มาตรการความปลอดภัยทางอากาศหลังเหตุการณ์ 911 ช่วยป้องกันการโจมตีซ้ำแต่ต้องแลกกับความเป็นส่วนตัว

Loading

  หลังการโจมตีของผู้ก่อการร้ายในสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 ประธานาธิบดีจอร์จ ดับบลิว บุชในขณะนั้นได้ลงนามในกฎหมายเพื่อตั้งหน่วยงานของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ คือ TSA เพื่อรักษาความปลอดภัยสำหรับการเดินทางทางอากาศ และถึงแม้มาตรการด้านความปลอดภัยต่างๆ อย่างเข้มงวดที่นำมาใช้จะช่วยยับยั้งไม่ให้เกิดการโจมตีจากผู้ก่อการร้ายซ้ำในสหรัฐฯ ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาแต่เรื่องดังกล่าวก็ต้องแลกกับความเป็นส่วนตัวของผู้เดินทาง และได้เปลี่ยนทั้งโฉมหน้าแvละการทำงานของอุตสาหกรรมการบินโดยสิ้นเชิง รวมทั้งยังทำให้การเดินทางทางอากาศของผู้คนมีปัญหากดดันมากขึ้นด้วย ทั้งนี้เพราะสองเดือนหลังการโจมตีดังกล่าวประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุชได้ลงนามในกฎหมายเพื่อตั้งหน่วยงานรักษาความปลอดภัยของรัฐบาลกลางในสังกัดกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิชื่อ Transportation Security Administration หรือที่เรียกย่อๆ ว่า TSA เพื่อทำหน้าที่ตรวจคัดกรองผู้เดินทางแทนเจ้าหน้าที่ของภาคเอกชนซึ่งอุตสาหกรรมการบินเคยใช้อยู่ก่อนหน้านี้ นอกจากนั้นกฎหมายดังกล่าวยังกำหนดให้ต้องมีการตรวจเอ็กซเรย์กระเป๋าสัมภาระทุกใบ มีการเสริมความมั่นคงที่ประตูห้องนักบิน และมีการส่งสารวัตรอากาศหรือ Air Marshal ขึ้นไปกับเครื่องบินบางลำเพื่อช่วยรักษาความปลอดภัยด้วย ข้อกำหนดด้านการรักษาความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้นนี้ทำให้ผู้เดินทางทางอากาศต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นและถูกกดดันมากขึ้น นอกจากนั้นยังมีกฎข้อบังคับอื่นๆ เช่นการต้องถอดรองเท้าและเข็มขัดก่อนเดินผ่านเครื่องตรวจ รวมถึงการห้ามนำของเหลวหรือเครื่องดื่มบางอย่างผ่านจุดตรวจแต่สามารถซื้อเครื่องดื่มเหล่านั้นได้หลังผ่านจุดตรวจไปแล้วซึ่งก็ทำให้หลายคนตั้งคำถามแต่ก็ไม่มีคำตอบที่ชัดเจน เป็นต้น ดูเหมือนว่าหน่วยงาน TSA จะพยายามช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้เดินทางที่สมัครใจจ่ายค่าธรรมเนียมและลงทะเบียนในโปรแกรมบางอย่าง เช่น Global Entry หรือ PreCheck ซึ่งจะช่วยให้เสียเวลาและมีขั้นตอนต่างๆ ที่จุดตรวจน้อยลง อย่างไรก็ตามมาตรการด้านความปลอดภัยทั้งหมดที่นำมาใช้นี้แม้จะเรียกว่าได้ผลเพราะไม่เคยมีการโจมตีในลักษณะเดียวกันอีกในสหรัฐฯ ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาก็ตาม แต่เรื่องดังกล่าวก็ต้องแลกกับความเป็นส่วนตัวของผู้เดินทางเช่นกัน…

โพลล์: อเมริกันชนเกือบครึ่งต้าน “การสอดเเนม” ประชาชนด้วยเหตุผลความมั่นคง

Loading

  เหลืออีกเพียงสี่วันก็จะครบรอบ 20 ปีเหตุการณ์ ก่อการร้าย 11 กันยายน ปี ค.ศ. 2001 ในสหรัฐฯ ซึ่งโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นทำให้เจ้าหน้าที่เพิ่มมาตรการด้านความมั่นคงขึ้นมาเพื่อปกป้องความปลอดภัยของประชาชน เมื่อเวลาผ่านไปมาตรการเก็บข้อมูลประชาชนทั้งในและนอกประเทศที่เคยได้รับการสนับสนุนจากคนอเมริกัน กลับได้รับเเรงต่อต้านมากขึ้น ณ ขณะนี้ สำนักข่าวเอพี (Associated Press) รายงานโดยอ้างโพลล์ที่ทำร่วมกับองค์กร NORC Center for Public Affairs Research ว่า คนอเมริกันร้อยละ 46 ไม่เห็นด้วยกับการที่เจ้าหน้าที่สามารถเข้าไปอ่านอีเมลของบุคคลที่ไม่ได้อยู่ในสหรัฐฯ โดยไม่มีหมายค้น แม้ว่าจะทำไปเพื่อตอบโต้ภัยคุกคามต่อสหรัฐฯก็ตาม และมีเพียงร้อยละ 27 ของผู้ตอบเเบบสอบถามที่เห็นด้วย ตามข้อมูลในโพลล์ของ AP-NORC ที่สำรวจความคิดเห็นของคนช่วงวันที่ 12-16 สิงหาคม อันที่จริงมาตรการดังกล่าวสามารถทำได้ตามกฎหมายว่าด้วยการเก็บข้อมูลข่าวกรองต่างประเทศ เมื่อมองย้อนกลับไป 10 ปีที่เเล้วผู้ที่สนับสนุนการสอดเเนมลักษณะดังกล่าวมีมากกว่าผู้ที่ไม่เห็นด้วยคือ ร้อยละ 47 ต่อ 30     ตัวเลขที่เห็นถือว่าเป็นไปในทางตรงข้ามกับปัจจุบัน แม้ว่าในตอนนี้ผู้เชี่ยวชาญเริ่มเตือนถึงความเป็นไปได้ที่กลุ่มติดอาวุธในต่างแดนจะกลับมาสั่งสมกำลังอีกครั้งหลังจากที่สหรัฐฯ เพิ่งถอนทหารออกจากอัฟกานิสถาน ผลโพลล์ครั้งนี้เเสดงให้เห็นถึงความคิดที่เปลี่ยนไป ที่คนอเมริกัน…

ปิดฉากสงคราม 20 ปี ทหารสหรัฐฯคนสุดท้ายออกจากอัฟกานิสถานแล้ว

Loading

“ทหารสหรัฐฯ คนสุดท้าย เดินทางออกจากอัฟกานิสถาน ขณะที่ตาลีบันยิงปืนฉลองสนั่นกรุงคาบูล เข้ายึดสนามบินทันที” วันนี้ ( 31 ส.ค. 64 )ทหารสหรัฐฯ คนสุดท้าย ที่ออกจากอัฟกานิสถาน คือพลอากาศตรี คริส ดอนนาฮิว ผู้บัญชาการกองพลทหารอากาศที่ 82 กำลังก้าวขึ้นเครื่องบินขนส่งแบบซี-17 เขาเป็นทหารสหรัฐฯ คนสุดท้าย ที่เดินทางออกจากสนามบินนานาชาติฮามิด คาร์ไซ ในกรุงคาบูล เมื่อวันที่ 30 สิงหาคมที่ผ่านมา ภาพนี้เปิดเผยโดยกองทัพสหรัฐฯเอง ด้านไฟล์ทเรดาร์24 เว็บไซต์ติดตามการบินของเครื่องบิน เปิดเผยภาพกราฟฟิก การติดตามเครื่องบินกองทัพอากาศสหรัฐฯ หลายลำสุดท้าย กำลังบินออกจากสนามบินกรุงคาบูลเมื่อวานนี้ รอยเตอร์ รายงานว่า ก่อนที่ทหารสหรัฐฯ ชุดสุดท้ายจะเดินทางออกจากอัฟกานิสถานเมื่อวานนี้ ได้มีการทำลายทิ้งเครื่องบินรบมากกว่า 70 ลำ ยานเกราะอีกหลายสิบคัน และทำให้ระบบป้องกันภัยทางอากาศใช้การไม่ได้อีกต่อไป โดยระบบป้องกันภัยทางอากาศของสหรัฐฯ นี้ ถูกใช้เป็นครั้งสุดท้ายในการยิงสกัดจรวด 5 ลูก ที่กลุ่ม “ไอซิส-เค” ยิงถล่มสนามบินฮาร์มิด คาร์ไซในกรุงคาบูล หมายสังหารทหารสหรัฐฯ แต่ไม่สำเร็จ  …

“จนท.สหรัฐฯ” เดือดจัด หลัง “2 ส.ส.สภาคองเกรส” แอบบินเช่าเหมาลำมาดูสนามบินคาบูลให้เห็นกับตา

