รัสเซียสั่งปรับทวิตเตอร์ 117,000 ดอลลาร์ ฐานไม่ยอมลบโพสต์เชิญชวนประชาชนเดินประท้วง

Loading

  รัสเซียสั่งปรับทวิตเตอร์ 117,000 ดอลลาร์ ฐานไม่ยอมลบโพสต์เชิญชวนประชาชนเดินประท้วงศาลรัสเซียพิพากษาสั่งปรับบริษัทผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ ทวิตเตอร์ เป็นเงิน 8.9 ล้านรูเบิล หรือ ประมาณ 117,000 ดอลลาร์ จากการที่บริษัทแห่งนี้ปฏิเสธที่จะลบเนื้อหาที่เชิญชวนให้เยาวชนในประเทศออกมาร่วมการประท้วงที่ไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐ สำนักข่าว The Associated Press รายงานว่า คำสั่งปรับของศาลครั้งนี้ เป็นไปตามการไต่สวนที่สรุปว่า ทวิตเตอร์ ทำความผิด 3 ข้อหาเกี่ยวเนื่องกับกฎการจำกัดเนื้อหาที่ผิดกฎหมายบทแพลตฟอร์มของตน โดยคำพิพากษานี้มีออกมาหลังจากที่ ‘รอสคอมนาดซอ’ (Roskomnadzor) หน่วยงานกำกับดูแลกิจการสื่อสารของรัสเซีย ขู่เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน ว่าจะทำการปิดกั้นการใช้งาน ทวิตเตอร์ ในประเทศเป็นเวลา 30 วัน หากไม่ยอมลบเนื้อหาที่อ้างว่าผิดกฎหมายต่างๆ ออก และหลังมีรายงานข่าวคำพิพากษาออกมาในวันศุกร์ตามเวลาท้องถิ่น The Associated Press ติดต่อไปยังทวิตเตอร์ แต่ทางบริษัทไม่ให้ความเห็นใดๆ เกี่ยวกับคำสั่งปรับเงินนี้ เมื่อเดือนที่แล้ว ‘รอสคอมนาดซอ’ กล่าวหา ทวิตเตอร์ ว่า ไม่ยอมลบเนื้อหาที่ชักชวนให้เด็กๆ ทำอัตวินิบาตกรรม และข้อมูลเกี่ยวกับยาเสพติดและสื่อลามกเด็ก ทั้งยังประกาศว่า…

‘เฟซบุ๊ก’ ทำข้อมูลรั่วกว่า 533 ล้านบัญชีทั่วโลก เผย มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ก็ไม่รอด

Loading

  เมื่อวันที่ 3 เมษายนที่ผ่านมา เดลีเมลล์ รายงานว่า ชื่อ ที่อยู่ ข้อมูลส่วนตัว รวมไปถึงบัญชีผู้ใช้ของ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ซีอีโอของเฟซบุ๊กก็เป็นหนึ่งในแหล่งข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกขโมย และถูกนำมาเผยแพร่ทางออนไลน์โดยฝีมือของแฮกเกอร์ รวมไปถึงข้อมูลของ คริส ฮิวจ์ส และดัสติน มอสโควิส ผู้ร่วมก่อตั้งเฟซบุ๊กด้วยเช่นกัน         อารอน กัล ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ฮัดสัน ร็อก บริษัทข่าวกรองด้านการก่ออาชญากรรมไซเบอร์ของอิสราเอล เปิดเผยว่า ฐานข้อมูลที่รั่วไหลออกมาดังกล่าว ดูเหมือนจะเป็นชุดเดียวกับหมายเลขโทรศัพท์ที่เชื่อมโยงกับเฟซบุ๊ก ที่หมุนเวียนกันใช้ในกลุ่มแฮกเกอร์ ตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยข้อมูลดังกล่าวถูกซื้อ-ขายในหมู่อาชญากรไซเบอร์มาได้ระยะหนึ่งแล้ว และในตอนนี้ข้อมูลการรั่วไหลดังกล่าวสามารถถูกเข้าถึงได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ๆ กัลยังได้เปิดเผยอีกว่าข้อมูลดังกล่าวนั้นเป็นข้อมูลที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง เพราะว่าเขาสามารถตรวจสอบบางข้อมูลได้ ด้วยการเปรียบเทียบกับหมายเลขโทรศัพท์ของบางคนที่รู้จัก นอกจากนี้ยังมีความพยายามของสื่อบางแหล่งยังระบุว่าสามารถตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์ที่รู้จักกับข้อมูลที่รั่วไหลออกมาได้       ทั้งนี้ข้อมูลที่รั่วไหลออกมานั้นเป็นข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของบัญชีเฟซบุ๊กกว่า 533 ล้านบัญชี หรือคิดเป็นราว ๆ 1 ใน 4 ของผู้ใช้งานทั้งหมด จาก…

เวียดนามคุกผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก 10 ปี ฐานโพสต์คลิป-บทความต่อต้านรัฐ

Loading

  รอยเตอร์ – ศาลในเวียดนามตัดสินจำคุกผู้ใช้งานเฟซบุ๊กเป็นเวลา 10 ปี หลังพบว่ามีความผิดฐานเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อต่อต้านรัฐบนสื่อสังคมออนไลน์ หวู เตียน จิ อายุ 55 ปี ถูกตัดสินว่ามีความผิดในข้อหา ‘ผลิต จัดเก็บ กระจายข้อมูล วัตถุ สิ่งของ เพื่อวัตถุประสงค์ในการต่อต้านรัฐ’ ในการพิจารณาคดีที่ใช้เวลาเพียง 1 วัน ในจ.เลิมด่ง ตามการระบุของกระทรวงความมั่นคงสาธารณะ แม้เวียดนามจะดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจและเปิดกว้างให้กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมมากขึ้น แต่พรรคคอมมิวนิสต์ที่ปกครองประเทศยังคงเซ็นเซอร์สื่ออย่างเข้มงวดและยอมรับการวิพากษ์วิจารณ์เพียงเล็กน้อย หวู เตียน จิ ถูกกล่าวหาว่าแชร์บทความ 338 บทความ และคลิปวิดีโอ 181 คลิป บนสื่อสังคมออนไลน์เพื่อบิดเบือนและให้ร้ายการบริหารงานของประชาชน ละเมิดผลประโยชน์ของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามและรัฐ ในช่วงที่เขาถูกจับกุมตัวเมื่อเดือนมิ.ย. 2563 ตำรวจกล่าวว่าจิได้แชร์เนื้อหาต่อต้านรัฐในบัญชีเฟซบุ๊กหลายบัญชี พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามทวีความรุนแรงในการปราบปรามผู้เห็นต่าง ทั้งจับกุมนักโทษการเมืองมากขึ้น ตัดสินโทษจำคุกนานขึ้น และคุกคามนักเคลื่อนไหวมากขึ้นในช่วงหลายปีมานี้ นอกจากคดีของหวู เตียน จิ แล้ว ยังมีผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์อีก 3 คน ถูกพิจารณาคดีที่จ.แค็งฮว้า ด้วยข้อหาคล้ายกัน ตามการรายงานของสื่อ…

ตีกรอบ 9 ข้อมูลทางออนไลน์ “ต้องห้ามโพสต์” ของตำรวจ

Loading

  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เตือน 9 ข้อมูลและข้อความต้องห้าม “โพสต์” บนโซเชียลของตำรวจ ที่อาจกระทบต่อภาพลักษณ์ขององค์กรอย่างไม่ตั้งใจ ระบุยังไม่เคยมีใครถูกลงโทษ แต่ปรามต้องคิดก่อนโพสต์ วันนี้ (11 มี.ค.2564) พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอตสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) พร้อมด้วยพล.ต.อ.วิสนุ ปราสาททองโอสถ จเรตำรวจแห่งชาติ และพล.ต.ท.เชษฐา โกมลวรรถนะ หัวหน้าจเรตำรวจ ร่วมกันแถลงเปิดตัว “โครงการจัดทำแนวทางการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของข้าราชการสำรวจ” เพื่อคู่มือแนะนำข้าราชการตำรวจทุกระดับให้เรียนรู้วิธีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ที่เกิดประโยชน์และถูกต้อง หลังพบว่ามีข้าราชการตำรวจใช้สื่อสังคมออนไลน์ไม่เหมาะสม เช่น ล้อเลียน กลั่นแกล้ง แสดงกิริยาขบขันจนเกินขอบเขต ก่อให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือจากสังคม รวมถึงการใช้สื่อออนไลน์ละเมิตบุคคลอื่น หรือกระทำผิดกฎหมายจนเกิดความเสียหายขึ้น สำหรับประเภทข้อมูลข่าวสารที่ไม่ควรเผยแพร่ ในรูปแบบข้อความ รูปภาพ หรือภาพเคลื่อนไหว มี 9 ข้อ ดังนี้ ข้อมูลที่มีเนื้อหาพาดพิง หรือ ส่งในทางลบต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ข้อมูลที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ หรือกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ข้อมูลที่มีลักษณะยั่วยุ เสียดสี บิดเบือนโฆษณา ชวนเชื่อ สร้างความแตกแยกต่อหน่วยงาน…

