อิสราเอลโจมตีทางอากาศ สังหารเหล่าแกนนำกลุ่มฮามาส

Loading

  เมื่อวันพุธ กลุ่มฮามาสและทางการอิสราเอลระบุว่า ผู้บังคับบัญชาของกลุ่มฮามาสหลายนายถูกสังหารจากการโจมตีทางอากาศของอิสราเอลในฉนวนกาซา ระหว่างที่การปะทะระหว่างสองฝ่ายทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น กลุ่มฮามาสระบุในแถลงการณ์ว่า บาสเซม อิสซา หัวหน้าปฏิบัติการทางทหารของกลุ่มฮามาสในเมืองกาซา และเจ้าหน้าที่ทางทหารอาวุโสของกลุ่มหลายคน ถูกสังหารระหว่างการโจมตีดังกล่าว ทางด้านหน่วยงานความมั่นคงภายในของอิสราเอลก็ยืนยันเช่นกันว่า อิสซาและผู้บังคับบัญชาระดับสูงคนอื่น ๆ ของกลุ่มฮามาส รวมทั้งหัวหน้าวิศวกรและหัวหน้าด้านสงครามไซเบอร์และการพัฒนาจรวด ถูกสังหารจากการโจมตีครั้งนี้ บุคคลระดับสูงของกลุ่มฮามาสถูกสังหารหลังอิสราเอลโจมตีกาซาทางอากาศเมื่อเช้าวันพุธ โดยพุ่งเป้าไปที่ที่ทำการของตำรวจและหน่วยงานความมั่นคง การโจมตีดังกล่าวยังสร้างความเสียหายอย่างหนักต่ออาคารที่พักอาศัยและที่ทำการหลังหนึ่ง แม้จะไม่มีผู้อยู่ในอาคารระหว่างการโจมตีก็ตาม ทั้งนี้ การปะทะระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ในฉนวนกาซาและนครเยรูซาเล็มทวีความรุนแรงขึ้นนับตั้งแต่วันจันทร์ กระทรวงสาธารณสุขของกาซาระบุว่า การโจมตีทางอากาศทำให้ชาวปาเลสไตน์เสียชีวิตอย่างน้อย 48 คน รวมถึงเด็ก 13 คน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บเกือบ 300 คน โดยกองทัพอิสราเอลระุบว่า การโจมตีทางอากาศนี้พุ่งเป้าไปที่ฐานยิงจรวดของกลุ่มติดอาวุธ สำนักงานข่าวกรองและที่พักของบรรดาแกนนำกลุ่มฮามาส   ความตึงเครียดทวีคูณขึ้น ทางสาธารณสุขระบุว่าชาวอิสราเอลหกคนถูกสังหารจากการโจมตีด้วยจรวดของกลุ่มฮามาสเมื่อวันอังคารและเช้าวันพุธ รวมถึงชาวอิสราเอลสองคนในเมืองอัชเคลอน โดยกลุ่มฮามาสยิงจรวดหลายลำไปยังเมืองเทลอาวีฟและบริเวณชานเมืองมาตั้งแต่วันจันทร์ รวมถึงยิงขีปนาวุธ 130 ลูกเมื่อคืนวันอังคารเพื่อเป็นการตอบโต้ การโจมตีตอบโต้ครั้งนี้เป็นการต่อสู้ระหว่างกลุ่มฮามาสของปาเลสไตน์และกองกำลังของอิสราเอลครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สงครามในกาซาเมื่อปีค.ศ. 2014 การโจมตีครั้งนี้มีชนวนเหตุมาจากการจลาจลในนครเยรูซาเล็ม และการที่ชาวยิวพยายามเข้าครอบครองพื้นที่ในชุมชนของชาวอาหรับ ความตึงเครียดนี้ขยายตัวเข้าไปยังเขตเวสต์แบงค์ ชาวอาหรับหลายร้อยคนประท้วงข้ามคืนติดต่อกันเพื่อต่อต้านการใช้กำลังของกองกำลังความมั่นคงอิสราเอลต่อชาวปาเลสไตน์ เช่น เมื่อวันอังคาร มีชายชาวปาเลสไตน์วัย 26 ปี…

เจาะสาเหตุศึกชิงเยรูซาเล็ม ปะทะเดือดอิสราเอล-ปาเลสไตน์

Loading

  อธิบายถึงสาเหตุการประท้วงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ทางตะวันออกของกรุงเยรูซาเล็ม มันเกิดจากอะไร และรุนแรงขนาดไหน? ในช่วงเดือนรอมฎอนชาวปาเลสไตน์ต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจอิสราเอลบนพื้นที่ทางตะวันออกของกรุงเยรูซาเล็มทุกคืน โดยประเด็นและขนาดของการประท้วงก็แตกต่างกันออกไป ซึ่งครอบคลุมทั้งศาสนา ที่ดิน และการเมือง ประเด็นเหล่านี้ทั้งหมดคือความขัดแย้งหลักระหว่างชาวอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์ โดยรอยเตอร์สได้อธิบายความขัดแย้งไว้ดังนี้   การประท้วงเริ่มขึ้นเมื่อใด? ตั้งแต่ต้นเดือนรอมฎอนในช่วงกลางเดือนเมษายนชาวปาเลสไตน์ได้ปะทะกับตำรวจอิสราเอลทุกคืน โดยชาวปาเลสไตน์กล่าวหาว่าตำรวจอิสราเอลนำแผงกั้นมากีดขวางไม่ให้พวกเขารวมตัวกันบริเวณประตูดามัสกัสเพื่อพักการถือศีลอดในตอนกลางวัน ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่าทำไปเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของผู้คนในการสัญจรในย่านเมืองเก่า วันหนึ่งกลุ่มชาวยิวชาตินิยมเดินขบวนในนครเมืองเก่าของเยรูซาเล็มพร้อมตะโกนว่า “ชาวอาหรับต้องตาย” ส่งผลให้ชาวปาเลสไตน์จำนวนมากไม่พอใจจึงเกิดการปะทะกัน ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องเข้าสลายดวยระเบิด แก๊สน้ำตา รวมถึงฉีดน้ำแรงดันสูง ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและผู้ถูกจับกุมจำนวนมาก     ทำไมความรุนแรงถึงปะทุขึ้นอีกครั้ง? การพิจารณาคดีในศาลฎีกาของอิสราเอลมีกำหนดในวันที่ 10 พฤษภาคมในคดีทางกฎหมายที่ดำเนินมายาวนานเกี่ยวกับว่าครอบครัวชาวปาเลสไตน์หลายครอบครัวจะถูกขับไล่หรือไม่ ขณะที่บ้านของพวกเขาตั้งอยู่ใน ชีค จาร์ราห์ (Sheikh Jarrah) ซึ่งเป็นย่านใกล้ประตูดามัสกัส เมื่อใกล้การไต่สวนของศาลชาวปาเลสไตน์และอิสราเอลฝ่ายซ้ายเริ่มจัดการประท้วงครั้งใหญ่ขึ้นโดยกล่าวว่าการขับไล่อาจทำให้เกิดผลกระทบเป็นโดมิโนไปทั่วพื้นที่ใกล้เคียงของชาวปาเลสไตน์ นอกจากนี้ชีค จาร์ราห์ ยังมีสถานที่สำคัญซึ่งเป็นที่เคารพนับถือนับถือของชาวยิวจึงนำไปสู่ความตึงเครียดบ่อยครั้งระหว่างชาวปาเลสไตน์ที่อาศัยอยู่ที่นั่นและชาวยิวที่เคร่งศาสนาเมื่อพวกเขาไปเยี่ยมที่นั่น     ทำไมจึงเป็นประเด็นอ่อนไหว? เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเมือง ประวัติศาสตร์ และศาสนา โดยใจกลางเมืองเก่าของเยรูซาเล็มเป็นเนินเขาที่รู้จักกันในชื่อว่าเนินพระวิหาร (Temple Mount) ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อายุกว่าพันปีของทั้งสามศาสนาคือ ศาสนายูดาห์, ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ชาวอิสราเอลมองว่าเยรูซาเล็มทั้งหมดเป็นเมืองหลวงที่คงอยู่ชั่วนิรันดร์และแบ่งแยกไม่ได้ ในขณะที่ชาวปาเลสไตน์ต้องการพื้นที่ทางตะวันออกเป็นเมืองหลวงของรัฐในอนาคต ขณะที่การผนวกเยรูซาเล็มตะวันออกของอิสราเอลไม่ได้รับการยอมรับในระดับสากล…