Loading

  เอเจนซีส์ – ส.ส.เซธ โมลตัน (Seth Moulton) จากพรรคเดโมแครต และ ส.ส.ปีเตอร์ ไมเยอร์ (Peter Meijer) จากพรรครีพับลิกันทำให้เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ โกรธจัดและเกิดปัญหาหลังทั้งคู่แอบเช่าเหมาลำเครื่องบินจากสหรัฐฯ มาที่สนามบินคาบูล อัฟกานิสถานเมื่อวานนี้ (24 ส.ค.) แบบไม่ได้รับอนุญาตและอยู่นานหลายชั่วโมง อ้างว่ามาตรวจการอพยพเคลื่อนย้าย บิสซิเนสอินไซเดอร์ สื่อธุรกิจ รายงานเมื่อ (25 ส.ค.) ว่า มีรายงานออกมาว่า เจ้าหน้าที่ทำเนียบขาว เพนตากอน และเจ้าหน้าที่ต่างประเทศสหรัฐฯ ต่างโกรธเป็นอย่างมากที่มีสมาชิกรัฐสภาคองเกรสเดินทางไปยังอัฟกานิสถานโดยที่ไม่มีการประกาศล่วงหน้าและเป็นการเดินทางที่ไม่ได้รับอนุญาต ส.ส.เซธ โมลตัน (Seth Moulton) จากพรรคเดโมแครต และ ส.ส.ปีเตอร์ ไมเยอร์ (Peter Meijer) จากพรรครีพับลิกัน แอบเช่าเหมาลำเครื่องบินจากสหรัฐฯ มาที่สนามบินคาบูล อัฟกานิสถานเมื่อวานนี้ (24 ส.ค.) แบบไม่ได้รับอนุญาตและอยู่นานหลายชั่วโมง ท่ามกลางความโกลาหลในความพยายามอพยพออกไปให้ทันกำหนดเส้นตายวันที่ 31 ส.ค.หลังตอลิบานบุกเข้ายึด เอพีรายงานข่าวนี้เป็นครั้งแรก อย่างไรก็ตาม พบว่า…

AI ทำงานพลาด !! จับชาย 65 เข้าคุกข้อหาฆาตกรรม

Loading

  “AI ตรวจจับเสียงทำงานพลาด ทำชาย 65 เข้าคุกข้อหาฆาตกรรม” ในช่วงเดือนพฤษภาคมปี 2020 ณ ชิคาโก Michael Williams วัย 65 ปีต้องโดนจำคุก 11 เดือน หลังถูกตัดสินฆาตกรรม เชฟหนุ่ม Safarian Herring วัย 25 ปี เพราะมีหลักฐานเป็น AI ตรวจจับเสียงปืนของบริษัท ShotSpotter ที่ติดตั้งอยู่ทั่วเมืองต่าง ๆ ของสหรัฐฯ แต่ภายหลังพบว่า AI ดังกล่าวนั้นทำงานผิดพลาด…     ตามคำให้การของ Michael Williams เขาระบุว่าวันที่เกิดเหตุ เขาขับรถออกไปซื้อบุหรี่ข้างนอก และพบเจอเข้ากับ Safarian Herring ซึ่งเป็นคนละแวกบ้าน เขาจึงรับขึ้นรถมาด้วย แต่หลังจากนั้นไม่นาน ก็มีรถอีกคันวิ่งเข้ามา และยิง Herring เสียชีวิตต่อหน้า Williams แต่แทนที่ตำรวจจะไปตามจับรถคันนั้นให้ได้ Williams กลับถูกตั้งข้อหาแทย…

ปฏิบัติการแอปลับ ‘ANOM’ อาชญากรติดกับโดนจับทั่วโลก

Loading

  FBI กับตำรวจออสเตรเลีย ร่วมมือผุดปฏิบัติการแอปแชตลับ ANOM อาชญากรในหลายสิบประเทศหลงกลใช้งาน สุดท้ายโดยจับทั่วโลกเกือบพันคน   ปฏิบัติการนี้เริ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อ 3 ปีก่อน เจ้าหน้าที่พยายามแพร่กระจายแอปเข้าสู่เครือข่ายใต้ดิน จนอาชญากรเริ่มใช้งานอย่างแพร่หลายใน 100 ประเทศทั่วโลก   เจ้าหน้าที่ยังได้รับความช่วยเหลืออย่างมากจากอาชญากรตัวเป้ง ซึ่งหลงกลตำรวจและนำแอปไปแนะนำต่อ จนมันกระจายเป็นวงกว้างมากขึ้น   เมื่อวันอังคารที่ 8 มิ.ย. 2564 หน่วยงานตำรวจในหลายประเทศทั่วโลก ประกาศข่าวการจับกุมตัวอาชญากรจำนวนกว่า 800 คน ซึ่งถูกหลอกให้ใช้แอปพลิเคชันส่งข้อความเข้ารหัสที่ชื่อว่า ‘ANOM’ (อานอม) ซึ่งดูเหมือนจะปลอดภัย แต่แท้จริงแล้ว แอปนี้กลับถูกบริหารจัดการโดย FBI ของสหรัฐฯ   ปฏิบัติการที่ว่านี้เป็นความร่วมมือระหว่าง FBI กับตำรวจออสเตรเลีย โดยแพร่กระจายแอป ANOM ไปในหมู่แก๊งอาชญากรรมอย่างลับๆ ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถดักฟังข้อมูลต่างๆ ได้มากมายไม่ว่าจะเป็นแผนลักลอบขนยาเสพติด, การฟอกเงิน หรือแม้แต่แผนฆาตกรรม   นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่ยังได้รับความช่วยเหลือโดยไม่ตั้งใจจากอาชญากรตัวเอ้ ซึ่งหลบหนีการจับกุมมานานกว่า 10 ปี แต่กลับหลงกลตำรวจและนำแอปไปแนะนำต่อ จนนำไปสู่ความสำเร็จของปฏิบัติการที่เอฟบีไอระบุว่า…