สหรัฐฯ อาจขอประวัติการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของผู้ยื่นวีซ่า

Loading

  รัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีทรัมป์ ระบุว่าต้องการเริ่มเก็บข้อมูลประวัติการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของเกือบทุกคนที่จะขอวีซ่าเข้าสหรัฐฯ ข้อเสนอที่ออกโดยกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ อาจทำให้ผู้ที่จะยื่นขอวีซ่า ต้องให้รายละเอียดเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ส่วนตัว โดยต้องระบุบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ทุกอย่างที่เคยใช้ย้อนหลังในระยะเวลาห้าปี ซึ่งข้อเสนอนี้ อาจทำให้มีผู้ได้รับผลกระทบราว 14.7 ล้านคนต่อปี ข้อมูลที่ได้ จะถูกนำไปใช้ระบุตัวบุคคลและตรวจสอบผู้ที่ยื่นขอวีซ่าทั้งระยะยาวและระยะสั้น นอกจากนี้ ผู้ยื่นคำร้องจะถูกถามประวัติหมายเลขโทรศัพท์ อีเมล และการเดินทางย้อนหลังห้าปี รวมถึงต้องตอบคำถามว่าเคยถูกเนรเทศออกจากประเทศใดหรือไม่ และมีญาติเคยเกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายหรือไม่ ข้อเสนอนี้จะเป็นภาระเพิ่มเติมกับผู้เดินทางจากประเทศที่ไม่มีข้อตกลงยกเว้นวีซ่าเข้าสหรัฐฯ     อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอดังกล่าว จะไม่ส่งผลกระทบกับผู้ที่เป็นพลเมืองจากประเทศซึ่งมีข้อตกลงยกเว้นวีซ่าเข้าสหรัฐฯ อยู่แล้ว เช่น สหราชอาณาจักร แคนาดา ฝรั่งเศส และเยอรมนี แต่พลเมืองของประเทศที่ไม่มีข้อตกลงยกเว้นวีซ่าอย่าง อินเดีย จีน เม็กซิโก (และไทย) อาจต้องเผชิญกับความยุ่งยากในการเดินทางเข้าสหรัฐฯ ทั้งเพื่อท่องเที่ยวและทำงาน   จุดยืนในการขอข้อมูลสื่อสังคมออนไลน์ ภายใต้กฎที่มีผลบังคับใช้เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุว่าเจ้าหน้าที่จะขอข้อมูลสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ยื่นคำร้อง เฉพาะแต่ในกรณีที่เห็นว่า “ข้อมูลเหล่านี้จำเป็นต่อการยืนยันตัวบุคคล หรือเพื่อตรวจสอบอย่างเข้มงวดด้วยเหตุผลด้านความมั่นคงแห่งชาติ“ ทั้งนี้ ข้อเสนอที่เข้มงวดขึ้นออกมาหลังจากที่ประธานาธิบดีทรัมป์ สัญญาจะใช้ “มาตรการตรวจสอบที่เข้มงวดมาก” กับชาวต่างชาติที่ต้องการเดินทางเข้าสหรัฐฯ โดยอ้างเหตุผลเรื่องต่อต้านการก่อการร้าย หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ รายงานถ้อยคำในแถลงการณ์ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ…