ความเคลื่อนไหวใหม่ในพม่า กับโอกาสยุติสงครามกลางเมือง

Loading

  รัฐบาลใหม่ของประเทศไทยจะต้องเจอกับประเด็นเรื่องพม่าที่ต่อเนื่องมาจากรัฐบาลประยุทธ์ที่ผ่านมา   จึงจำเป็นจะต้องวิเคราะห์สถานการณ์ให้แม่นว่าเราจะทำหน้าที่ประสานระหว่างอาเซียนกับผู้นำกองทัพพม่าและฝ่ายเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่าอย่างไรจึงจะสามารถช่วยให้เกิดสันติภาพและความสงบสุขให้กับเพื่อนบ้านทางตะวันตกแห่งนี้ได้   คำประกาศของกองทัพพม่าเมื่อสัปดาห์ก่อนที่จะผ่อนผันโทษของอองซาน ซูจีลงจาก 19 ข้อหาเหลือ 14 ข้อหา   และลดโทษจากจำคุก 33 ปีเหลือ 27 ปีนั้นเป็นท่าทีที่จริงจังของพลเอกอาวุโสมิน อ่อง หล่ายที่จะริเริ่มกระบวนการเจรจากับ “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย” ในพม่าจริงหรือไม่   อาเซียนจะประชุมสุดยอดในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้   เชื่อกันว่าจะมีการ “ทบทวน” เนื้อหาของฉันทามติ 5 ข้อของอาเซียนว่าด้วยวิกฤตพม่าเพื่อให้สอดคล้องกับ “ความเป็นจริงบนภาคพื้นดิน”   อาจจะหมายความว่าอาเซียนพร้อมจะลดความเข้มข้นของมาตรการที่จะไม่ร่วมสังฆกรรมกับระดับนำของพม่าจนกว่าจะมีความคืบหน้าในการทำตามฉันทามติ 5 ข้อนี้   หรืออาจจะนำไปสู่การเผชิญหน้าที่หนักขึ้นหรือไม่   อาเซียนเองก็มีท่าทีที่แตกต่างกันในกรณีนี้   อินโดนีเซียซึ่งเป็นประธานหมุนเวียนอาเซียนปีนี้มีความแน่วแน่ในการที่จะกดดันให้รัฐบาลทหารพม่าต้องแสดงความคืบหน้าในการทำตาม 5 ข้อที่มิน อ่อง หล่ายไปร่วมประชุมและรับที่จะทำตาม   แต่ถึงวันนี้ก็ยังห่างไกลจากการนำมาปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม   อินโดฯ, มาเลซีย, สิงคโปร์กับฟิลิปปินส์โอนเอียงไปในทางเข้มเข้นกับทหารพม่า   ขณะที่เวียดนาม, กัมพูชา, ลาวและไทยมีท่าทีที่ผ่อนปรนมากกว่า  …

