมืองหลวงของรัฐฉาน ไม่ว่าจะเป็นทางโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ตภายใน…