ตำรวจอิสราเอลปะทะม็อบปาเลสไตน์ที่มัสยิดอัล-อักซอ

Loading

  มัสยิดอัล-อักซอ ที่นครเยรูซาเลม กลายเป็นพื้นที่ปะทะกันอย่างดุเดือดในเดือนรอมฎอน ระหว่างตำรวจอิสราเอลกับชาวปาเลสไตน์ สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล เมื่อวันที่ 8 พ.ค.ว่ากระทรวงมหาดไทยของอิสราเอลรายงานการเกิดความวุ่นวาย บริเวณมัสยิดอัล-อักซอ ในเขตเมืองเก่าทางตะวันออกของนครเยรูซาเลม เมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยตำรวจปราบจลาจลของอิสราเอลใช้กระสุนยางและระเบิดควัน ร่วมด้วยการฉีดน้ำแรงดันสูง ควบคุมสถานการณ์ในพื้นที่ ซึ่งมีชาวปาเลสไตน์จำนวนมากรวมตัวขว้างปาสิ่งของใส่เจ้าหน้าที่   Israeli police fired at Palestinian protesters at Al-Aqsa Mosque. More than 170 people were injured. Protesters were showing support for Palestinian families facing eviction in occupied East Jerusalem. The UN has called Israel's forced evictions a potential…

อิหร่านฟันธงอิสราเอลก่อวินาศกรรมโจมตี รง.นิวเคลียร์ของตน ประกาศจะตอบโต้ ‘ผู้ก่อเหตุ’ แต่ยังคงลุยเจรจาให้มะกันยกเลิกแซงก์ชัน

Loading

  อิหร่านฟันธง อิสราเอล ศัตรูตัวฉกาจของตน คือ ผู้ก่อวินาศกรรมเล่นงานโรงงานนิวเคลียร์ในเมืองนาตันซ์ เนื่องจากไม่พอใจที่ความพยายามเพื่อให้อเมริกายกเลิกมาตรการแซงก์ชันกำลังมีความคืบหน้า ลั่นจะตอบโต้เอาคืน และขณะเดียวกัน จะไม่ยอมให้เหตุการณ์นี้บ่อนทำลายกระบวนการเจรจาเพื่อรื้อฟื้นข้อตกลงนิวเคลียร์   อิหร่านระบุว่า บุคคลซึ่งเป็นผู้ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าดับในโรงผลิตโรงหนึ่งที่สถานเพิ่มสมรรถนะยูเรเนียมใต้ดินของตนในเมืองนาตันซ์ ได้ถูกระบุตัวออกมาอย่างชัดเจนแล้ว และ “กำลังมีการดำเนินมาตรการต่างๆ ที่จำป็นเพื่อจับกุมบุคคลผู้นี้” สื่อภาครัฐของอิหร่านรายงาน โดยไม่ให้รายละเอียดมากกว่านี้ ขณะที่องค์การพลังงานปรมาณูอิหร่าน (ไอเออีโอ) แถลงว่า เกิด “การระเบิดขนาดเล็ก” ขึ้นมาครั้งหนึ่ง ซึ่งเล่นงานศูนย์จ่ายไฟฟ้าของโรงงานที่นาตันซ์ พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของอิหร่านหลายรายกล่าวเมื่อวันจันทร์ (12 เม.ย.) ถึงเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ (11) คราวนี้ว่า เป็น “การก่อการร้ายทางนิวเคลียร์” และบอกด้วยว่า เตหะรานสงวนสิทธิที่จะปฏิบัติการเล่นงานพวกผู้ก่อเหตุ เป็นต้นว่า สถานีทีวีของรัฐบาลอิหร่านรายงานโดยอ้างคำพูดของ โมฮัมหมัด จาวัด ซารีฟ รัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่าน ระบุว่า “ขบวนการไซออนนิสต์” ซึ่งหมายถึงพวกยิวที่ต้องการฟื้นชาติอิสราเอล ต้องการแก้แค้นการที่อิหร่านดำเนินการอย่างมีความคืบหน้า ในการพยายามให้สหรัฐฯยกเลิกมาตรการแซงก์ชัน โดยก่อนหน้านี้อิสราเอลเคยประกาศขัดขวางอย่างโจ่งแจ้ง พร้อมกันนั้นซารีฟสำทับด้วยว่า เตหะรานมีสิทธิ์ตอบโต้ผู้โจมตี อย่างไรก็ดี เขาย้ำว่า เตหะรานจะไม่ปล่อยให้เหตุการณ์นี้ส่งผลต่อการเจรจาเพื่อฟื้นข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านปี 2015 หรือผ่อนคลายจุดยืนของฝ่ายตนในการเจรจานี้…

อิหร่านจับกุมทีมสายลับทำงานให้อิสราเอล

Loading

    เจ้าหน้าที่อิหร่านจับกุมประชาชนหลายคน ในข้อหาเป็นสายลับให้อิสราเอล ประเทศศัตรูคู่ปรปักษ์หมายเลข 1 และอีกหลายประเทศ จากการประกาศผ่านทางสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ เมื่อวันจันทร์ สำนักข่าวเอพีรายงานจากกรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน เมื่อวันที่ 5 เม.ย. ว่า เจ้าหน้าที่กระทรวงข่าวกรองอิหร่าน ในจังหวัดอาเซอร์ไบจานตะวันออก เผยว่า เจ้าหน้าที่ความมั่นคงอิหร่าน จับกุมประชาชนหลายคน ที่ต้องสงสัยกระทำจารกรรมให้อิสราเอล และอีกหลายประเทศที่ไม่ระบุชื่อ อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ไม่เปิดเผยรายละเอียด สัญชาติของกลุ่มผู้ต้องสงสัย รวมทั้งหลักฐานสนับสนุนข้อกล่าวหาเป็นสายลับ อิหร่านไม่ให้การยอมรับรัฐอิสราเอล และยังให้การสนับสนุน กลุ่มติดอาวุธต่อต้านอิสราเอลหลายกลุ่ม ทั่วภูมิภาคตะวันออกกลาง เช่น กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ ของชาวนิกายชีอะห์ในเลบานอน และกลุ่มฮามาสของชาวปาเลสไตน์ ที่ควบคุมเขตฉนวนกาซา     ทางการอิหร่านประกาศการจับกุมเป็นระยะ กลุ่มผู้ต้องสงสัยเป็นสายลับให้ต่างชาติ รวมถึงอิสราเอลและสหรัฐ แต่แทบไม่มีการรายงานเพิ่มเติม เกี่ยวกับชะตากรรมของผู้ถูกจับกุมหลังจากนั้น ปีที่แล้วอิหร่านประหารชีวิตชายคนหนึ่ง ที่ถูกศาลอิหร่านตัดสินว่ามีความผิด ฐานรั่วไหลข้อมูลให้สหรัฐและอิสราเอล เกี่ยวกับ พล.ต.กัสเซม โซไลมานี ผู้บัญชาการหน่วยรบพิเศษ ในสังกัดกองกำลังพิทักษ์ปฏิวัติอิสลาม ซึ่งต่อมา พล.ต.โซไลมานีถูกซีไอเอสหรัฐ ใช้โดรนติดจรวดยิงถล่มขบวนรถยนต์เสียชีวิต ขณะออกจากสนามบินกรุงแบกแดด เมืองหลวงอิรัก…

อิสราเอลเตรียมระบบ AI จัดจราจร “โดรน” บนท้องฟ้า

Loading

  อีกไม่นาน หากมองขึ้นไปท้องฟ้าในหลายประเทศจะเต็มไปด้วยโดรน หรืออากาศยานไร้คนขับ หนึ่งในนั้นคือประเทศอิสราเอล ที่ขณะนี้เตรียมพร้อมระบบการจัดการจราจรทางอากาศให้กับโดรน ผ่านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ (Artificial Intelligence : AI) เพื่อไม่ให้บินชนกันกลางอากาศ ระบบการจัดการจราจรทางอากาศผ่านเอไอนี้ เจ้าหน้าที่ของอิสราเอลได้จัดการสาธิต โดยแต่ละบริษัทควบคุมโดรนของตนเองจากห้องควบคุมที่อยู่ห่างออกไปราว 50 กิโลเมตร โดรนแต่ละลำบินพร้อมกันแบบรักษาระยะห่างระหว่างกันไม่กี่เมตร แต่ละลำมีภารกิจต่างกัน อย่างเช่น การยกสิ่งของ ถ่ายคลิปวิดีโอ และจัดส่งสินค้าไปยังสถานีกระจายสินค้า คาดว่าจะมีการใช้งานได้จริงในปี 2023       ปฏิบัติการนี้ เริ่มจากต้นปี 2020 ที่อิสราเอลได้จัดตั้งคณะกรรมการอำนวยการของรัฐบาลเพื่อส่งเสริมเครือข่ายการทำงานของโดรนระดับชาติ ภายใต้ชื่อ “เอ็นเอเอเอ็มเอ อินนิชิเอทีฟ” (NAAMA Initiative) โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การนวัตกรรม สำนักนายกรัฐมนตรีอิสราเอล องค์การการบินพลเรือน กระทรวงคมนาคม บริษัทภาคเอกชน หลังจากที่ไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีบริษัทในอิสราเอลหลายแห่ง และมือสมัครเล่น เริ่มใช้งานโดรนกันมากขึ้น ทั้งเพื่อการถ่ายภาพ การตรวจสอบพืชผล และการตรวจดูอสังหาริมทรัพย์ โดยนับจากนี้จะเห็นการใช้โดรนในภารกิจต่างๆ เช่น ส่งอาหาร ยารักษาโรค…