ศาลอาญาระหว่างประเทศ เตรียมสืบสวนกรณีสังหารหมู่ในซูดาน

Loading

  ศาลอาญาระหว่างประเทศ กำลังสืบสวนความรุนแรงที่เกิดขึ้นในประเทศซูดาน หลังเกิดสงครามกลางเมือง ที่คาดกันว่าทหารอาจก่อเหตุฆ่าล้างเผ่าพันธุ์   เกือบสามเดือนแล้วที่ซูดานเกิดสงครามกลางเมืองและจนถึงวันนี้สถานการณ์ก็ยังไม่สงบ ล่าสุดศาลอาญาระหว่างประเทศกำลังสืบสวนความรุนแรงที่เกิดขึ้นในรัฐเวสต์ดาร์ฟูร์ เนื่องจากพบหลุมฝังศพหมู่ที่ภายในเต็มไปด้วยร่างของผู้เสียชีวิตที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ส่งผลให้คาดกันว่า ทหารอาจก่อเหตุฆ่าล้างเผ่าพันธุ์   เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมา ผู้แทนของศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ ICC ได้รายงานต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติหรือ UNHCR ที่มีสำนักงานในนครนิวยอร์กว่า     ทาง ICC เตรียมที่จะเปิดการสืบสวนกรณีการสังหารหมู่และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในซูดาน หลังประเทศนี้ตกอยู่ในความโกลาหลจากสงครามกลางเมืองมานานเกือบสามเดือนแล้ว   คาริม ข่าน อัยการจาก ICC ทำหน้าที่เป็นผู้รายงาน ระบุว่า ข้อมูลที่ทาง ICC ได้รับและนำมาสู่การสืบสวนนั้นมาจากรายงานของสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนที่ฉายรายละเอียดเกี่ยวกับการสังหารชาวมาซาลิต หนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ของชาวซูดานอย่างน้อย 87 ราย ในรัฐเวสต์ดาร์ฟูร์ รายานระบุว่า ผู้สังหารคือ กองทัพซูดานและกองกำลัง RSF   อัยการจาก ICC ระบุว่า ขณะนี้พวกเขากำลังอยู่ระหว่างการสืบสวนและเก็บข้อมูล และความเสียหายที่แท้จริงนั้นมีมากกว่าแค่การเสียชีวิตของสมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์จำนวน 87 ราย และอาชญากรรมเหล่านี้ถือเป็นการละเมิดธรรมนูญกรุงโรมที่นานาชาติเคยให้สัตยาบัน  …

เยเมนยิ่งป่วนพันธมิตรทิ้ง รัฐบาลคุมภาคใต้เอง

Loading

“สภาเปลี่ยนผ่านภาคใต้” (เอสทีซี) กองกำลังแบ่งแยกดินแดนภาคใต้ของเยเมน ซึ่งเป็นพันธมิตรของรัฐบาลประธานาธิบดีอาเบด รับโบ มานซูร์ ฮาดี ของเยเมนที่นานาชาติให้การยอมรับ ประกาศเมื่อ 25 เม.ย.ว่า เอสทีซีได้ประกาศภาวะฉุกเฉิน และจะเข้าควบคุมและปกครองดินแดนภาคใต้ทั้งหมดแต่ผู้เดียว รวมทั้งเมืองท่าเอเดนและจังหวัดอื่นๆ เริ่มตั้งแต่เที่ยงคืน 25 เม.ย. โดยกล่าวหารัฐบาลนายฮาดีว่าคอร์รัปชันและบริหารประเทศผิดพลาด เอสทีซีซึ่งมีสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) หนุนหลัง บรรลุข้อตกลงสันติภาพกับรัฐบาลนายฮาดี ซึ่งมีซาอุดีอาระเบียและพันธมิตรหนุนหลัง ที่กรุงริยาดในซาอุฯ เมื่อ พ.ย.2562 หลังเอสทีซียกทัพบุกยึดเมืองเอเดน ที่ตั้งรัฐบาลใหม่ของนายฮาดีเมื่อเดือน ส.ค.ปีเดียวกัน จากนั้นทั้ง 2 ฝ่ายก็ร่วมต่อสู้กับกบฏนิกายชีอะห์กลุ่ม “ฮูธี” ที่มีอิหร่านหนุนหลัง ซึ่งบุกยึดภาคเหนือรวมทั้งกรุงซานาเมืองหลวงได้ในปี 2557 ทำให้รัฐบาลนายฮาดีต้องหนีไปอยู่ที่เมืองเอเดน ด้าน รมว.ต่างประเทศของรัฐบาลนายฮาดีแถลงเตือนว่า การคว่ำข้อตกลงสันติภาพและตั้งรัฐบาลที่ภาคใต้เองของเอสทีซีจะนำไปสู่หายนะ ซึ่งเอสทีซีต้องรับผิดชอบ ความแตกแยกครั้งนี้ยิ่งทำให้สงครามกลางเมืองเยเมนสลับซับซ้อน ขณะที่เยเมนอาจเผชิญการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แม้ยังพบผู้ติดเชื้อเพียง 1 ราย. ———————————————————————— ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ / 27 เมษายน 2563 Link…